ชมภาพปรากฎการณ์ “สุริยุปราคา” เหนือท้องฟ้ากรุงเทพฯ ที่ได้เห็นแค่เพียงบางส่วน ตั้งแต่เวลา 15.53 น.โดยช่วงที่กินลึกที่สุดที่บ้านเราจะมองเห็นได้คือ เวลา 16.52 น.และจะค่อยๆ เคลื่อนออก ซึ่งเราไม่สามารถสังเกตได้จนจบปรากฎการณ์ เพราะพระอาทิตย์ชิงตกดินไปเสียก่อน
แม้ว่า สุริยุปราคาแบบวงแหวน (Annular Solar Ecplise) ที่เกิดขึ้นในวันที่ 26 ม.ค.52 นี้ ในส่วนของประเทศไทย จะได้เห็นแค่เพียงบางส่วนของปรากฏการณ์ แต่การได้สังเกตปรากฏการณ์ที่ผิดแปลกไปจากทุกวัน ก็ยังสร้างความตื่นเต้นให้ไม่น้อยอยู่เนืองๆ
ทั้งนี้ ภาพที่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ "ASTVผู้จัดการออนไลน์" นำมาเป็นภาพแรก คือ ภาพการกินดวงลึกที่สุดของปรากฏการณ์ เทาที่สังเกตได้ที่ประเทศไทย โดยบันทึกเมื่อเวลา 16.52 น.ที่ท้องฟ้าบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (ลีซา) ที่จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องสุริยุปราคาอยู่บริเวณนั้น
ถัดมาอีก 8 ภาพ บันทึกเมื่อเวลา 16.00 น.เป็นต้นไป โดยเริ่มตั้งแต่ส่วนแรกของปรากฏการณ์ที่สังเกตได้ จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. ที่จัดกิจกรรมสุริยุปราคาแรกแห่งปีรับปีดาราศาสตร์สากล โดยตั้งกล้อง ณ ชั้น 8 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทว่าในการตั้งกล้องนั้น ทำมุมในองศาที่ต่างออกไป จึงทำให้มุมที่ดวงอาทิตย์เว้นแหว่งแตกต่างไปจากภาพอื่นๆ
สำหรับ 3 ภาพสุดท้าย บันทึกโดยช่างภาพ ASTVผู้จัดการ เมื่อเวลาประมาณ 17.20 น.หลังช่วงคราสกินดวงลึกที่สุด ที่บริเวณท้องฟ้าเหนือรัฐสภา
คลิกที่ไอคอน Manager Multimedia เพื่อรับชมภาพ "สุริยุปราคา" และบรรยากาศจากทั่วโลก
รวมข่าวสุริยุปราคา
- ว้าว!! ในที่สุดก็ได้เห็น “วงแหวนแห่งไฟ”
- “สุริยุปราคา” ที่ท้องฟ้ากรุงเทพฯ
- ชมภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาจากทั่วโลก
- “มหกรรมสุริยุปราคา” คึกคักรับตรุษจีนที่จุฬาฯ
- เด็กๆ ตื่นตาดูสุริยุปราคาบนดาดฟ้ากระทรวงวิทย์
- เงาดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกแล้ว ประเทศไทยดูได้ตั้งแต่ 15.53 น.
- เตรียมกล้องให้พร้อม-กรองแสงให้พอบันทึกภาพ "สุริยุปราคา"
- สดร.ชวนคนไทยชมปรากฏการณ์สุริยุปราคา 26 ม.ค. นี้