กรีนพีซ - เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 52 นักกิจกรรมกรีนพีซได้รวมตัวหน้าสถานฑูตญี่ปุ่น ที่กรุงเทพฯ โดยแต่งตัวเป็นจุนอิชิและโทรุในชุดนักโทษ ถือป้ายผ้าที่มีข้อความว่า “ถูกจำคุกเพราะเปิดเผยความจริงเรื่องการล่าวาฬ” โดยกรีนพีซเรียกร้องให้มีการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่กรีนพีซโดยยุติธรรม ทั้งนี้ จุนอิชิ ซาโตะและโทรุ ซูซูกิ เป็นนักกิจกรรม ของกรีนพีซซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “โตเกียวทู” ถูกตัดสินให้จำคุกในข้อหาเปิดเผยกรณี การยักยอกเนื้อวาฬภายในกองเรือล่าวาฬของญี่ปุ่น
กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในการรณรงค์ของกรีนพีซด้านหน้าสถานฑูตญี่ปุ่นทั่วโลก เพื่อเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการขายเนื้อวาฬและสัญญากับสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (ICR) ซึ่งเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในเรื่องการล่าวาฬประจำปี
“คดีของจุนอิชิและโทรุส่งผลสะเทือนต่อประชาสังคมทั่วโลกและเป็นคดีที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดในประเด็นเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิของพลเมืองในการเปิดโปงผลประโยชน์ส่วนตัวและความไม่ชอบมาพากลของกิจการที่มาจากภาษีของประชาชน เราเป็นจำเลยร่วมของจุนอิชิและโทรุ ด้วยเหตุผลที่ว่าหากการเปิดโปงคอร์รัปชั่น เป็นการก่ออาชญากรรม นั่นหมายความว่าประชาชนทั่วโลกที่ต่อสู้กับคอร์รัปชั่นนั้น ก็มีความผิดด้วยเช่นกัน” นายวอน เฮอร์นันเดซ ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในจำเลยร่วมกับจุนอิชิ ซาโตะและโทรุ ซูซูกิ ในการเปิดโปงความจริงเรื่องอุตสาหกรรมล่าวาฬ กล่าว
“ความจริงเป็นศัตรูของความฉ้อฉล และในกรณีนี้ การเปิดเผยความจริงของจุนอิชิ และโทรุนั้นเข้าขัดขวางอุตสาหกรรมล่าวาฬอันโหดเหี้ยม รัฐบาลญี่ปุ่นควรมองเห็นความจริงในเรื่องนี้ว่าอุตสาหกรรมล่าวาฬต่างหากที่ต้องถูกดำเนินคดี มิใช่เอาผิดกับจุนอิชิและโทรุที่เปิดเผยการยักยอกเนื้อวาฬของอุตสาหกรรมล่าวาฬ” นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา จากการที่กรีนพีซใช้กฎหมายเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร กรมประมงแห่งญี่ปุ่น (The Fisheries Agency of Japan) ได้ปล่อยข้อมูลเรื่องการซื้อขายเนื้อวาฬและสัญญาที่ทำขึ้นกับสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (ICR) แต่ข้อมูลดังกล่าวกลับถูกเซ็นเซอร์ และแทบทุกบรรทัดถูกแก้ไข
“ข้อมูลที่ถูกขีดฆ่าทิ้งนี้แสดงถึงความมืดมนที่รายล้อมโครงการล่าวาฬที่มีรัฐบาลสนับสนุนอยู่” นายจุน โฮชิกาวา ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซญี่ปุ่นกล่าว “มันเป็นสัญลักษณ์ที่ว่ากรมประมงแห่งญี่ปุ่นได้กลับคำสัญญา ในเรื่องของความโปร่งใสและความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน”
ขณะนี้ กรมประมงแห่งญี่ปุ่นให้เงินอุดหนุนการเดินเรือล่าวาฬ เพื่อทำการวิจัยทาง“วิทยาศาสตร์” ของสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (ICR) เป็นจำนวน 500 ล้านเยน (5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ต่อปี และแม้ความจริงที่ว่าประชาชนญี่ปุ่นผู้เสียภาษีกำลังแบกภาระกับกิจการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับโลก กรมประมงแห่งญี่ปุ่นได้ตัดสินใจปกป้องตัวเอง โดยการแลกกับสิทธิที่จะรู้ของประชาชน
การอุธรณ์คดีเพื่อความโปร่งใสซึ่งร่วมลงนามโดยโชกิชิ กินา (Shokichi Kina) สมาชิกวุฒิสภาจากพรรคเดโมเครติกของญี่ปุ่นได้มีขึ้น ในขณะที่จุนอิชิ ซาโตะและโทรุ ซูซูกิ กำลังตระเตรียมเพื่อการไต่สวนคดีรอบต่อไปในอาโอโมริ ญี่ปุ่น
การจับกุมและการดำเนินคดีกรณีเปิดโปงการยักยอกเนื้อวาฬภายในกองเรือล่าวาฬ ของญี่ปุ่นนี้ โตเกียวทู (จุนอิชิและโทรุ) ต่างได้รับความทุกข์โดยไม่จำเป็น การปกปิดข้อมูลนั้นไม่มีสิ่งใดนอกเสียจากการบั่นทอนศักยภาพของพลเมืองผู้มีจิตสำนึก ดังเช่น จุนอิชิและโทรุ ที่สำรวจศึกษาปัญหาต่างๆ ในสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่
กรีนพีซ ทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และสันติภาพ
กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในการรณรงค์ของกรีนพีซด้านหน้าสถานฑูตญี่ปุ่นทั่วโลก เพื่อเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการขายเนื้อวาฬและสัญญากับสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (ICR) ซึ่งเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในเรื่องการล่าวาฬประจำปี
“คดีของจุนอิชิและโทรุส่งผลสะเทือนต่อประชาสังคมทั่วโลกและเป็นคดีที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดในประเด็นเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิของพลเมืองในการเปิดโปงผลประโยชน์ส่วนตัวและความไม่ชอบมาพากลของกิจการที่มาจากภาษีของประชาชน เราเป็นจำเลยร่วมของจุนอิชิและโทรุ ด้วยเหตุผลที่ว่าหากการเปิดโปงคอร์รัปชั่น เป็นการก่ออาชญากรรม นั่นหมายความว่าประชาชนทั่วโลกที่ต่อสู้กับคอร์รัปชั่นนั้น ก็มีความผิดด้วยเช่นกัน” นายวอน เฮอร์นันเดซ ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในจำเลยร่วมกับจุนอิชิ ซาโตะและโทรุ ซูซูกิ ในการเปิดโปงความจริงเรื่องอุตสาหกรรมล่าวาฬ กล่าว
“ความจริงเป็นศัตรูของความฉ้อฉล และในกรณีนี้ การเปิดเผยความจริงของจุนอิชิ และโทรุนั้นเข้าขัดขวางอุตสาหกรรมล่าวาฬอันโหดเหี้ยม รัฐบาลญี่ปุ่นควรมองเห็นความจริงในเรื่องนี้ว่าอุตสาหกรรมล่าวาฬต่างหากที่ต้องถูกดำเนินคดี มิใช่เอาผิดกับจุนอิชิและโทรุที่เปิดเผยการยักยอกเนื้อวาฬของอุตสาหกรรมล่าวาฬ” นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
เมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา จากการที่กรีนพีซใช้กฎหมายเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร กรมประมงแห่งญี่ปุ่น (The Fisheries Agency of Japan) ได้ปล่อยข้อมูลเรื่องการซื้อขายเนื้อวาฬและสัญญาที่ทำขึ้นกับสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (ICR) แต่ข้อมูลดังกล่าวกลับถูกเซ็นเซอร์ และแทบทุกบรรทัดถูกแก้ไข
“ข้อมูลที่ถูกขีดฆ่าทิ้งนี้แสดงถึงความมืดมนที่รายล้อมโครงการล่าวาฬที่มีรัฐบาลสนับสนุนอยู่” นายจุน โฮชิกาวา ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซญี่ปุ่นกล่าว “มันเป็นสัญลักษณ์ที่ว่ากรมประมงแห่งญี่ปุ่นได้กลับคำสัญญา ในเรื่องของความโปร่งใสและความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน”
ขณะนี้ กรมประมงแห่งญี่ปุ่นให้เงินอุดหนุนการเดินเรือล่าวาฬ เพื่อทำการวิจัยทาง“วิทยาศาสตร์” ของสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (ICR) เป็นจำนวน 500 ล้านเยน (5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ต่อปี และแม้ความจริงที่ว่าประชาชนญี่ปุ่นผู้เสียภาษีกำลังแบกภาระกับกิจการที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับโลก กรมประมงแห่งญี่ปุ่นได้ตัดสินใจปกป้องตัวเอง โดยการแลกกับสิทธิที่จะรู้ของประชาชน
การอุธรณ์คดีเพื่อความโปร่งใสซึ่งร่วมลงนามโดยโชกิชิ กินา (Shokichi Kina) สมาชิกวุฒิสภาจากพรรคเดโมเครติกของญี่ปุ่นได้มีขึ้น ในขณะที่จุนอิชิ ซาโตะและโทรุ ซูซูกิ กำลังตระเตรียมเพื่อการไต่สวนคดีรอบต่อไปในอาโอโมริ ญี่ปุ่น
การจับกุมและการดำเนินคดีกรณีเปิดโปงการยักยอกเนื้อวาฬภายในกองเรือล่าวาฬ ของญี่ปุ่นนี้ โตเกียวทู (จุนอิชิและโทรุ) ต่างได้รับความทุกข์โดยไม่จำเป็น การปกปิดข้อมูลนั้นไม่มีสิ่งใดนอกเสียจากการบั่นทอนศักยภาพของพลเมืองผู้มีจิตสำนึก ดังเช่น จุนอิชิและโทรุ ที่สำรวจศึกษาปัญหาต่างๆ ในสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่
กรีนพีซ ทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และสันติภาพ