xs
xsm
sm
md
lg

ฟังเพลง “โมสาร์ท” อาจไม่ฉลาดอย่างที่คิด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บางทีการศึกษาเครื่องดนตรีอาจทำให้ฉลาดกว่าก็ได้
เนเจอร์ - บางทีการฟังเพลง “โมสาร์ท” หรือดนตรีใดๆ ที่คุณชื่นชอบอาจจะไม่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองอย่างที่เคยเข้าใจก็ได้ ขณะที่เยอรมนีเตรียมเล่นงานทีมศึกษาผลต่อสมองของดนตรี เหตุมีการขอทุนวิจัยมากเกินแต่ได้ผลไม่ชัดเจนว่าดนตรีทำให้เด็กฉลาดจริงหรือไม่

เมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงการวิจัยเยอรมนี (German research ministry) ได้ออกคำสั่งเรียกรายงานจากนักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยา นักจิตวิทยา นักการศึกษาและนักปราชญ์จำนวน 9 คน โดยจะตรวจสอบวิทยานิพนธ์ที่ชวนให้เข้าใจถึงผลของความฉลาดจากดนตรีอย่างละเอียด ซึ่งทางกระทรวงรู้สึกว่าต้องมาจัดการเรื่องนี้เพราะมีการขอทุนเข้ามาอย่างมากมายเพื่อศึกษาเกี่ยวกับดนตรีและความฉลาด โดยที่ไม่รู้ตัวว่างานเหล่านั้นดู “งี่เง่า” แค่ไหน

สำหรับความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของเสียงที่มีผลต่อสมองนั้น จุดประกายโดยรายงานของ ดร.ฟรานเซส เราสเชอร์ (Dr.Frances Rauscher) นักจิตวิทยาและเพื่อนร่วมงานของเธอจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย (University of California) ในเออร์วีน สหรัฐอเมริกา ซึ่งอ้างว่าหลังจากฟังเพลงโมสาร์ท (Mozart) ได้ 10 นาทีช่วยให้การแสดงออกทางสติปัญญาเฉพาะส่วน อาทิ สร้างรูปแบบความจำได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ “โมสาร์ท เอฟเฟกต์” (Mozart effect) กลายเป็นเครื่องมือทางการค้าสำหรับอุตสาหกรรมดนตรีและโรงเรียนเอกชนบางแห่งมายาวนานหลังจากมีการศึกษาเพิ่มเติมหลั่งไหลออกมาอย่างเชี่ยวกราก จนทำให้เกิดความสงสัยให้ต้องตามตรวจสอบ และท่ามกลางความวุ่นวายทางการตลาดที่มักจะมีการตีความข้อมูลแบบเกินจริงนั้น ประโยชน์ที่เกิดจากการฟังดนตรีและการฝึกซ้อมดนตรีก็ถูกนำไปปนเปกันบ่อยครั้ง

“เราตรวจดูวิทยานิพนธ์ทั้งหมดเพื่อจะหาคำถามที่ยังมีอยู่” คำกล่าวของ ราฟ ชูแมชเชอร์ (Ralph Schumacher) ปราชญ์ทางด้านการเล่นเปียโนแห่งมหาวิทยาลัยฮัมโบลด์ท (Humboldt University) ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะในการทำงานครั้งนี้ และรายงานก็ได้ประกาศถึง “ความตายของโมสาร์ทเอฟเฟกต์ของเราสเชอร์” (Rauscher’s ‘Mozart effect’ dead)

การศึกษาส่วนใหญ่ถึงผลต่อความฉลาดจากการฟังดนตรีที่นักวิทยาศาสตร์ทางดนตรีเรียกว่า “จังหวะของโมสาร์ท” (Mozart’s Requiem) นั้นมักไม่สามารถที่จะพบซ้ำได้อีกหรือพบผลในระยะสั้นซึ่งคงอยู่ไม่เกินกว่า 20 นาทีหลังจากฟังดนตรี อีกทั้งผลชั่วคราวที่เกิดก็ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเกิดจากดนตรีของโมสาร์ทเท่านั้น แต่เป็นผลที่เกิดจากดนตรีทุกประเภทหรือแม้แต่จากการอ่านนิยาย ซึ่งการตรวจสอบก็ให้ผลเช่นนั้น

นอกจากนี้รายงานการศึกษาก็ไม่มีเอกสารยืนยันผลที่เกิดจากการฝึกซ้อมทางดนตรีในการพัฒนาไอคิว (IQ) อย่างเฉพาะส่วนในเด็กเล็ก โดยผลการศึกษาส่วนใหญ่ที่ตีพิมพ์ต่างมีข้อมูลที่น้อยมากและยากแก่การตีความ ทั้งยังพบว่าบางข้อแนะนำในการศึกษาระบุว่าไม่มีผลระยะยาวต่อระดับไอคิวทั้งหมด

“แต่มีการศึกษาชิ้นใหญ่ๆ และศึกษาอย่างรอบคอบเพียง 1 หรือ 2 ชิ้นเท่านั้นที่แสดงผลเล็กๆ ที่มีนัยยะต่อผลทางไอคิว ซึ่งเห็นผลกระทบดังกล่าวได้นานหลายปี” ชูแมชเชอร์กล่าว

อย่างไรตามแม้ผลจากการฝึกซ้อมดนตรีนั้นต้องอาศัยการยืนยันจากผลการศึกษาในอนาคต แต่ชูแมชเชอร์ก็ให้ความเห็นว่าเป็นไปได้สูงว่าดนตรีจะไม่ทำให้เด็กๆ ฉลาด ไม่เช่นนั้นเราก็คงได้เห็นผลที่ชัดเจนในรายงานวิจัยที่มีในปัจจุบัน และเขายังกล่าวอีกว่าจุดน่าสนใจที่สุดคือผลที่หากมีอยู่จริงนั้นกระตุ้นสมองได้อย่างไร
กำลังโหลดความคิดเห็น