xs
xsm
sm
md
lg

ไขข้อข้องใจกลไกยึดเกาะของ "ตีนตุ๊กแก"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รัสเซลล์กับตุ๊กแกที่ใช้ในการศึกษา (มหาวิทยาลัยคาลการี)
เราทราบดีว่าตุ๊กแกสามารถเดินบนพื้นผิวที่ยากลำบากต่อการเดิน โดยอาศัยระบบยึดเกาะเหนียวแน่นอันซับซ้อน แต่จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีใครทราบว่าตุ๊กแกเปิดทำงานระบบการเดินที่ซับซ้อนอันเป็นเอกลักษณ์นี้ได้อย่างไร

ไซน์เดลีระบุว่านักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคาลการี (University of Calgary) และมหาวิทยาลัยเคลมสัน (Clemson University) ในเซาธ์คาโรไลนา สหรัฐฯ ได้ค้นพบว่า ระบบยึดเกาะอันน่าทึ่งของตุ๊กแกนั้น ถูกกระตุ้นโดยแรงโน้มถ่วง

อีกทั้งการศึกษาของพวกเขา ยังเพิ่มความรู้ใหม่ว่าตุ๊กแกต้องอยู่ในมุมลาดเอียง ก่อนที่จะเคลื่อนระบบยึดเกาะออกไป โดยได้ตีพิมพ์ผลงานลงวารสาร โพรซีดิงสออฟเดอะรอยัลโซไซตีบี (Proceedings of the Royal Society B) ฉบับออนไลน์

“ตุ๊กแกใช้ฟิลาเมนท์ขนาดเล็ก ที่คล้ายเส้นผมที่ยึดเกาะพื้นผิว และมุมระหว่างฟิลาเมนท์กับพื้นผิวที่เฉพาะนั้นจะเปิดการทำงานระบบยึดเกาะ เราพยายามที่จะเข้าใจกระบวนการนี้ ซึ่งจะช่วยในการเลียนแบบการทำงานนี้ เพื่อประยุกต์กับหุ่นยนต์" แอนโธนี รัสเซลล์ (Anthony Russell) ศาสตราจารย์ชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคาลการีกล่าว

ด้าน ทิม ไฮแกม (Tim Higham) ซึ่งเป็นอดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยคาลการี และตอนนี้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางด้านชีววิทยาในเคลมสัน กล่าวว่า 2-3 ปีที่ผ่านมานี้มีการศึกษาเกิดกลไกอะไร ระหว่างการยึดเกาะของตุ๊กแก แต่เรารู้กันน้อยมากตุ๊กแกจะใช้ความสามารถนี้เมื่อไหร่

นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองได้ศึกษาตุ๊กแก 6 ตัว และพบว่าจุดปลายสุดตรงเท้าตุ๊กแกที่ทำให้ระบบยึดเกาะของตุ๊กแกทำงานมีมุม 10 องศา และตุ๊กแกทั้ง 6 ตัวประยุกต์ใช้งานระบบที่มุม 30 องศา และมีตุ๊กแกอีก 3 ตัว ที่ลดความเร็วลงที่มุม 10 องศา ซึ่งนิ้วเท้าของตุ๊กแกที่ใช้ยึดเกาะเพื่อปีนป่ายนั้น ยังใช้เพื่อลดความเร็วด้วย

เป้าหมายการทดลองของทั้งสอง คือการพยายามทำความเข้าใจระบบยึดเกาะที่ซับซ้อนนี้ และประยุกต์ใช้ความรู้นีเพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ต่อไป และผลการทดลองยังนำไปใช้ในการสำรวจอวกาศ การแพทย์ การทหารและการแขวนภาพข้างฝาผนัง.

กำลังโหลดความคิดเห็น