เนคเทค-ปิดฉากศึกแข่งขันมหกรรมไอซีทีแจกไป 70 รางวัล พร้อมส่งผู้ชนะโครงงานวิทยาศาสตร์แข่งต่อระดับอินเตอร์
ปิดฉากลงไปแล้วสำหรับมหกรรมประกวดผลงานเยาวชนคนไอทีจากทั่วประเทศ ภายใต้ชื่องาน มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 หรือ งานThailand ICT Contest Festival 2009 ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2552 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน ซึ่งจัดขึ้นโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทั้งนี้สำหรับตลอดระยะเวลาการจัดงานทั้ง 3 วัน มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมชมงานกว่า 3,000 คน ที่ต่างก็ให้ความสนใจไปที่ผลงานจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ โดยกว่า 200 ผลงานที่ผ่านเข้ารอบการชิงชนะเลิศจากกว่า 1,587 โครงการที่ส่งเข้าประกวด ต่างก็โดดเด่นที่ไม่แพ้กัน ซึ่งถือได้ว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นจากปีก่อนๆ เนื่องจากเยาวชนรุ่นนี้ได้มีการต่อยอดการพัฒนาผลงานให้ล้ำหน้ามุ่งนำสู่การใช้งานได้จริง สอดรับแก้ปัญหาประเทศชาติ ทั้งด้านอุตสาหกรรม พลังงาน ลดโลกร้อน และ การเกษตรกรรม
นอกจากผลงานของน้อง ๆ เยาวชนแล้ว ผู้เข้าชมงานที่มีทั้งเด็ก ผู้ปกครอง และวัยรุ่น ต่างยังให้ความสนใจกับกิจกรรมบนเวที ที่มีการแขกรับเชิญมาคุยในหัวข้อ “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รอบด้าน ทันเทคโนโลยี” รวมถึงการพูดคุยกับแขกรับเชิญพิเศษ ผู้ชนะในปีที่ผ่านมา ในหัวข้อ “เคล็ดลับพิชิตเทคโนโลยี” อีกด้วย
สำหรับการประกาศผลและมอบรางวัลในปีนี้ได้รับเกียรติจาก นายชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในการมอบรางวัล ทั้งนี้สามารถสรุปผลรางวัลที่ชนะการประกวด แบ่งเป็น 4 ประเภทรางวัล คือ
การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11: The 11th National Software Contest (NSC 2009)
มีรางวัลทั้งหมด 13 ประเภท แบ่งเป็น
-ระดับนิสิต นักศึกษา 5 ประเภท ได้แก่
1.โปรแกรมเพื่อการบันเทิง
รางวัลที่ 1 - เกมรามยุทธ์ (Rama Yuth) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 – อารยธรรมนครเกมกลองมายา (Dummer Zone) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
รางวัลที่ 3 - ไดโนเสาร์พันธุ์ไทย(ThaiSaurus) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลชมเชย ได้แก่
– ตะลุยทั่วไทยไปกับเกมกระดานเว็บเซอร์วิส (Discover Around Thailand With Board Game Web Services มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์รางน้ำ
- เทคนิคการโปรแกรมแบบภาวะพร้อมกันเพื่อสร้างวงดนตรีมโหรีไทย (A Concurrent Programming Technique for Thai Classical Sound Band Synthesis) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
2.โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
รางวัลที่ 1 – สร้างสรรค์โลกสามมิติด้วยจาวา (World of Creativity 3D (WOC-3D) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลที่ 2 – โปรแกรมจำลองวงจรไฟฟ้า (ZerKit - Electrical Circuit Simulator for Education) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลที่ 3 - E-Learning คณิตศาสตร์ ม.2 บนมาตรฐาน SCORM (E-Learning Math High Scool2 on SCROM Standard) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
รางวัลชมเชย ได้แก่
– โปรแกรมช่วยอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างชาญฉลาด( Smart Assisted Text E-Book Reader (SATE Reader)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– หุ่นเดินตามเส้น...เก๊งเก่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
3.โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ
รางวัลที่ 1 – ไบรท์ไซต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 – โปรแกรมสร้างเสียงภาษาไทยจากข้อความบนโทรศัพท์มือถือ Smart Phone เพื่อช่วยเหลือผู้มีความบกพร่องทางสายตา สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลที่ 3 - ระบบ E-Learning สำหรับภาษามือไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
รางวัลชมเชย ได้แก่
– ระบบสอนผู้พิการทางสายตาเขียนหนังสือ (VirtualStroke) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ภาษามือไทยบนเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือขนาดเล็ก (Electronic Dictionary Thai Sign Language On PDA) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รางวัลพิเศษ 3 จากสถาบันคนตาบอดแห่งชาติ เพื่อการวิจัยและพัฒนา โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ภาษาไทย สำหรับคนตาบอด
– ไบรท์ไซต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- โปรแกรมสร้างเสียงภาษาไทยจากข้อความบนโทรศัพท์มือถือ Smart Phone เพื่อช่วยเหลือผู้มีความบกพร่องทางสายตา สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ระบบสอนผู้พิการทางสายตาเขียนหนังสือ (VirtualStroke) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เกมส์ผู้พิทักษ์โลกร้อน(สำหรับผู้พิการทางสายตา) โรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก(อีเทค)
4.โปรแกรมเพื่องานด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (15 โครงการ) มีผู้ได้รับรางวัลดังนี้
รางวัลที่ 1 – ไม่มีผู้ได้รับรางวัล
รางวัลที่ 2 – ระบบคำถามคำตอบสำหรับวิกิพีเดียภาษาไทย( Question Answering System for Thai Wikipedia) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลที่ 3 – ระบบเฝ้าติดตามดูแลสุขภาพด้วยเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รางวัลชมเชย ได้แก่
- ระบบจำลองอาคารและแสดงผลการติดตามบุคคลจากกล้องวงจรปิด(Tracking and Building Visualization System from Multiple Video Cameras) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- การก่อกำเนิดด่านสำหรับเกมคาราโอเกะแบบอัตโนมัติจากไฟล์เสียง(Automatic Generation of Karaoke-Game Stages from Audio Files) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ระบบติดตามตำแหน่งหุ่นยนต์(Robot Positioning) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5.โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ กลุ่มนิสิต นักศึกษา
รางวัลที่ 1 – ลีนุกซ์บ้านอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รางวัลที่ 2 – พายแอปเปิ้ล : ซอฟต์แวร์ประสานภาพจากกล้องเว็บแคมรอบทิศทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 3 - ระบบเฝ้าระวังและให้ภูมิคุ้มกันการปลอมแปลงโพรโทคอลเออาร์พี (ARP Spoof Vaccination and surveilance system) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลชมเชย ได้แก่
– บีเอ็มพีอีเอสวีเอ็น : โปรแกรมประยุกต์เพื่อสำรวจและวางแผนการแตกกิ่งและการผสานในซับเวอร์ชัน (BMMSVN: Branch & Merge Manager for Subversion) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ระบบรายงานสภาวะอากาศอัตโนมัติผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตยุคหน้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
-ระดับนักเรียน
1.โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
รางวัลที่ 1 – ผลึกผนึกมาร(Crystaxis)โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 – เรียวลิตี้ บ็อกซิ่ง โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
รางวัลที่ 3 – จัดทัพนักรบสัตว์ โรงเรียนระยองวิทยาคม
รางวัลชมเชย ได้แก่
– ศึกลูกบอล สะท้านปฐพี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จันทบุรี
- ปุ๊กตุ๊ก : มหัศจรรย์เมืองเชียงใหม่ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม
- ผจญภัยไปกับคณิตศาสตร์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม
2.โปรแกรมเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้
รางวัลที่ 1 – ไม่มีผู้ได้รับรางวัล
รางวัลที่ 2 - รอบโลกน่ารู้…คู่จินตนาการ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม
รางวัลที่ 3 – ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี โรงเรียนจักรคำคณาทร
รางวัลชมเชย ได้แก่
- โครงการบ้านพลังงานตัวอย่าง โรงเรียนระยองวิทยาคม
– ภารกิจหวนคืนกลับสู่โลก (Reverse The World : Mission) โรงเรียนอัสสัมชัญ นครราชสีมา
3.โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน
รางวัลที่ 1 - กระดานแห่งอนาคต โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม
รางวัลที่ 2 - โลกสวยด้วยมือคุณ(The World Beautiful by your hand) โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย
รางวัลที่ 3 - โลกเงียบไม่เหงา สื่อผสมตัวสะกดนิ้วมือไทย โรงเรียนมารีวิทยากบินทร์บุรี
รางวัลชมเชย ได้แก่
- โปรแกรมแปลงโน้ตดนตรีไทยสำหรับเครื่องดนตรีสากล (Tranforming Thai Musical Notations for Universal Instrucments) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- พยาบาลจ๋า ช่วยผมด้วย! (Saline Ordering System S.O.S.) โรงเรียนพรหมานุสรณ์
-หัวข้อพิเศษ 4 ประเภท
1.Social Web Contest (8 โครงการ) มีผู้ได้รับรางวัลดังนี้
รางวัลที่ 1 - ป่า (My Forest) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
รางวัลที่ 2 - การรวมบริการบนสังคมออนไลน์สำหรับสิ่งแวดล้อม(Mashup Web Application for problem of Environment) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รางวัลที่ 3 - โอเอซิส เวิร์ล (Oasis World) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลชมเชย ได้แก่
– ประเทศไทยทาสีเขียว (Paint on Thailand) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– ระบบตาวิเศษผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
2.Mobile Application
รางวัลที่ 1 – ที่ทำการไปรษณีย์เคลื่อนที่ (Moblie Post Office) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รางวัลที่ 2 - ระบบบาร์โค้ดบนโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการดำเนินธุรกิจ(Mobile Phone Barcode System for Business Support (MBarBiz)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลที่ 3 – ชีวิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
รางวัลชมเชย ได้แก่
- ซอฟต์แวร์ uGuide ไกล์ส่วนตัวฉบับพกพา (uGuide)มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ระบบข้อมูลแรงงานต่างด้าวบนคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (Foreign Worker System On PDA) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3.RFID Application for Industry
รางวัลที่ 1 - ระบบจัดการร้านอาหาร แบบเบ็ดเสร็จ โดยใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รางวัลที่ 2 - ระบบยืมคืนรถจักรยานด้วยอาร์เอฟไอดีผ่านเครือข่ายไร้สาย (Bicycle Pool System with RFID via Wireless Network) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลที่ 3 - ระบบภัณฑารักษ์สำหรับเครื่องแต่งกายโขนด้วยอาร์เอฟไอดี (RFID CURATOR FOR KHON COSTUME) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลชมเชย ได้แก่
- ระบบบริหารจัดการเครื่องพิมพ์ด้วยอาร์เอฟไอดี (Printer Management System with RFID) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– การพัฒนา RFID เพื่อสวนสัตว์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4.BEST 2009-Thai Word Segmentation
รางวัล Best of the Best – แบบจำลองผสมแบบแยกแยะสำหรับการแบ่งคำไทย บุคคลทั่วไป - นายฆนาศัย กรึงไกร นางสาวชุลีรัตน์ จรัสกุลชัย และนายคาซามา จุนอิชิ (Mr.Kazama Junichi)
รางวัลที่ 2 ได้แก่
– คูวส์ (CUWS) บุคคลทั่วไป – นายวิชญ์ เนียรนาทตระกูล นายไพโรจน์ ลีลาภัทรกิจ และนายจิรัฏฐ์ ศรีสวัสดิ์
- คำไทย (Kam Thai) บุคคลทั่วไป - นายอัจฉริยะ ดาโรจน์
Student BEST - ซีพีเอสเคคัท (cpskCut) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลชมเชย ได้แก่
- การแบ่งคำภาษาไทยด้วยเทคนิคไตรแกรม (Kessaraporn Suesatpanit) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- การเพิ่มประสิทธิภาพการตัดคำภาษาไทยด้วยเทคนิคการเรียนรู้ด้วยเครื่อง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-กลุ่มอาจารย์
สื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์
รางวัลที่ 1 – ไม่มีผู้ได้รับรางวัล
รางวัลที่ 2 - สัตว์เลี้ยงอัจฉริยะกับความรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นออนไลน์ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
รางวัลที่ 3 - สื่อบทเรียนสำหรับระบบเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องร่างกายมนุษย์ (Content of Learning For Managements on the topic On Human Body) โรงเรียนดงมันพิทยาคม
รางวัลชมเชย ได้แก่
- สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องไฟฟ้า-แม่เหล็ก (Content of Learning Management system on the topic of Eletric-Magnetic) โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
- สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เรื่อง "การออกแบบฐานข้อมูลเบื้องต้น" (E-Learning "Basic Database Design") มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
- ไฟฟ้ากระแสตรง แสนง่าย โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยม
- ตรรกศาสตร์ในรหัสคอมพิวเตอร์ (Logics in Computer Code) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 11
รางวัลที่ 1
ประเภทบุคคล ได้แก่
- การรักษาความปลอดภัยข้อมูล ด้วยวิธีการเข้ารหัส รูปแบบกุญแจคู่ขนาน ภาค 2 โรงเรียนบูรณะรำลึก
- การพัฒนาชุดตรวจสอบยาต้านไวรัส HIV โดยใช้เทคนิค Immunochuomatographic Strip Test โรงเรียนแม่พริกวิทยา
ประเภททีม ได้แก่
- หนังเทียมจากการพัฒนาเซลลูโลสเจล โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
ทั้งนี้ ผู้ได้รับรางวัลที่ 1 ทั้งประเภททีมและบุคคล ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันงาน Intel ISFF ณ เมืองรีโน มลรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
รางวัลที่ 2
ประเภทบุคคล ได้แก่
- ฟังเสีย(หัวใจ) ของฉันนะ ว่า...ตอน ห้องแห่งแห่งความลับ ของ Brugada Syndrome โรงเรียนบูรณะรำลึก
-การปรับปรุงปุ๋ยขี้ควายสูตร 8-21-11 ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกรมวิชาการเกษตร (N=1.0%, P2O5=0.5%, K2O=0.5%) โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา
ประเภททีม ได้แก่
- แผ่นใยไม้อัดอ่อนจากไส้ในลำต้นมันสำปะหลัง โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย
รางวัลที่ 3
ประเภทบุคคล ได้แก่
-เครื่องว่านปุ๋ย โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
-การวัดปริมาณละอองลอยในชั้นบรรยากาศโดยใช้ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร
ประเภททีม ได้แก่
-ผลของสมุนไพรกาวเครือขาว Peuraaria mirfica ต่อพฤติกรรมของหนูแรทที่ได้รับบาดเจ็บทางเส้นประสาทส่วนปลาย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
การแข่งขันประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 8
รางวัลที่ 1- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลที่ 2 - สถาบันเทคโนโลยีสถาบันพระจอกเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รางวัลที่ 3 - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลความคิดสร้างสรรค์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลเทคนิค ยอดเยี่ยม - โรงเรียนวัดหงส์รัตนาราม
รางวัล Popular Vote - มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
การแข่งขันระบบปฏิบัติการลีนุกซ์: The Ninth National Linux Competition (NLC 2009)
รางวัลระดับนักเรียน
ประเภท การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
รางวัลที่ 1 - ดช. มนัสวิน หาญมงคลชัย จาก โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2
รางวัลที่ 2 - ดช. ธนิก สิทธิโชคสกุลชัย จาก โรงเรียนนครสวรรค์
รางวัลที่ 3 -นายยุคนธร แก้วปราง จากโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
รางวัลชมเชย ได้แก่
-นาย จิตรทิวัส อำนวยผล โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
- ดช. อนุตร เขมัษเฐียร โรงเรียน ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่
ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมและบริการเครือข่าย
รางวัลที่ 1 - นายไท ปังสกุลยานนท์ จากโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
รางวัลที่ 2 - ดช. วิชากร กมลพรวิจิตร จาก โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน
รางวัลที่ 3 - นาย นราชัย สาคร จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
รางวัลชมเชย ได้แก่
- นาย สืปปภาส สวโรจน์ จากโรงเรียนสุราษฏร์วิทยา
- นายสุวัฒน์ เปียศิริ โรงเรียน เซนต์หลุยส์ฉะเชิงเทรา
ระดับประชาชนทั่วไป
ประเภทการใช้งานและปรับแต่ง ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ขั้นสูง
รางวัลที่ 1 - นายคเชนท์ หวังธรรมมั่ง จากมุกดาหาร
รางวัลที่ 2 - นายรัถพงศ์ สัตยาบัน จากนครราชสีมา
รางวัลที่ 3 - นายเสกสิทธิ์ ดิสโร จาก ฉะเชิงเทรา
รางวัลชมเชย ได้แก่
- นายวรท มกรานนท์ จากสุราษฎร์ธานี
-นายตะวัน ดอกบัว จากกรุงเทพมหานคร
อย่างไรก็ตามสำหรับผลงานเยาวชนที่ชนะเลิศ ทุกโครงการจะได้รับทุนการศึกษา และสนับสนุนส่งผลงานเหล่านี้เข้าร่วมประกวดในเวทีนานาชาติ ซึ่งที่ส่งเข้าประกวดต่อเนื่องก็คือ การส่งผลงานที่ชนะเลิศจากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์เข้าร่วมแข่งขันในงาน Intel International Science and Engneeing Fair ( Intel ISEF) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งเข้าประกวดชิงรางวัล ICT Awards (APICTA) 2008 ซึ่งเป็นงานประกวดผลงานด้านซอฟต์แวร์ด้านต่างๆ 15 สาขา สำหรับประเทศในภูมิภาคจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมด้านไอซีทีของประเทศในภูมิภาค