xs
xsm
sm
md
lg

มองโลกจากนอกโลก ในวัน “Earth Day”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยอดเขามาลาคู (สูงอันดับ 5 ของโลก) เคียงคู่เอเวอเรสต บนที่ราบสูงทิเบต ทีแรกเห็นใครๆ ก็นึกว่าคงเป็นเพียงภาพบันทึกจากเครื่องบิน แต่อย่าลืมว่าเครื่องบินนั้นก็บินในระดับเดียวกับยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก ภาพนี้จึงเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะสถานีอวกาศ ที่บันทึกไว้เมื่อปี 2547
ในวันที่ร้อนที่สุดของกรุงเทพฯ วันที่ 22 เม.ย.52 กลับกลายเป็นวันเดียวกับ "วันคุ้มครองโลก" หรือ "เอิร์ธเดย์" (Earth Day) ทว่ากิจกรรมรณรงค์ในปีนี้อาจจะดูเงียบเหงาไปถนัดตา เพราะสถานการณ์บ้านเมืองที่ร้อนแรงไม่แพ้ภูมิอากาศ

ทีมข่าววิทยาศาสตร์ จึงขอนำภาพจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐอเมริกา (นาซา) ที่ได้ร่วมฉลองวันคุ้มครองโลก ด้วยการปล่อยภาพของ “โลก” ที่บันทึกได้จากนอกโลก โดยส่วนใหญ่มาจากสถานีอวกาศนานาชาติ ผ่านเว็บไซต์และสถานีโทรทัศน์ของนาซา มาให้พิจารณาดูกันว่า โลกนั้นสวยงามน่าอยู่เพียงใด

สำหรับวันคุ้มครองโลกนั้น ข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่า ประกาศโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations Environment Program : UNEP) เริ่มแรกเมื่อวันที่ 22 เม.ย.2543

นอกจากวันเอิร์ธเดย์ 22 เมษายนแล้ว ยังมีวันเอิร์ธเดย์ที่ถูกกำหนดขึ้นจากช่วงวิษุวัต หรือ อิกควินอกซ์ (equinox) เช่นกัน เพราะวิษุวัตเป็นช่วงที่ในกลางวันและกลางคืนมีระยะเวลาเท่ากัน และเป็นการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิในซีกโลกเหนือ และฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกใต้ โดยนับจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่แกนขั้วโลกจะตั้งได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค.ของทุกปี.
ภาพควันที่พุ่งออกจากบริเวณเกาะแมนฮัตตัน เมืองนิวยอร์กซิตี้ สหรัฐฯ ในวันที่ 11 ก.ย.2544 หรือเหตุการณ์ 911 ที่โลกไม่อาจลืม
กำแพงเมืองจีนที่เพิ่งสำรวจว่ายาวกว่าที่เคยบันทึกไว้ และเถียงกันไม่จบสิ้นว่า จะมองเห็นได้จากอวกาศหรือไม่ ทำให้นักบินอวกาศสหรัฐฯ เชื้อสายมังกรบันทึกภาพไว้ เมื่อครั้งไปประจำอยู่บนสถานีอวกาศ เมื่อหลายปีก่อน แต่ด้วยเลนส์ชนิดพิเศษที่มีกำลังซูมสูงส่ง
ภูเขาไฟเคลฟแลนด์ ที่กำลังปะทุในอลาสก้า ซึ่งนักบินอวกาศบนสถานีจะต้องคอยสังเกตและส่งข้อมูลถึงศูนย์เฝ้าระวังที่ภาคพื้นดิน
รับ อัล กาลี (Rub al Khali) ทะเลทรายที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก กินพื้นที่ 1 ใน 3 ของคาบสมุทรอาหรับ อยู่ระหว่างโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน บันทึกไว้โดย ASTER ดาวเทียมสำรวจโลก Terra ของนาซา  ภาพนี้บันทึกไว้เมื่อปี 2543
ส่วนปลายเกาะเอเลวเทรา ในบาฮามาส ช่างสวยงาม โดยเฉพาะบริเวณน้ำทะเลสีเทอร์ควอยส์ตัดกับสีน้ำเงิน ภาพนี้บันทึกเมื่อปี 2545 จากสถานีอวกาศ
ภาพนี้สุดคลาสสิกบันทึกจากอพอลโล 11 ทำให้ชาวโลกได้เห็นขั้วใต้เป็นครั้งแรก รวมทั้งแนวชายฝั่งของทวีปแอฟริกา รวมทั้งคาบสมุทอาหรับ
ภาพนี้บันทึกโดยดาวเทียมนับ 400 ดวง มาประกอบเป็นภาพโลกในยามค่ำคืน ซึ่งนักวิจัยของนาซาต้องการศึกษาปริมาณการใช้ไฟตามเมืองต่างๆ
ภาพนี้บันทึกเมื่อปี 2503 นับเป็นภาพแรกของโลก ที่ได้รับการบันทึกโดยดาวเทียมสำรวจอากาศ TIROS-1 ซึ่งมีประโยชน์ในแง่ของการศึกษาภูมิอากาศ
ภาพนี้ก็ได้รับความประทับใจไม่รู้ลืม เป็นโลกที่มองจากดวงจันทร์ ในคืนวันคริสต์มาสอีฟ (24 ธ.ค.ปี 2512) บันทึกจากกล้องวิดิโอโดยนักบินประจำอพอลโล 11 โลกสีน้ำเงินท่ามกลางจักรวาลอันมืดมิด แสดงถึงความโดดเดี่ยว แน่นอนว่า ถ้าไม่มีโลกแล้ว ... เราคงไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน
ภาพจำลอง โลกในปัจจุบัน ผ่านเทคโนโลยี AMSR-E  จากดาวเทียมอควาของนาซา ที่แสดงให้เห็นพื้นที่แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมโลกในปี 2551-2552  โดยได้ข้อมูลที่ชัดเจน ทั้งอุณหภูมิพื้นผิว ความหนาของน้ำแข็ง ความชื้น แรงลม ความหนาแน่นของเมฆที่ชั้นบรรยากาศ ไอน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของโลก
กำลังโหลดความคิดเห็น