xs
xsm
sm
md
lg

สำรวจภูมิอากาศโลก ก่อนเปิดเวทีเจรจาโลกร้อนที่โคเปนเฮเกน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่บริเวณ Knox Coast ออสเตรเลีย แตกออกจากกัน และเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสภาพภูมิอากาศโลก (เอเอฟพี)
ช่วงเวลาสำคัญและวันชี้ชะตาโลกเริ่มเขยิบเข้ามาใกล้ในอีกไม่กี่วันนี้แล้ว กับการประชุมเจรจาของประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เพื่อหาข้อสรุปแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกหลังพิธีสารเกียวโตสิ้นสุดในปี 2555
รถจักรยานหลายคันจมอยู่ในหิมะที่ตกลงมาอย่างหนักในเมืองมอนทรีอัล แคนานา เมื่อเดือน มี.ค. 2551 (เอเอฟพี)
ก่อนที่ผู้แทนรัฐบาลของแต่ละประเทศ จะเปิดประเด็นเจรจาหาวิธีคลายร้อนให้โลกระหว่างวันที่ 7-18 ธ.ค. นี้ ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ รวบรวมภาพเหตุการณ์และบรรยากาศในที่ต่างๆ รอบโลกมาให้สำรวจกันก่อนว่าโลกของเรานั้นผ่านอะไรมาบ้างแล้ว และในปัจจุบันนี้มีสภาพเป็นอย่างไรบ้าง

ทั้งยังเสมือนเป็นการเตือนเราล่วงหน้าด้วยว่าในอนาคตอาจเกิดหายนะเหมือนที่ผ่านมา หรือรุนแรงกว่าหลายเท่าได้ หากเรายังไม่รีบเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เร่งเพิ่มอุณหภูมิให้โลกเหมือนที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
เด็กๆ ชาวอินเดียในเมืองมุมไบกระโดดน้ำคลายร้อนในทะเลอาหรับ ซึ่งเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 51 ในเมืองมุมไบมีอุณหภูมิสูงถึง 35 องศาเซลเซียส (เอเอฟพี)
ชาวไร่อ้อยในประเทศบราซิลกำลังใช้มีดฟันลำอ้อย ซึ่งบราซิลเป็นประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก มีความต้องการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสูง แต่ขณะนี้เริ่มหันมาสนใจผลิตเอทานอลจากอ้อยเป็นพลังงานทดแทน แต่ก็ยังมีส่วนทำให้โลกร้อนมากขึ้นจากการทำลายพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร (เอเอฟพี)
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งหนึ่งในสเปน ซึ่งการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสะอาดจำเป็นต้องลงทุนสูง แต่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าในระยะยาว ในเชิงของสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงทางพลังงาน (เอเอฟพี)
โรงงานอุตสาหกรรมในกรุงปักกิ่งของจีน อีกหนึ่งตัวการสำคัญที่เพิ่มก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก (เอเอฟพี)
ใจกลางย่านธุรกิจในกรุงปักกิ่งของจีนที่เต็มไปด้วยตึกระฟ้าและการจราจรคับคั่ง แม้จะยังจัดเป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่จีนก็เป็นชาติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุดในโลก (เอเอฟพี)
ท่อนซุงขนาดใหญ่ที่เป็นผลจากการตัดไม้จากป่าดิบชื้นในเมืองมิริ มาเลเซีย ซึ่งการทำลายป่าแบบนี้ยังมีให้เห็นอยู่มากในประเทศกำลังพัฒนาแถบเขตร้อนชื้น (เอเอฟพี)
ป่าดิบชื้นเขตร้อนที่ยังอุดมสมบูรณ์บนเกาะบอร์เนียวในเขตประเทศมาเลเซีย (เอเอฟพี)
สภาพความแห้งแล้งของแม่น้ำกาน (Gan river) เมื่อปี 2550 ซึ่งเคยไหลลงสู่ทะเลสาบผอหยาง (Poyang Lake) ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของจีน ในมณฑลเจียงซี (เอเอฟพี)
ส่วนหนึ่งของป่าในเปอลาลาวัน (Pelalawan) อินโดนีเซีย ที่ถูกทำลายจากน้ำมือมนุษย์ที่จ้องแต่จะหาประโยชน์จากป่าโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา (เอเอฟพี)
เรือที่เคยถูกใช้เป็นพาหนะทางน้ำ จอดทิ้งร้างอยู่ในทะเลสาบที่แห้งเหือดลงของอุทยานแห่งชาติ Las Tablas de Daimiel สเปน โดยภาพนี้ถ่ายไว้ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2549 (เอเอฟพี)
คลื่นยักษ์ซัดเข้าสู่ชายฝั่งเมือง Wimereux ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2550 (เอเอฟพี)
หมีขั้วโลกริมอ่าวฮัดสันในแคนาดานอนสงบนิ่งอย่างไม่รู้ชะตากรรมว่าตัวเองและพี่น้องร่วมเผ่าพันธุ์กำลังถูกภาวะโลกร้อนคุกคามอย่างหนัก (เอเอฟพี)
นิทรรศการเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่จัดแสดงอยู่ในกรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ก่อนจะเริ่มต้นการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ระหว่างวันที่ 7-18 ธ.ค. 52 เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกหลังพิธีสารเกียวโตสิ้นสุดลงในปี 2555 (เอเอฟพี)
กลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมรวมตัวกันที่หน้าสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย เพื่อเรียกร้องให้สรัฐฯ ร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาภาวะโลกร้อน เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 52 (เอเอฟพี)





คลิกที่ไอคอน Manager Multimedia เพื่อรับชมภาพ สำรวจภูมิอากาศโลกก่อนเริ่มเวทีเจรจาโลกร้อนที่โคเปนเฮเกน เพิ่มเติม

ดูภาพชุดจาก Manager Multimedia

กำลังโหลดความคิดเห็น