xs
xsm
sm
md
lg

บรรยากาศที่ทอดพระเนตร “สุริยุปราคาเต็มดวง” ณ เซี่ยงไฮ้ แม้ไม่เห็นแต่สัมผัสได้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สมเด็จพระเทพฯ ทอดพระเนตรสุริยุปราคา และทรงบันทึกภาพปรากฏการณ์ ณ เขตจินซาน นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ถวายข้อมูลของปรากฎการณ์ (กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ)
รายงานตรงจาก “จินซาน” หนึ่งในเมืองที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดในศตวรรษ แต่น่าเสียดายท้องฟ้ามีเมฆมาก ในช่วงคราสกินเต็มดวง แต่ผู้เฝ้าชมก็ยังสามารถสัมผัสบรรยากาศ “อาทิตย์ดับ” ได้



ผู้สื่อข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานตรงจาก เฉิงซื่อซาทัน (สวนริมชายหาด) เขตจินซาน นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีกำหนดการเสด็จทอดพระเนตรปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง

ทั้งนี้ แม้ว่าสภาพอากาศจะมีเมฆมากในช่วงแรกของปรากฎการณ์ แต่ก็พอจะสามารถมองเห็นได้บ้าง ในเวลา 08.30 น.ตามเวลาท้องถิ่นที่เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง ได้สังเกตเห็นคราสบังไปแล้ว 15%

จากนั้นพอสังเกตได้บ้างไม่ได้บ้าง จนกระทั่งในเวลา 09.38 น.ซึ่งเป็นเวลาที่คราสกินดวงอาทิตย์เต็มที่ และใช้ระยะเวลายาวนานที่สุดในรอบศตวรรษ แต่ผู้ที่เฝ้าชมปรากฏการณ์รอบบริเวณสวนสาธารณะดังกล่าวก็ไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ จนสิ้นสุดปรากฏการณ์ในประมาณ 10.00 น. ฝนก็โปรยลงมา ทำให้ไม่สามารถชมดวงอาทิตย์ได้ เช่นเดียวกับที่กรุงเทพฯ

พร้อมกันนี้ สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้ตั้งกล้องสังเกตและปรากฏการณ์ และเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ระหว่างเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาด้วย

สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวง โดยมีแนวคราสพาดผ่านบางส่วนของประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ซึ่งนับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 โดยช่วงระยะเวลาเต็มดวงยาวนานถึง 6 นาที 39 วินาที ซึ่งที่สังเกตได้ยาวนานที่สุดคือบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้


ส่วนประเทศไทยมองเห็นปรากฏการณ์เป็นเพียงสุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ทุกภูมิภาค โดยพื้นที่ที่สังเกตเห็นปรากฏการณ์ได้ยาวนานที่สุด คือ ที่จังหวัดเชียงราย นานถึง 2 ชั่วโมง 12 นาที ซึ่งดวงอาทิตย์จะบดบังดวงจันทร์ 69%

อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์สุริยุปราครั้งต่อคือวันที่ 15 ม.ค.53 โดยจะเป็นปรากฏการณ์แบบเต็มดวงในเคนยา มหาสมุทรอินเดีย ศรีลังกา อ่าวเบงกอล พม่า และจีน โดยไทยจะได้ชมเป็นเพียงบางส่วนเช่นเดิม แต่จะเห็นการบดบังได้มากถึง 77% และสภาพท้องฟ้าอากาศในช่วงหน้าหนาวจะมีทัศนวิสัยที่ดีต่อการชมมากกว่าในช่วงฤดูฝนเช่นนี้

ส่วนในพื้นที่ประเทศไทยจะมีโอกาสได้ชมสุริยุปราคาเต็มดวงอีกครั้งใน 61 ปีข้างหน้า โดยจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 เม.ย.2613 
เจ้าหน้าที่ด้านดาราศาสตร์ถวายคำอธิบายการเกิดสุริยุปราคา (กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ)
สมเด็จพระเทพฯ ทรงทอดพระเนตรสุริยุปราคา (กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ)
เจ้าหน้าที่ไทยจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับศึกษาปรากฏการณ์สุริยุปราคา

ระหว่างปรากฏการณ์มีเมฆบดบังเป็นระยะๆ
นักเรียนประถมผู้สนใจด้านดาราศาสตร์ ได้ร่วมเดินทางไปสังเกตสุริยุปราคาร่วมกับคณะผู้ปกครอง ณ บริเวณเดียวกันนี้ด้วย
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ส่องกล้องสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคา

บริเวณสังเกตสุริยุปราคาอยู่ริมชายหาด

นักท่องเที่ยวจำนวนมากให้ความสนใจ รอคอยชมปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง
เสี้ยวดวงอาทิตย์ที่ถูกบดบังจากทั้งดวงจันทร์และม่านเมฆ
 บางครั้งก็บดบังจนมิด
บรรยากาศช่วงสุริยุปราคาเต็มดวง แม้ไม่เห็นการบดบังดวงอาทิตย์ แต่สัมผัสได้ถึงความมืด
ใต้ท้องฟ้าเวลาสายในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ถูกบังมืดสนิทดด้วยดวงจันทร์ แม้มีเมฆบังจนมองไม่เห็นการบดบัง แต่สัมผัสถึงปรากฎการณ์ได้
กำลังโหลดความคิดเห็น