xs
xsm
sm
md
lg

ใครว่า 1 กิโลมีพันกรัม !! น้ำหนักมาตรฐานหายไป 50 ไมโครกรัม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เอเยนซี-หากใครเคยหงุดหงิดใจว่าทำไมพ่อค้าแม่ขายถึงมัก “ชั่ง” ไม่ครบกิโลซะที อย่าเครียดไป...เพราะแม้แต่หน่วยงานระดับโลกอันมีหน้าที่เทียบมาตรวัดให้เป็นมาตรฐานก็ยังสงสัยว่า เครื่องชั่งของพวกเขาทำน้ำหนัก “กิโล” หายไปถึง 50 ไมโครกรัมได้อย่างไร!!

อุปกรณ์สอบเทียบ "กิโลกรัม" เพื่อเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศในการชั่งน้ำหนักมาตราเมตริกซ์อายุ 118 ปี และได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีที่ประเทศฝรั่งเศส ได้สูญเสียน้ำหนักเฉลี่ย 50 ไมโครกรัมเมื่อเปรียบกับอุปกรณ์สอบเทียบอื่นจำนวน 1 โหล

"ปริศนาคืออุปกรณ์สอบเทียบเหล่านั้นผลิตขึ้นมาจากวัสดุชนิดเดียวกัน ผลิตขึ้นมาในเวลาเดียวกัน และเก็บรักษาภายใต้เงื่อนไขเงื่อนเดียวกัน และมวลของอุปกรณ์ชั่งเหล่านั้นก็ค่อยๆ หายไปอย่างช้าๆ เราไม่มีคำวินิจฉัยที่ดีพอสำหรับกรณีจริงๆ" คำกล่าวของริชาร์ด ดาวิส (Richard Davis) นักฟิสิกส์จากสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (International Bureau of Weights and Measures; BIPM) ซึ่งอยู่ในเมืองแซฟวร์ (Sevres) ทางตอนใต้ของกรุงปารีส ฝรั่งเศส ผู้ออกมาเปิดเผยถึงมวลที่หายไปของ "กิโลมาตรฐาน"

ทั้งนี้ความไม่คงที่ของกิโลกรัมยังส่งผลกระทบถึงประเทศที่ได้ใช้ระบบเมตริก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักมาตรฐานในระบบของสหรัฐอเมริกาแล้วเท่ากับ 2.2 ปอนด์ สำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้วความไม่คงที่ของค่าคงที่เมตริกนั้นทำให้เกิดความปั่นป่วนในการคำนวณสิ่งต่างๆ อย่างเช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น

"พวกเขาทำงานโดยขึ้นอยู่กับการวัดมวล และเป็นความลำบากของพวกเขาที่นิยามกิโลกรัมซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น สำหรับคนที่ชอบโกหก ก็ไม่ได้มีความหมายอะไร กิโลกรัมก็ยังคงเป็นกิโลกรัม และน้ำหนักในเครื่องชั่งที่คุณมีก็ยังคงถูกต้อง" เดวิสกล่าว ทั้งนี้น้ำหนักที่หายไปประมาณอย่างหยาบๆ เท่ากับน้ำหนักของลายพิมพ์นิ้วมือ และมีเพียงเครื่องเทียบกิโลกรัมมาตรฐานนี้เท่านั้นี่ได้รับการตรวจนับน้ำหนักที่ถูกต้อง

กิโลกรัมที่ใช้สอบเทียบน้ำหนักมาตรฐานระหว่างประเทศนี้ได้รับการเก็บในที่ปลอดภัยโดยใส่กุญแจแน่นหนา 3 ชั้นอยู่ภายในคฤหาสน์และมีโอกาสน้อยที่จะได้สัมผัสแสงประจำวัน ซึ่งโอกาสที่ออกมาเจอแสงก็คือระหว่างสอบเทียบกับอุปกรณ์สอบเทียบอื่นที่มาจากทั่วโลก

"ยังไม่ชัดเจนว่าอุปกรณ์สอบเทียบต้นแบบนั้นเบาลงหรือว่าเครื่องสอบเทียบหลายๆ ตัวของฝรั่งเศสนั้นหนักขึ้น แต่โดยคำจำกัดความแล้วมีเพียงต้นแบบเท่านั้นที่แสดงถึงกิโลกรัมที่แท้จริง" มิชาเอล บอรีส (Michael Borys) นักวิจัยอาวุโสของสถาบันการวัดแห่งเยอรมนีในเมืองบรันชวิกกล่าว

ค่าขึ้นๆ ลงๆ ของกิโลกรัมแสดงให้เห็นถึงกระบวนการทางเทคโนโลยีที่ละเลยการวัดฝุ่นซึ่งเป็นการวัดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ กระบอกสอบเทียบกิโลกรัมอาจจะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงเมื่อปี 2432 ในการหล่อแพลตตินัมและโลหะผสมเออริเดียมให้มีความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.54 นิ้ว

ในเดือน พ.ย.ที่จะถึงนี้บรรดานักวิทยาศาสตร์จะไปประชุมกันที่กรุงปารีส คณะกรรมการที่ปรึกาการวัดจะนำเสนอแนวทางเป็นไปได้ในการคำนวณอย่างเที่ยงตรงของมาตรฐานกิโลกรัมและการวัดอื่นๆ อาทิ อุณหภูมิและปริมาณสสาร เป็นต้น และท้ายที่สุดผู้กำหนดนโยบายจากทั่วโลกก็จำเป็นต้องเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงใดๆ

การวัดหลายๆ อย่างต้องประสบกับความยากลำบากมาหลายต่อหลายปี "เมตร" ซึ่งครั้งหนึ่งเคยนิยามอย่างหยาบๆ ว่าเป็นระยะบนแท่งไม้ ก็ห่างไกลจากมาตรฐานไฮเทคในปัจจุบันที่ต้องนิยามเป็นระยะทางการเดินทางของแสงในสุญญากาศ

ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับ "กิโลกรัม" ในยุคศตวรรษที่ 21 คือการสร้างทรงกลมของผลึกไอโซโทปซิลิกอน-28 ซึ่งเป็นอะตอมเดี่ยวและมีมวลคงที่

"เราคงต้องเลือกคำจำกัดความที่ดีกว่า" เดวิสกล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น