xs
xsm
sm
md
lg

10 สุดยอดไซ-ไฟอวกาศ แนะนำโดย “ชัยคุปต์”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงอวกาศ อันเป็นสุดยอดที่ เจ้าของนามปากกา “ชัยคุปต์” แนะนำ สำหรับมือใหม่และนักอ่านที่น่าเก็บสะสมไว้ คือ
2001 :A Space Odyssey




อันดับ 1 “จอมจักรวาล” (2001 :A Space Odyssey) ของอาร์เธอร์ ซี.คลาร์ก (Arthur C. Clarke) ในปี พ.ศ.2511 ที่ต้องยอมรับว่าเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในระดับสุดยอดในระดับโลกต่างยอมรับให้เป็นอันดับ 1 โดยไม่ต้องสงสัย
สถาบันสถาปนา




อันดับ 2 “สถาบันสถาปนา (Foundation) ของไอแซก อาซิมอฟ (Isaac Asimov) ในปี พ.ศ.2503 ที่กล่าวถึงการตั้งรกรากของมนุษย์บนดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลก ปัจจุบันยังไม่มีใครนำไปสร้างหนังเพราะเรื่องราวสลับซับซ้อนมาก
contact




อันดับ 3 “คอนแทก” (Contact) ของคาร์ล ซาเกน (Carl Sagan) ในปี พ.ศ.2528 เป็นนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องแรกและเรื่องเดียวของซาเกน ซึ่งเขาก็ทำออกมาได้ดีมากๆ (อ่าน : “คอนแทก” ไซ-ไฟในดวงใจแห่งทศวรรษ)
เดอะ ฟอร์เอฟเวอร์ วอร์




อันดับ 4 “เดอะ ฟอร์เอฟเวอร์ วอร์” (The Forever War) ของ โจ ฮาร์เดแมน (Joe Haldeman) ในปี พ.ศ.2519
ลอร์ด ออฟ ไลท์




อันดับ 5 “ลอร์ด ออฟ ไลท์” (Lord of Light) โดยโรเจอร์ เซลาซนี (Roger Zelazny) ในปี พ.ศ.2510
มังกี แพลนเน็ต




อันดับ 6 “มังกี แพลนเน็ต” (Monkey Planet) โดยปีแอร์ บูเล (Pierre Boulle) ในปี พ.ศ.2516 ที่ฮอลลีวูดนำมาทำหนังในชื่อ “แพลนเน็ต ออฟ ดิ เอพ” (Planet of the Ape)
สตาร์ชิฟ ทรูปเปอร์ส




อันดับ 7 “สตาร์ชิฟ ทรูปเปอร์ส” (Starship Troopers) ของโรเบิร์ต ไฮน์ไลน์ (Robert A.Heinlein) ในปี พ.ศ. 2502 ซึ่งมีการนำไปสร้างหนังในชื่อเดียวกัน แต่นิยายของไฮน์ไลน์ได้รับคำวิจารณ์ว่าค่อนข้างรุนแรงและเข้มงวดในเชิงกฎวินัยทางการทหารมากเกินไป
โคลส เอ็นเคาน์เตอร์ส ออฟ ดิ เธิร์ด ไคด์




อันดับ 8 “โคลส เอ็นเคาน์เตอร์ส ออฟ ดิ เธิร์ด ไคด์” (Close Encounters of the Third Kind) เขียนและกำกับภาพยนตร์โดยพ่อมดฮอลลีวูด “สตีเฟน สปิลเบิร์ก” (Steven Spielberg) ในปี พ.ศ.2521 ซึ่งจินตนาการไปถึงวิธีการสื่อสารระหว่างคนและมนุษย์ต่างดาว
โซลาริส




อันดับ 9 “โซลาริส” (Solaris) โดยสแตนนิสลอว์ เล็ม (Stanislaw Lem) ในปี พ.ศ.2504
เดอะ แบล็ก คลาวด์




อันดับ 10 “เดอะ แบล็ก คลาวด์” (The Black Cloud) โดยเฟรด ฮอยล์ (Fred Hoyle) ในปี พ.ศ.2500 อันเป็นปีเดียวกับการปล่อยยานสปุตนิกของอดีตสหภาพโซเวียต

สำหรับมือใหม่หัดอ่าน หรือที่เคยว่างเว้นจากการอ่านนิยายวิทยาศาสตร์อวกาศมาพักหนึ่งแล้ว “ชัยคุปต์” แนะว่า ควรอ่านผลงานที่มีรางวัลระดับโลกการันตี เพราะถือได้ว่าเป็นนิยายวิทยาศาสตร์มีคุณภาพเพื่อชิมลางกันก่อน

แหล่งที่สามารถหาอ่านงานเขียนคุณภาพได้เช่น 2 เวทีการประกวดที่ยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา คือ เวทีรางวัลฮิวโก (The Hugo Award, Science Fiction Achievement Award) และรางวัลเนบิวลา (Nebula Award) ซึ่งผู้ที่เพิ่งสนใจอ่านอาจเลือกอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ขนาดสั้นก่อนเลือกอ่านชุดยาวก็ได้ตามอัธยาศัย


*หมายเหตุ ในการจัดอันดับ 10 นิยายวิทยาศาสตร์อวกาศของเจ้าของนามปากกา "ชัยคุปต์" ผู้จัดอันดับได้คัดเลือกตามหลักเกณฑ์คือ นักเขียนนิยาย 1 คนต่อผลงานเพียง 1 เรื่อง โดยเจ้าตัวบอกว่า หากให้คัดเลือกผลงานต่อผู้เขียนมากกว่า 1 ชิ้นต่อ 1 คนแล้ว เชื่อว่า ผลงานของ ไอแซค อาซิมอฟ และอาร์เธอร์ ซี.คลาร์ก คงจับจองอันดับนิยายวิทยาศาสตร์อวกาศที่น่าสนใจตามความคิดของตัวเองไปหลายตำแหน่ง จนอาจไม่เหลือตำแหน่งใดๆ ให้กับผลงานของผู้เขียนอื่นๆ เลยก็เป็นได้
กำลังโหลดความคิดเห็น