เมื่อ 50 ปีที่แล้วหลัง "สปุตนิก 1" ทะยานฟ้าออกไปในวันที่ 4 ต.ค. จันทร์ดวงน้อยได้โคจรรอบโลกพร้อมส่งเสียงที่ฟังดูไม่มีความหมาย "บี๊บๆ" ยุคอวกาศก็เริ่มต้นในครั้งนั้น...แต่คงไม่มีใครถ่ายทอดความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอวกาศที่ผ่านมาได้ดีไปกว่าคนแวดวงวิทยาศาสตร์ผู้มีโอกาสรู้เห็นเหตุการณ์ในครั้งนั้น
ทั้งนี้ เหล่าผู้อาวุโสในแวดวงวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทยพร้อมถ่ายทอดว่า...เทคโนโลยีอวกาศในรอบ 50 ปีเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง? และ ไทยอยู่ตรงไหนของการเปลี่ยนแปลงนั้น?

ศ.ดร.ระวี ภาวิไล
ราชบัณฑิตสาขาดาราศาสตร์,
อดีตอาจารย์ด้านดาราศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก่อนยุคอวกาศนั้นแรงดึงดูดของโลกจะโดนดึงให้วัตถุตกลงสู่พื้นทั้งหมด ส่วนเครื่องบินนั้นบินได้เพราะอาศัยอากาศและใบพัดในการเหินแต่เคลื่อนที่ออกจากโลกไม่ได้ การส่งยานอวกาศจึงต้องอาศัยเครื่องยนต์แบบจรวดที่พ่นเชื้อเพลิงออกด้านล่างแล้วพุ่งไปข้างบน คล้าย "บั้งไฟ" ของไทยแต่บั้งไฟอาศัยเพียงเชื้อเพลิงดินปืนเมื่อหมดก็ลงบนพื้นโลก สำหรับจรวดสมัยนั้นใช้เชื้อเพลิงแข็งและเชื้อเพลิงเหลวซึ่งต้องใช้เวลาพัฒนาอยู่พักหนึ่ง โดยในช่วงสงครามโลกเยอรมนีได้สร้างจรวดโดยใช้เชื้อเพลิงเหลว แต่หลังจากเยอรมนีแพ้สงครามสหรัฐอเมริกาก็นำมาพัฒนาเพื่อใช้ในด้านอวกาศ
ต่อมาในปี 2500 เป็นปีธรณีฟิสิกส์สากล นักดาราศาสตร์นานาชาติตั้งเป้าหมายร่วมทำวิจัยเกี่ยวกับโลก โดยสหรัฐฯ ตั้งเป้าส่งคนไปโคจรรอบโลกแต่ล่าช้ากว่าสหภาพโซเวียตที่ส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ในปีดังกล่าวซึ่งนับเป็นการบุกเบิกยุคอวกาศของมนุษย์ และได้ส่งปุตนิก 2 หลังจากนั้นไม่ถึงเดือน พร้อมนำสุนัขชื่อ "ไลกา" ขึ้นไปด้วยแต่ตายในดาวเทียมและเมื่อกลับเข้าสู่โลกก็ถูกเผาไหม้จนแทบไม่เหลือ
สหรัฐฯ ถือว่าตามหลังสหภาพโซเวียตแต่ก็ส่งยานเอกซ์โพลเรอร์ 1 (Explorer 1) ขึ้นไปและค้นพบแถบรังสีแวน อัลเลน (Van Allen Belt) ที่ห่อหุ้มโลกด้วยอนุภาคไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบโลก ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีใครรู้ จากนั้นได้ส่งดาวเทียมแวนการ์ด 1 (Vanguard 1) ทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้วโลกไม่ได้มีสัณฐานกลม แต่เหมือนลูกแพร์ที่ด้านหนึ่งป้านและอีกด้านแหลมหน่อย ซึ่งหลังจากนั้นก็พอประมวลรวมๆ ได้ว่าเราได้ส่งมนุษย์หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นสู่อวกาศอีกมากมาย
จุดประสงค์ของโครงการอวกาศทั้งหมดเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับโลกแล้วใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างดาวเทียมค้างฟ้าที่ทำให้เคลื่อนที่สอดคล้องกับโลกก็นำไปใช้ประโยชน์ในการส่งสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น และต่อไปดวงอาทิตย์และบริวารทั้งดาวพุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดีและดวงอื่นๆ จะได้รับการสำรวจมากขึ้น รวมทั้งการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกซึ่งน่าแปลกใจว่าแม้เราจะพบร่องรอยของน้ำหรือคาร์บอนไดออกไซด์แข็งแต่ก็ยังไม่พบเลย
ส่วนการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับโครงการอวกาศก็มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ การสื่อสารแบบดิจิตอล การวิเคราะห์ข้อมูลวิทยุ เหล่านี้เป็นผลสะท้อนไปมาระหว่างเทคโนโลยีบนผิวโลกและเทคโนโลยีอวกาศ ขณะเดียวกันก็มีหอดูดาวบนอวกาศที่ลอยเป็นบริวารของโลกโดยไม่ต้องควบคุมและสามารถส่งสัญญาณที่ขยายขอบเขตการสำรวจของมนุษย์ออกไปสุดขอบจักรวาลกลับมายังโลกได้ทีเดียว

นิพนธ์ ทรายเพชร
ราชบัณฑิตสาขาดาราศาสตร์,
กรรมการที่ปรึกษาสมาคมดาราศาสตร์ไทย,
วิทยากรประจำศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นการส่งยานอวกาศออกนอกโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก โดยสหภาพโซเวียตถือว่าอยู่เหนือคู่แข่งอย่างสหรัฐอเมริกา และเป็นการขยายแวดวงความสนใจด้านอวกาศให้กับทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย ผมเองก็ตื่นเต้นมาก ด้านสหรัฐฯ ก็พยายามแข่งขันให้ทันรัสเซียแล้วก็สำเร็จในการส่งยานเอกซ์โพลเรอร์ตามมา ซึ่งก่อนหน้านั้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะไปนอกโลกก็มีการพัฒนามานานแล้ว แต่ติดขัดตรงที่ไม่สามารถพัฒนาจรวดกำลังส่งสูงที่ส่งยานอวกาศออกนอกโลกได้เท่านั้น
จากครั้งนั้นก็พบว่าหลายประเทศก็มีความตื่นตัวด้านการเผยแพร่ความรู้ด้านดาราศาสตร์แก่ประชาชนของตัวเองมาก ดังที่มีการสร้างท้องฟ้าจำลองจำนวนมากในอเมริกาและยุโรป ซึ่งหลังการปล่อยยานสปุตนิก 1 ไทยก็มีการก่อตั้งท้องฟ้าจำลองในปี 2507 เช่นกัน จากนั้นเทคโนโลยีอวกาศก็ได้รับการพัฒนาไปมาก ตลอดจนมีความพยายามส่งยานไปสำรวจนอกโลกของเรา อาทิ ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ พร้อมๆ กับการเกิดองค์การอวกาศในประเทศต่างๆ ทั่วโลกตามอย่างองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) และองค์การอวกาศของรัสเซีย เช่น องค์การบริหารอวกาศของสหภาพยุโรป (ESA: อีซา) องค์การอวกาศของจีน อินเดีย และญี่ปุ่น

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขาชีวเคมีปี 2527
ตอนนั้นผมอายุ 13 ปีก็ตื่นเต้นมากที่คนเราสามารถส่งยานอวกาศไปนอกโลกได้ และที่น่าประหลาดใจอีกจุดหนึ่งคือการที่สหภาพโซเวียตเอาชนะสหรัฐอเมริกาได้ อย่างไรก็ดี 50 ปีหลังการปล่อยยานสปุตนิก 1 ก็ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร คือระบบการขนส่งอวกาศยังไม่ดีนัก แต่ก็ยอมรับว่าเทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าไปมากมายดีกว่าที่กล่าวถึงในภาพยนตร์เรื่อง 2001: Odyssey ด้วยซ้ำ และการส่งมนุษย์ไปนอกโลกคงสำคัญน้อยลงเพราะเราส่งเครื่องมือไปแทนได้ ด้านสหรัฐฯ นั้น จอร์จ ดับเบิลยู บุช (Gorge W. Bush) ก็มีนโยบายฟื้นฟูภารกิจด้านอวกาศใหม่ โดยตั้งเป้าเดินทางไปดาวอังคารและใช้ดวงจันทร์เป็นฐาน แล้วต่อไปจะแข่งกันอ้างสิทธิ์บนดวงดาวต่างๆ เป็นพื้นที่นอกโลก
สำหรับไทยก็ต้องติดตามเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์แก่ประเทศ ส่วนการไปสำรวจอวกาศและทำวิจัยนอกโลกนั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศในเวลานี้ แต่เป็นเรื่องดีหากจะมีความร่วมมือกับนานาชาติ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พยายามร่วมงานกับประเทศที่มีความสามารถด้านอวกาศสูงกว่าอย่างจีนและญี่ปุ่นเพื่อร่วมส่งคนไทยไปนอกโลกบ้าง เชื่อว่าอีก 50 ปีข้างหน้าจะส่งคนไปดาวอังคารได้แล้ว โดยสร้างสถานีบนดวงจันทร์ก่อนและอาจสร้างอาณานิคมบนดาวอังคารทีเดียว การเดินทางนอกโลกจะเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนโดยสารเครื่องบินที่เคยคิดว่าเพ้อฝัน แต่ไทยก็อยู่ในฐานะผู้ใช้งานมากกว่าเหมือนเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ไทยไม่ได้พัฒนาเอง แต่เราเป็นฐานซ่อมบำรุงในอนาคตได้ โดยมีข้อได้เปรียบด้านแรงงานราคาถูกอีกต่อหนึ่งด้วย

สิทธิชัย จันทรศิลปิน
นักวิชาการประจำศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
การเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ คือมีเทคโนโลยีสื่อสารก้าวหน้าขึ้น โดยครั้งนนั้นยานสปุตนิก 1 มีเสาอากาศส่งสัญญาณวิทยุได้ ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศนั้นนับว่าสหภาพโซเวียตนำหน้าไปมากโดยสามารถส่งสุนัขและคนออกไปโคจรรอบโลกและส่งยานไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจไม่ดีทำให้ไม่สามารถพัฒนายานไปลงจอดบนดวงจันทร์ได้ ขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งถูกนำมาทุกก้าวก็ได้พยายามส่งคนไปยังดวงจันทร์เพื่อกู้หน้าคืน แต่กว่าจะประสบความสำเร็จในภารกิจอพอลโล 11 (Apollo 11) ก็ต้องล้มเหลวหลายครั้ง อย่างกรณียานอพอลโล 1 ระเบิดจนลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด และภารกิจอวกาศสหรัฐฯ ก็หยุดเป็นช่วงๆ ส่วนหนึ่งเพราะอุบัติเหตุหลายครั้ง อย่างการระเบิดของกระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Columbia) และชาเลนเจอร์ (Challenger) ซึ่งทำให้คนอเมริกันเสียขวัญไปพักใหญ่
ทั้งนี้หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตทิศทางเทคโนโลยีอวกาศของโลกก็เปลี่ยนไป โดยมุ่งไปที่ความร่วมมือกันและสร้างเครือข่ายด้านอวกาศมากขึ้นเรื่อยๆ อาทิ ความร่วมมือระหว่างสหรัฐและรัสเซียในภารกิจอพอลโล -โซยุต องค์การอวกาศแห่งยุโรป (ESA) และความร่วมมือในการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ในเวลาไล่เลี่ยกับที่สถานีอวกาศมีร์ (MIR) ของรัสเซียปลดระวาง

ดร.สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี
อดีตนักวิจัยองค์การบริการการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา),
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
รัสเซีย (สหภาพโซเวียต) ส่งสปุตนิกขึ้นไปในอวกาศและส่งสัญญาณ "บี๊บๆ" กลับมาก็เหมือนเด็กๆ ที่ออกไปเล่นนอกบ้านแล้วตะโกน "ฮัลโหลๆ" กลับมา ก่อนหน้านั้นเราอยู่บนพื้นโลกที่แบนราบและไม่เคยขึ้นสู่ที่สูงเลย เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน จากนั้นมาก็มีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้มีการใช้ประโยชน์ 3 ด้านคือ การสื่อสาร การถ่ายภาพจากดาวเทียม และการสำรวจอวกาศ โดยการสื่อสารนั้นทำให้เราโทรศัพทืได้ไกลขึ้นโดยไม่ต้องเดินสายโทรศัพท์ให้วุ่นวาย ส่วนภาพถ่ายดาวเทียมก็ทำให้เราค้นพบเมืองโบราณหลายแห่งที่หายไป ทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งสหรัฐฯ อาจจะทราบว่าไทยมีทรัพยากรอะไรบ้างโดยที่เราไม่รู้ ขณะที่การแข่งขันสำรวจอวกาศนั้นเป็นการแข่งขันเพื่อเอาหน้าจึงไม่มีความต่อเนื่องตรงนั้น อย่างไรก็ดีหลายประเทศก็ประกาศแข่งขันที่จะเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ภายในปี 2563 นี้
หลายคนอาจสงสัยว่าไปดวงจันทร์ทำไมเพราะมีแต่ความแห้งแล้ง แต่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วดวงจันทร์มีแร่ธาตุต่างๆ มากมาย ซึ่งต่อไปอาจจะมีการทำเหมืองแร่อยู่ดวงจันทร์เต็มไปหมด เหมือนอะลาสกาที่รัสเซียขายให้สหรัฐฯ ในราคาถูกแต่เมื่อขุดเจอน้ำมันก็สร้างรายได้มหาศาล ขณะเดียวกันก็จะมีการตั้งสถานีบนดวงจันทร์เพื่อเป็นจุดวิ่งไปยังดาวอังคาร และการท่องเที่ยวอวกาศก็จะเป็นธุรกิจและถูกลง ที่สำคัญอวกาศเป็นแหล่งเทคโนโลยีใหม่ ถ้าเทคโนโลยีที่ใช้ในอวกาศได้ก็นำมาใช้บนโลกได้ง่ายเพราะผ่านการใช้ในสภาพแวดล้อมที่ยากมาก
สำหรับไทยก็จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านั้น เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมซึ่งเมื่อก่อนเราซื้อสัญญาณดาวเทียมของอินโดนีเซียต่อมารัฐบาลก็เห็นความจำเป็นของการมีดาวเทียมสื่อสารก็ทำให้หลายคนรวยจากธุรกิจนี้ไป เทคโนโลยีสำรวจระยะไกลของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรซึ่งเราก็ซื้อภาพถ่ายดาวเทียมมาพอสมควร และกำลังซื้อดาวเทียมเป็นของเราเอง ส่วนจะคุ้มหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนเรื่องการสำรวจอวกาศนั้นไทยไม่แตะตรงนี้เลยนอกจากฟังข่าวความสำเร็จของประเทศอื่นๆ
หากไทยจะพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศนั้น ในแง่เศรษฐกิจเราควรจะเริ่มจากเทคโนโลยีขนาดเล็ก และเกาะประเทศที่เขาเจริญแล้วพัฒนาเทคโนโลยีโดยไม่ต้องเลียนแบบแต่ต่อยอดจากเขาซึ่งทำให้เราไม่ต้องเริ่มใหม่ อย่างที่ญี่ปุ่นใช้เงินมหาศาลกระตุ้นให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องอวกาศ เราก็เข้าไปร่วมโครงการกับเขาโดยที่ไม่ต้องลงทุนใหม่ ซึ่ง 3 สิ่งที่จะกระตุ้นให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ได้คืออวกาศ หุ่นยนต์ และไดโนเสาร์ ทั้งนี้อยากให้มองว่าอวกาศก็เป็นแค่สถานที่ "ไปยาก-กลับยาก" เหมือนกับขั้วโลกใต้หรือที่อื่นๆ ในโลกเท่านั้นเอง

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
อดีตนักวิจัยองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา)
การที่รัสเซีย (สหภาพโซเวียต) ส่งสปุตนิกไปในครั้งนั้นเป็นการกระตุ้นทุกอย่าง และทำให้สหรัฐฯ กังวลเพราะรัสเซียได้ชื่อเสียง และเพื่อเอาชนะคืนสหรัฐฯ จึงได้ตั้งองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) จึงเกิดการแข่งขันและทำให้มีโครงการอวกาศเกิดมากขึ้น เมื่อรัสเซียเลิกแข่งทางสหรัฐฯ ก็พัฒนาช้าลง แต่ก็กลับมามีคู่แข่งเมื่อสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีนและอินเดียพยายามแข่งขัน โดยตอนหลังเป็นการแข่งขันเพื่อการค้ามากกว่าเพื่อชื่อเสียง ส่วนไทยจะส่งดาวเทียมก็จ้างให้เขาส่งให้
ทั้งนี้ไทยสามารถผลิตดาวเทียมเองได้แต่นำส่งไม่ได้ หากไทยคิดจะแข่งขันในการส่งยาน ผลิตจรวด คงไม่เหมาะเพราะลงทุนมหาศาล และการจะมีสถานีส่งยานไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องลงทุนมาก แต่อีก 20 ปี จะมีสถานีอวกาศจำนวนมกาและจะมีเมืองในอวกาศ หากจะทำเราควรมุ่งไปที่การพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศจะดีกว่า เพราะไทยมีศักยภาพที่จะพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ได้ โดยโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 4x11 กิโลเมตรก็ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอกับความต้องการของไทย โดยระบบนำส่งกระแสไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้าในอวกาศก็ใช้คลื่นไมโครเวฟซึ่งเมืองไทยก็มีคนพัฒนาทางด้านนี้อยู่

ดร.ธวัช วิรัตติพงศ์
ผู้บริหารโครงการออกแบบประกอบและติดตั้งเครื่องรับสัญญาณอวกาศจากนอกโลก
ห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน (Jet Propulsion Laboratory: JPL) องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา)
หลังรัสเซียส่งดาวเทียมสปุตนิกเป็นจุดเริ่มต้นแข่งขันด้านอวกาศระหว่างกลุ่มพันธมิตรซึ่งมีอเมริกาเป็นหลักและค่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งมีรัสเซียเป็นหลัก อเมริการู้สึกเสียหน้าและตกใจมากที่รัสเซียตัดหน้าส่งดาวเทียมขึ้นไปก่อน การแข่งขันเป็นไปอย่างเข้มข้นทำให้ความก้าวหน้าทางด้านอวกาศเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก มีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตคนทั่วโลก เหตุการณ์สำคัญที่สร้างความตื่นเต้นต่อมนุษย์ชาติที่ผมจำได้มีอยู่ 3-4 เรื่อง คือการสำรวจอวกาศแบบมีคนและไม่มีคนขึ้นไปด้วย การเหยียบผิวดวงจันทร์โดย นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) และ เอ็ดวิน อัลดริน (Edwin Aldrin) การส่งยานไวกิง (Viking) ไปร่อนลงดาวอังคารและถ่ายทอดภาพสดกลับมา
ปัจจุบันก็ได้ส่งยานสำรวจดาวอังคาร 2 ลำคือสปิริต (Spirit) และออพพอร์จูนิตี (Opportunity) ที่ตลกคือคิดกันว่ายานทั้งสองจะมีอายุใช้งานแค่ 3-4 เดือน แต่ 3 ปีแล้วยังใช้งานได้ดีอยู่ การสำรวจอวกาศมีอีกมากมายจนไม่อาจกล่าวได้หมดแต่ที่ชาวโลกให้ความสนใจเป็นพิเศษคือโครงการดีพ อิมแพค (Deep Impact) ที่ส่งยานลูกพุ่งชนดาวหางเทมเปล 1 (Tempel 1) เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2548 ถือเป็นการจุดพลุในอวกาศฉลองวันชาติอเมริกันด้วย
อีกเรื่องคนถือเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วคือระบบโทรคมนาคมที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ก็ส่งผ่านดาวเทียมสื่อสารเกือบทั้งหมด ทั้งโทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ตและการส่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ดาวเทียมค้างฟ้าขนาดใหญ่ทำให้เราติดต่อกันได้ทันทีไม่ว่าอยู่จุดใดในโลก ยกเว้นบริเวณใกล้ขั้วโลก สิ่งนี้ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ชาติแตกต่างจาก 40-50 ปีก่อนอย่างมหาศาล
นอกจากนี้ยังมีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่และความปลอดภัยของพวกเราชาวโลก ช่วง 50 ปีที่ผ่านมาการพัฒนาดาวเทียมสำรวจก้าวหน้าไปมาก ทั้งปริมาณข้อมูล ความเร็วในการส่งและการวิเคราะห์ข้อมูล ปริมาณคลื่นความถี่และความละเอียดของภาพ จนถึงปัจจุบันมีดาวเทียมหลายขนาดหลายคลื่นความถี่ บางแบบมีรายละเอียดความคมชัดของภาพถึง 60 เซนติเมตร ส่วนดาวเทียมจารกรรมของทหารยิ่งมีความละเอียดมากขึ้นไปอีก
ส่วนก้าวหน้าทางด้านอวกาศของไทยในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมาพอใช้ได้ แต่ยังไปมุ่งเน้นเฉพาะดาวเทียมแบบใช้กล้องถ่ายภาพซึ่งมีปัญหามากเพราะไม่เหมาะกับประเทศไทยที่มีเมฆมากและในช่วงกลางคืนก็ถ่ายภาพไม่ได้ เพราะปัญหานี้ทั่วโลกถึงได้เริ่มหันมาศึกษาและใช้ดาวเทียมเรดาร์มากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เรื่องนี้เพื่อนบ้านบางประเทศในเอเซียก้าวไปไกลพอควร ส่วนเรื่องการจัดซื้อดาวเทียมธีออส (THEOS) ของไทยราคาเกือบ 7 พันล้านบาทบวกค่าดำเนินการอีกนั้น ผมไม่มีความเห็นเพิ่มเติมในตอนนี้เพราะได้พูดมามากแล้วตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ
อีก 50 ปีต่อไปถ้าโลกเราไม่โดนอุกกาบาตขนาดใหญ่ชน ไม่เกิดน้ำท่วมโลกบ้าง ไม่เกิดระเบิดของภูเขาไฟขนาดยักษ์ หรือไม่เกิดโรคระบาดที่ป้องกันและรักษาไม่ทันเสียก่อน เทคโนโลยีอวกาศต้องเจริญไปอย่างมาก ส่วนแค่ไหนนั้นผมเองก็คาดไม่ถูก
แต่ในช่วงอีก 10-30 ปีนี้เทคโนโลยีอวกาศจะก้าวหน้าควบคู่ไปกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์ คอมพิวเตอร์ โลหวิทยา โทรคมนาคม ระบบขับเคลื่อนยานอวกาศ ระบบนำร่อง ระบบเซ็นเซอร์และอื่นๆ โดยผลิตผลจากนาโนเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้ความก้าวหน้าด้านอวกาศก้าวกระโดดอย่างที่เราไม่คาดคิดมาก่อน ดาวเทียมและยานอวกาศจะเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพขึ้นหลายพันเท่า เพราะระบบคอมพิวเตอร์คงมีขนาดเล็กจนใส่ในดาวเทียมขนาดเล็กได้ ส่วนยานอวกาศจะคิดเองได้และทำงานแบบอัตโนมัติ
ส่วนการสำรวจอวกาศสหรัฐฯ มีแผนส่งคนไปอยู่ระยะยาวบนดวงจันทร์ในปี 2606 จากนั้นจะส่งคนไปอยู่ระยะยาวบนดาวอังคารซึ่งตอนนี้ได้เริ่มงานบ้างแล้ว โดยส่งยานโคจรรอบดวงจันทร์และดาวอังคารเพื่อเก็บข้อมูล ส่งยานขับเคลื่อนแบบไม่มีคนไปลงดาวอังคาร และเดือน ก.ย.2552 ก็จะส่งยานเอ็มเอสแอล (Mars Science Laboratory: MSL) ไปดาวอังคารอีก
การสำรวจอวกาศในอนาคตคงจะมีการแข่งขันกันอย่างสนุกครึกครื้นแน่ เพราะยุโรป ญี่ปุ่น จีนและแม้แต่อินเดียก็มีแผนที่จะส่งคนไปลงที่ดวงจันทร์หรือดาวอังคารเช่นกัน ใครจะไปรู้วันดีคืนดีจีนอาจจะส่งคนไปลงดาวอังคารก่อนอเมริกาก็ได้
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือการท่องเที่ยวอวกาศคงกลายเป็นเรื่องธรรมดาใน 40-50 ปีข้างหน้า โดยอาจเริ่มด้วยการท่องอวกาศรอบโลกก่อน จากนั้นคงขยับไปท่องเที่ยวบนดวงจันทร์และดาวอังคารต่อไป ผมพูดกับภรรยาและเพื่อน ๆ เสมอว่า เราต้องรักษาสุขภาพให้ดีและมีอายุยืนๆ ซึ่งอนาคตจะได้มีโอกาสเห็นหรือทำอะไรดีๆ ที่เรานึกไม่ถึงมาก่อน
...ผ่านไป 50 ปีร่องรอยความตื่นเต้นของการออกไปตะลุยอวกาศอาจจะเจือจางไปบ้าง หากแต่การแข่งขันด้านการค้าบนพื้นฐานของเทคโนโลยีอวกาศ กลับทวีความเข้มข้น แม้ไม่รู้สึกแต่เราก็สัมผัสได้ถึงความสะดวกสบายจากเครื่องไม้-เครื่องมือที่เราส่งออกไปเป็นหู-เป็นตานอกโลก ส่วนเราจะทิ้งดาวเคราะห์สีน้ำเงินอันแสนอบอุ่นเพื่อไปแสวงหาดาวดวงใหม่หรือไม่นั้น หลายคนคงมีคำตอบอยู่ในใจ...
ทั้งนี้ เหล่าผู้อาวุโสในแวดวงวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทยพร้อมถ่ายทอดว่า...เทคโนโลยีอวกาศในรอบ 50 ปีเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง? และ ไทยอยู่ตรงไหนของการเปลี่ยนแปลงนั้น?
ราชบัณฑิตสาขาดาราศาสตร์,
อดีตอาจารย์ด้านดาราศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก่อนยุคอวกาศนั้นแรงดึงดูดของโลกจะโดนดึงให้วัตถุตกลงสู่พื้นทั้งหมด ส่วนเครื่องบินนั้นบินได้เพราะอาศัยอากาศและใบพัดในการเหินแต่เคลื่อนที่ออกจากโลกไม่ได้ การส่งยานอวกาศจึงต้องอาศัยเครื่องยนต์แบบจรวดที่พ่นเชื้อเพลิงออกด้านล่างแล้วพุ่งไปข้างบน คล้าย "บั้งไฟ" ของไทยแต่บั้งไฟอาศัยเพียงเชื้อเพลิงดินปืนเมื่อหมดก็ลงบนพื้นโลก สำหรับจรวดสมัยนั้นใช้เชื้อเพลิงแข็งและเชื้อเพลิงเหลวซึ่งต้องใช้เวลาพัฒนาอยู่พักหนึ่ง โดยในช่วงสงครามโลกเยอรมนีได้สร้างจรวดโดยใช้เชื้อเพลิงเหลว แต่หลังจากเยอรมนีแพ้สงครามสหรัฐอเมริกาก็นำมาพัฒนาเพื่อใช้ในด้านอวกาศ
ต่อมาในปี 2500 เป็นปีธรณีฟิสิกส์สากล นักดาราศาสตร์นานาชาติตั้งเป้าหมายร่วมทำวิจัยเกี่ยวกับโลก โดยสหรัฐฯ ตั้งเป้าส่งคนไปโคจรรอบโลกแต่ล่าช้ากว่าสหภาพโซเวียตที่ส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ในปีดังกล่าวซึ่งนับเป็นการบุกเบิกยุคอวกาศของมนุษย์ และได้ส่งปุตนิก 2 หลังจากนั้นไม่ถึงเดือน พร้อมนำสุนัขชื่อ "ไลกา" ขึ้นไปด้วยแต่ตายในดาวเทียมและเมื่อกลับเข้าสู่โลกก็ถูกเผาไหม้จนแทบไม่เหลือ
สหรัฐฯ ถือว่าตามหลังสหภาพโซเวียตแต่ก็ส่งยานเอกซ์โพลเรอร์ 1 (Explorer 1) ขึ้นไปและค้นพบแถบรังสีแวน อัลเลน (Van Allen Belt) ที่ห่อหุ้มโลกด้วยอนุภาคไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบโลก ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีใครรู้ จากนั้นได้ส่งดาวเทียมแวนการ์ด 1 (Vanguard 1) ทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้วโลกไม่ได้มีสัณฐานกลม แต่เหมือนลูกแพร์ที่ด้านหนึ่งป้านและอีกด้านแหลมหน่อย ซึ่งหลังจากนั้นก็พอประมวลรวมๆ ได้ว่าเราได้ส่งมนุษย์หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นสู่อวกาศอีกมากมาย
จุดประสงค์ของโครงการอวกาศทั้งหมดเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับโลกแล้วใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างดาวเทียมค้างฟ้าที่ทำให้เคลื่อนที่สอดคล้องกับโลกก็นำไปใช้ประโยชน์ในการส่งสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น และต่อไปดวงอาทิตย์และบริวารทั้งดาวพุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดีและดวงอื่นๆ จะได้รับการสำรวจมากขึ้น รวมทั้งการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกซึ่งน่าแปลกใจว่าแม้เราจะพบร่องรอยของน้ำหรือคาร์บอนไดออกไซด์แข็งแต่ก็ยังไม่พบเลย
ส่วนการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับโครงการอวกาศก็มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ การสื่อสารแบบดิจิตอล การวิเคราะห์ข้อมูลวิทยุ เหล่านี้เป็นผลสะท้อนไปมาระหว่างเทคโนโลยีบนผิวโลกและเทคโนโลยีอวกาศ ขณะเดียวกันก็มีหอดูดาวบนอวกาศที่ลอยเป็นบริวารของโลกโดยไม่ต้องควบคุมและสามารถส่งสัญญาณที่ขยายขอบเขตการสำรวจของมนุษย์ออกไปสุดขอบจักรวาลกลับมายังโลกได้ทีเดียว
ราชบัณฑิตสาขาดาราศาสตร์,
กรรมการที่ปรึกษาสมาคมดาราศาสตร์ไทย,
วิทยากรประจำศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นการส่งยานอวกาศออกนอกโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก โดยสหภาพโซเวียตถือว่าอยู่เหนือคู่แข่งอย่างสหรัฐอเมริกา และเป็นการขยายแวดวงความสนใจด้านอวกาศให้กับทุกประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย ผมเองก็ตื่นเต้นมาก ด้านสหรัฐฯ ก็พยายามแข่งขันให้ทันรัสเซียแล้วก็สำเร็จในการส่งยานเอกซ์โพลเรอร์ตามมา ซึ่งก่อนหน้านั้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะไปนอกโลกก็มีการพัฒนามานานแล้ว แต่ติดขัดตรงที่ไม่สามารถพัฒนาจรวดกำลังส่งสูงที่ส่งยานอวกาศออกนอกโลกได้เท่านั้น
จากครั้งนั้นก็พบว่าหลายประเทศก็มีความตื่นตัวด้านการเผยแพร่ความรู้ด้านดาราศาสตร์แก่ประชาชนของตัวเองมาก ดังที่มีการสร้างท้องฟ้าจำลองจำนวนมากในอเมริกาและยุโรป ซึ่งหลังการปล่อยยานสปุตนิก 1 ไทยก็มีการก่อตั้งท้องฟ้าจำลองในปี 2507 เช่นกัน จากนั้นเทคโนโลยีอวกาศก็ได้รับการพัฒนาไปมาก ตลอดจนมีความพยายามส่งยานไปสำรวจนอกโลกของเรา อาทิ ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ พร้อมๆ กับการเกิดองค์การอวกาศในประเทศต่างๆ ทั่วโลกตามอย่างองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) และองค์การอวกาศของรัสเซีย เช่น องค์การบริหารอวกาศของสหภาพยุโรป (ESA: อีซา) องค์การอวกาศของจีน อินเดีย และญี่ปุ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขาชีวเคมีปี 2527
ตอนนั้นผมอายุ 13 ปีก็ตื่นเต้นมากที่คนเราสามารถส่งยานอวกาศไปนอกโลกได้ และที่น่าประหลาดใจอีกจุดหนึ่งคือการที่สหภาพโซเวียตเอาชนะสหรัฐอเมริกาได้ อย่างไรก็ดี 50 ปีหลังการปล่อยยานสปุตนิก 1 ก็ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร คือระบบการขนส่งอวกาศยังไม่ดีนัก แต่ก็ยอมรับว่าเทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าไปมากมายดีกว่าที่กล่าวถึงในภาพยนตร์เรื่อง 2001: Odyssey ด้วยซ้ำ และการส่งมนุษย์ไปนอกโลกคงสำคัญน้อยลงเพราะเราส่งเครื่องมือไปแทนได้ ด้านสหรัฐฯ นั้น จอร์จ ดับเบิลยู บุช (Gorge W. Bush) ก็มีนโยบายฟื้นฟูภารกิจด้านอวกาศใหม่ โดยตั้งเป้าเดินทางไปดาวอังคารและใช้ดวงจันทร์เป็นฐาน แล้วต่อไปจะแข่งกันอ้างสิทธิ์บนดวงดาวต่างๆ เป็นพื้นที่นอกโลก
สำหรับไทยก็ต้องติดตามเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์แก่ประเทศ ส่วนการไปสำรวจอวกาศและทำวิจัยนอกโลกนั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศในเวลานี้ แต่เป็นเรื่องดีหากจะมีความร่วมมือกับนานาชาติ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พยายามร่วมงานกับประเทศที่มีความสามารถด้านอวกาศสูงกว่าอย่างจีนและญี่ปุ่นเพื่อร่วมส่งคนไทยไปนอกโลกบ้าง เชื่อว่าอีก 50 ปีข้างหน้าจะส่งคนไปดาวอังคารได้แล้ว โดยสร้างสถานีบนดวงจันทร์ก่อนและอาจสร้างอาณานิคมบนดาวอังคารทีเดียว การเดินทางนอกโลกจะเป็นเรื่องธรรมดาเหมือนโดยสารเครื่องบินที่เคยคิดว่าเพ้อฝัน แต่ไทยก็อยู่ในฐานะผู้ใช้งานมากกว่าเหมือนเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ไทยไม่ได้พัฒนาเอง แต่เราเป็นฐานซ่อมบำรุงในอนาคตได้ โดยมีข้อได้เปรียบด้านแรงงานราคาถูกอีกต่อหนึ่งด้วย
นักวิชาการประจำศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ)
การเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ คือมีเทคโนโลยีสื่อสารก้าวหน้าขึ้น โดยครั้งนนั้นยานสปุตนิก 1 มีเสาอากาศส่งสัญญาณวิทยุได้ ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศนั้นนับว่าสหภาพโซเวียตนำหน้าไปมากโดยสามารถส่งสุนัขและคนออกไปโคจรรอบโลกและส่งยานไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจไม่ดีทำให้ไม่สามารถพัฒนายานไปลงจอดบนดวงจันทร์ได้ ขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งถูกนำมาทุกก้าวก็ได้พยายามส่งคนไปยังดวงจันทร์เพื่อกู้หน้าคืน แต่กว่าจะประสบความสำเร็จในภารกิจอพอลโล 11 (Apollo 11) ก็ต้องล้มเหลวหลายครั้ง อย่างกรณียานอพอลโล 1 ระเบิดจนลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด และภารกิจอวกาศสหรัฐฯ ก็หยุดเป็นช่วงๆ ส่วนหนึ่งเพราะอุบัติเหตุหลายครั้ง อย่างการระเบิดของกระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Columbia) และชาเลนเจอร์ (Challenger) ซึ่งทำให้คนอเมริกันเสียขวัญไปพักใหญ่
ทั้งนี้หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตทิศทางเทคโนโลยีอวกาศของโลกก็เปลี่ยนไป โดยมุ่งไปที่ความร่วมมือกันและสร้างเครือข่ายด้านอวกาศมากขึ้นเรื่อยๆ อาทิ ความร่วมมือระหว่างสหรัฐและรัสเซียในภารกิจอพอลโล -โซยุต องค์การอวกาศแห่งยุโรป (ESA) และความร่วมมือในการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ในเวลาไล่เลี่ยกับที่สถานีอวกาศมีร์ (MIR) ของรัสเซียปลดระวาง
อดีตนักวิจัยองค์การบริการการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา),
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
รัสเซีย (สหภาพโซเวียต) ส่งสปุตนิกขึ้นไปในอวกาศและส่งสัญญาณ "บี๊บๆ" กลับมาก็เหมือนเด็กๆ ที่ออกไปเล่นนอกบ้านแล้วตะโกน "ฮัลโหลๆ" กลับมา ก่อนหน้านั้นเราอยู่บนพื้นโลกที่แบนราบและไม่เคยขึ้นสู่ที่สูงเลย เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน จากนั้นมาก็มีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้มีการใช้ประโยชน์ 3 ด้านคือ การสื่อสาร การถ่ายภาพจากดาวเทียม และการสำรวจอวกาศ โดยการสื่อสารนั้นทำให้เราโทรศัพทืได้ไกลขึ้นโดยไม่ต้องเดินสายโทรศัพท์ให้วุ่นวาย ส่วนภาพถ่ายดาวเทียมก็ทำให้เราค้นพบเมืองโบราณหลายแห่งที่หายไป ทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งสหรัฐฯ อาจจะทราบว่าไทยมีทรัพยากรอะไรบ้างโดยที่เราไม่รู้ ขณะที่การแข่งขันสำรวจอวกาศนั้นเป็นการแข่งขันเพื่อเอาหน้าจึงไม่มีความต่อเนื่องตรงนั้น อย่างไรก็ดีหลายประเทศก็ประกาศแข่งขันที่จะเหยียบดวงจันทร์ให้ได้ภายในปี 2563 นี้
หลายคนอาจสงสัยว่าไปดวงจันทร์ทำไมเพราะมีแต่ความแห้งแล้ง แต่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วดวงจันทร์มีแร่ธาตุต่างๆ มากมาย ซึ่งต่อไปอาจจะมีการทำเหมืองแร่อยู่ดวงจันทร์เต็มไปหมด เหมือนอะลาสกาที่รัสเซียขายให้สหรัฐฯ ในราคาถูกแต่เมื่อขุดเจอน้ำมันก็สร้างรายได้มหาศาล ขณะเดียวกันก็จะมีการตั้งสถานีบนดวงจันทร์เพื่อเป็นจุดวิ่งไปยังดาวอังคาร และการท่องเที่ยวอวกาศก็จะเป็นธุรกิจและถูกลง ที่สำคัญอวกาศเป็นแหล่งเทคโนโลยีใหม่ ถ้าเทคโนโลยีที่ใช้ในอวกาศได้ก็นำมาใช้บนโลกได้ง่ายเพราะผ่านการใช้ในสภาพแวดล้อมที่ยากมาก
สำหรับไทยก็จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านั้น เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมซึ่งเมื่อก่อนเราซื้อสัญญาณดาวเทียมของอินโดนีเซียต่อมารัฐบาลก็เห็นความจำเป็นของการมีดาวเทียมสื่อสารก็ทำให้หลายคนรวยจากธุรกิจนี้ไป เทคโนโลยีสำรวจระยะไกลของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรซึ่งเราก็ซื้อภาพถ่ายดาวเทียมมาพอสมควร และกำลังซื้อดาวเทียมเป็นของเราเอง ส่วนจะคุ้มหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนเรื่องการสำรวจอวกาศนั้นไทยไม่แตะตรงนี้เลยนอกจากฟังข่าวความสำเร็จของประเทศอื่นๆ
หากไทยจะพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศนั้น ในแง่เศรษฐกิจเราควรจะเริ่มจากเทคโนโลยีขนาดเล็ก และเกาะประเทศที่เขาเจริญแล้วพัฒนาเทคโนโลยีโดยไม่ต้องเลียนแบบแต่ต่อยอดจากเขาซึ่งทำให้เราไม่ต้องเริ่มใหม่ อย่างที่ญี่ปุ่นใช้เงินมหาศาลกระตุ้นให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องอวกาศ เราก็เข้าไปร่วมโครงการกับเขาโดยที่ไม่ต้องลงทุนใหม่ ซึ่ง 3 สิ่งที่จะกระตุ้นให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ได้คืออวกาศ หุ่นยนต์ และไดโนเสาร์ ทั้งนี้อยากให้มองว่าอวกาศก็เป็นแค่สถานที่ "ไปยาก-กลับยาก" เหมือนกับขั้วโลกใต้หรือที่อื่นๆ ในโลกเท่านั้นเอง
อดีตนักวิจัยองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา)
การที่รัสเซีย (สหภาพโซเวียต) ส่งสปุตนิกไปในครั้งนั้นเป็นการกระตุ้นทุกอย่าง และทำให้สหรัฐฯ กังวลเพราะรัสเซียได้ชื่อเสียง และเพื่อเอาชนะคืนสหรัฐฯ จึงได้ตั้งองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) จึงเกิดการแข่งขันและทำให้มีโครงการอวกาศเกิดมากขึ้น เมื่อรัสเซียเลิกแข่งทางสหรัฐฯ ก็พัฒนาช้าลง แต่ก็กลับมามีคู่แข่งเมื่อสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีนและอินเดียพยายามแข่งขัน โดยตอนหลังเป็นการแข่งขันเพื่อการค้ามากกว่าเพื่อชื่อเสียง ส่วนไทยจะส่งดาวเทียมก็จ้างให้เขาส่งให้
ทั้งนี้ไทยสามารถผลิตดาวเทียมเองได้แต่นำส่งไม่ได้ หากไทยคิดจะแข่งขันในการส่งยาน ผลิตจรวด คงไม่เหมาะเพราะลงทุนมหาศาล และการจะมีสถานีส่งยานไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องลงทุนมาก แต่อีก 20 ปี จะมีสถานีอวกาศจำนวนมกาและจะมีเมืองในอวกาศ หากจะทำเราควรมุ่งไปที่การพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศจะดีกว่า เพราะไทยมีศักยภาพที่จะพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ได้ โดยโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 4x11 กิโลเมตรก็ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอกับความต้องการของไทย โดยระบบนำส่งกระแสไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้าในอวกาศก็ใช้คลื่นไมโครเวฟซึ่งเมืองไทยก็มีคนพัฒนาทางด้านนี้อยู่
ผู้บริหารโครงการออกแบบประกอบและติดตั้งเครื่องรับสัญญาณอวกาศจากนอกโลก
ห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน (Jet Propulsion Laboratory: JPL) องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา)
หลังรัสเซียส่งดาวเทียมสปุตนิกเป็นจุดเริ่มต้นแข่งขันด้านอวกาศระหว่างกลุ่มพันธมิตรซึ่งมีอเมริกาเป็นหลักและค่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งมีรัสเซียเป็นหลัก อเมริการู้สึกเสียหน้าและตกใจมากที่รัสเซียตัดหน้าส่งดาวเทียมขึ้นไปก่อน การแข่งขันเป็นไปอย่างเข้มข้นทำให้ความก้าวหน้าทางด้านอวกาศเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก มีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตคนทั่วโลก เหตุการณ์สำคัญที่สร้างความตื่นเต้นต่อมนุษย์ชาติที่ผมจำได้มีอยู่ 3-4 เรื่อง คือการสำรวจอวกาศแบบมีคนและไม่มีคนขึ้นไปด้วย การเหยียบผิวดวงจันทร์โดย นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) และ เอ็ดวิน อัลดริน (Edwin Aldrin) การส่งยานไวกิง (Viking) ไปร่อนลงดาวอังคารและถ่ายทอดภาพสดกลับมา
ปัจจุบันก็ได้ส่งยานสำรวจดาวอังคาร 2 ลำคือสปิริต (Spirit) และออพพอร์จูนิตี (Opportunity) ที่ตลกคือคิดกันว่ายานทั้งสองจะมีอายุใช้งานแค่ 3-4 เดือน แต่ 3 ปีแล้วยังใช้งานได้ดีอยู่ การสำรวจอวกาศมีอีกมากมายจนไม่อาจกล่าวได้หมดแต่ที่ชาวโลกให้ความสนใจเป็นพิเศษคือโครงการดีพ อิมแพค (Deep Impact) ที่ส่งยานลูกพุ่งชนดาวหางเทมเปล 1 (Tempel 1) เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2548 ถือเป็นการจุดพลุในอวกาศฉลองวันชาติอเมริกันด้วย
อีกเรื่องคนถือเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วคือระบบโทรคมนาคมที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ก็ส่งผ่านดาวเทียมสื่อสารเกือบทั้งหมด ทั้งโทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ตและการส่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ดาวเทียมค้างฟ้าขนาดใหญ่ทำให้เราติดต่อกันได้ทันทีไม่ว่าอยู่จุดใดในโลก ยกเว้นบริเวณใกล้ขั้วโลก สิ่งนี้ทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ชาติแตกต่างจาก 40-50 ปีก่อนอย่างมหาศาล
นอกจากนี้ยังมีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่และความปลอดภัยของพวกเราชาวโลก ช่วง 50 ปีที่ผ่านมาการพัฒนาดาวเทียมสำรวจก้าวหน้าไปมาก ทั้งปริมาณข้อมูล ความเร็วในการส่งและการวิเคราะห์ข้อมูล ปริมาณคลื่นความถี่และความละเอียดของภาพ จนถึงปัจจุบันมีดาวเทียมหลายขนาดหลายคลื่นความถี่ บางแบบมีรายละเอียดความคมชัดของภาพถึง 60 เซนติเมตร ส่วนดาวเทียมจารกรรมของทหารยิ่งมีความละเอียดมากขึ้นไปอีก
ส่วนก้าวหน้าทางด้านอวกาศของไทยในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมาพอใช้ได้ แต่ยังไปมุ่งเน้นเฉพาะดาวเทียมแบบใช้กล้องถ่ายภาพซึ่งมีปัญหามากเพราะไม่เหมาะกับประเทศไทยที่มีเมฆมากและในช่วงกลางคืนก็ถ่ายภาพไม่ได้ เพราะปัญหานี้ทั่วโลกถึงได้เริ่มหันมาศึกษาและใช้ดาวเทียมเรดาร์มากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เรื่องนี้เพื่อนบ้านบางประเทศในเอเซียก้าวไปไกลพอควร ส่วนเรื่องการจัดซื้อดาวเทียมธีออส (THEOS) ของไทยราคาเกือบ 7 พันล้านบาทบวกค่าดำเนินการอีกนั้น ผมไม่มีความเห็นเพิ่มเติมในตอนนี้เพราะได้พูดมามากแล้วตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ
อีก 50 ปีต่อไปถ้าโลกเราไม่โดนอุกกาบาตขนาดใหญ่ชน ไม่เกิดน้ำท่วมโลกบ้าง ไม่เกิดระเบิดของภูเขาไฟขนาดยักษ์ หรือไม่เกิดโรคระบาดที่ป้องกันและรักษาไม่ทันเสียก่อน เทคโนโลยีอวกาศต้องเจริญไปอย่างมาก ส่วนแค่ไหนนั้นผมเองก็คาดไม่ถูก
แต่ในช่วงอีก 10-30 ปีนี้เทคโนโลยีอวกาศจะก้าวหน้าควบคู่ไปกับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์ คอมพิวเตอร์ โลหวิทยา โทรคมนาคม ระบบขับเคลื่อนยานอวกาศ ระบบนำร่อง ระบบเซ็นเซอร์และอื่นๆ โดยผลิตผลจากนาโนเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้ความก้าวหน้าด้านอวกาศก้าวกระโดดอย่างที่เราไม่คาดคิดมาก่อน ดาวเทียมและยานอวกาศจะเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพขึ้นหลายพันเท่า เพราะระบบคอมพิวเตอร์คงมีขนาดเล็กจนใส่ในดาวเทียมขนาดเล็กได้ ส่วนยานอวกาศจะคิดเองได้และทำงานแบบอัตโนมัติ
ส่วนการสำรวจอวกาศสหรัฐฯ มีแผนส่งคนไปอยู่ระยะยาวบนดวงจันทร์ในปี 2606 จากนั้นจะส่งคนไปอยู่ระยะยาวบนดาวอังคารซึ่งตอนนี้ได้เริ่มงานบ้างแล้ว โดยส่งยานโคจรรอบดวงจันทร์และดาวอังคารเพื่อเก็บข้อมูล ส่งยานขับเคลื่อนแบบไม่มีคนไปลงดาวอังคาร และเดือน ก.ย.2552 ก็จะส่งยานเอ็มเอสแอล (Mars Science Laboratory: MSL) ไปดาวอังคารอีก
การสำรวจอวกาศในอนาคตคงจะมีการแข่งขันกันอย่างสนุกครึกครื้นแน่ เพราะยุโรป ญี่ปุ่น จีนและแม้แต่อินเดียก็มีแผนที่จะส่งคนไปลงที่ดวงจันทร์หรือดาวอังคารเช่นกัน ใครจะไปรู้วันดีคืนดีจีนอาจจะส่งคนไปลงดาวอังคารก่อนอเมริกาก็ได้
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือการท่องเที่ยวอวกาศคงกลายเป็นเรื่องธรรมดาใน 40-50 ปีข้างหน้า โดยอาจเริ่มด้วยการท่องอวกาศรอบโลกก่อน จากนั้นคงขยับไปท่องเที่ยวบนดวงจันทร์และดาวอังคารต่อไป ผมพูดกับภรรยาและเพื่อน ๆ เสมอว่า เราต้องรักษาสุขภาพให้ดีและมีอายุยืนๆ ซึ่งอนาคตจะได้มีโอกาสเห็นหรือทำอะไรดีๆ ที่เรานึกไม่ถึงมาก่อน
...ผ่านไป 50 ปีร่องรอยความตื่นเต้นของการออกไปตะลุยอวกาศอาจจะเจือจางไปบ้าง หากแต่การแข่งขันด้านการค้าบนพื้นฐานของเทคโนโลยีอวกาศ กลับทวีความเข้มข้น แม้ไม่รู้สึกแต่เราก็สัมผัสได้ถึงความสะดวกสบายจากเครื่องไม้-เครื่องมือที่เราส่งออกไปเป็นหู-เป็นตานอกโลก ส่วนเราจะทิ้งดาวเคราะห์สีน้ำเงินอันแสนอบอุ่นเพื่อไปแสวงหาดาวดวงใหม่หรือไม่นั้น หลายคนคงมีคำตอบอยู่ในใจ...