ใครจะเชื่อว่าช็อกโกแลตของหวานแสนอร่อยที่หลายคนชื่นชอบนั้น จริงๆ แล้วทำได้ง่ายแสนง่าย ด้วยส่วนผสมที่แสนธรรมดาและหาได้ในห้องครัว แต่จะสู้กับช็อกโกแลตเบลเยียมได้หรือไม่นั้น คงลองพิสูจน์ด้วยตัวเอง
ใช่ว่าในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์จะมีแต่สิ่งประดิษฐ์หรือวิทยาการที่น่าสนใจ แต่สำหรับคนที่รักการทำอาหารแล้ว สัปดาห์วิทย์ฯ ปีนี้ก็มีกิจกรรมสำหรับคนชอบกิน โดยเฉพาะ "ช็อกโกแลต" ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คิดค้นสูตรอันแสนง่ายดายขึ้น เปิดสาธิตให้ผู้เยี่ยมชมงานได้มีโอกาสทดลองทำกันได้ด้วยตัวเอง
ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จึงไปรับบัตรคิว ทดลองทำแล้วนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังเรียกน้ำย่อย...เพื่อไม่ให้เสียดายส่วนผสม มาเริ่มต้นด้วยสูตรง่ายๆ ที่ใช้ปริมาณน้อยๆ กันก่อน โดยเตรียม 1.ผงโกโก้ 1 ช้อนโต๊ะ 2.นมผง 1 ช้อนโต๊ะ 3.น้ำตาลไอซิ่ง 1 ช้อนชา 4.ไขมันปาล์ม 20 กรัม ส่วนผสมสุดท้ายคือน้ำมันปาล์ม ซึ่งจะใส่ 1 ช้อนชาหรือ 2 ช้อนชาก็ได้ แต่ทางที่ดีทำทั้ง 2 สูตรเปรียบเทียบกันเลยดีกว่า
เมื่อได้ส่วนผสมทั้งอย่างพร้อมแล้ว นำไขมันปาล์มไปละลายในน้ำมันปาล์มโดยใส่ภาชนะกันร้อนแล้ววางในน้ำร้อนไม่เกิน 60 องศาเซลเซียสประมาณ 3-5 นาที ระหว่างนั้นผสมผงโกโก้ นมผงและน้ำตาลไอซิ่งเข้าด้วยกัน จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกัน โดยหลังจากยกไขมันและน้ำมันปาล์มออกจากน้ำร้อนให้รีบเทส่วนผสมทั้งหมดลงภาชนะเดียวกัน และคนให้เป็นเนื้อเดียวกันทันที ซึ่งจะได้ช็อกโกแลตเหลวๆ แล้วเทใส่ภาชนะหรือพิมพ์ที่ต้องการ ก่อนให้นำไปแช่เย็น 3-5 นาที ก็จะได้ช็อกโกแลตแท่งพร้อมรับประทาน
จากประสบการณ์ของอันธิกา ปัญญาสาร อาสาสมัคร อพวช. ซึ่งสอนทำช็อกโกแลตให้กับเด็กๆ ที่มาร่วมกิจกรรมที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คลองห้า ปทุมธานี ร่วมทั้งเดินทางเผยแพร่สูตรทำช็อกโกแลตอย่างง่ายไปทั่วประเทศกับคาราวานวิทยาศาสตร์ของกระทรวงวิทยาศาตรืและเทคโนโลยี กล่าวว่าเด็กส่วนใหญ่ชื่นชอบช็อกโกแลตสูตรที่ใช้น้ำมันปาล์ม 2 ช้อนชามากที่สุด ทั้งนี้ให้เหตุผลว่าเพราะช็อกโกแลตละลายได้เร็วกว่าทำให้เรารับรู้รสชาติได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการรับรู้รสชาติของแต่ละคนด้วย
พร้อมกันนี้อันธิกายังได้ให้ความรู้ว่าส่วนผสมสำคัญของช็อกโกแลตคือผงโกโก้นั้นได้มาจากเมล็ดโกโก้คั่ว โดยในโกโก้ 1 ผลนั้นจะมีเมล็ดประมาณ 30-40 เมล็ด เมื่อนำไปคั่วและบดจะได้ “โกโก้เหลว” ซึ่งเป็นของเหลวเหนียวๆ ที่มีสารเคมีกว่า 300 ชนิด และบริโภคได้ แต่มีจะรสจืดและไขมันสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องนำไปผ่านกระบวนการแยกไขมันให้เหลือไขมัน 10-15 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำไปอบกลายเป็น “ผงโกโก้” ส่วนไขมันที่แยกออกมาคือ “ไวท์ช็อกโกแลต” ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมของช็อกโกแลตอร่อยๆ และใช้แทนน้ำมันปาล์มได้
สำหรับประเทศที่ปลูกโกโก้ได้มากที่สุดคือ ประเทศไอเวอร์รีโคสต์ในทวีปแอฟริกาใต้ซึ่งผลิตได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือประเทศการ์ตาซึ่งผลิตได้ 14 เปอร์เซ็นต์ และประเทศที่ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือประเทศอินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยสามารถปลูกโกโก้ได้เช่นกันโดยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้
ถ้าใครสนใจสูตรทำช็อกโกแลตง่ายๆ ไม่ยุ่งยากแบบนี้ แวะได้ที่บูธของ อพวช. มีการสอนทำเป็นรอบๆ ตลอดทั้งวันและตลอดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ซึ่งจะมีถึงวันที่ 22 ส.ค. ณ ไบเทค บางนา
::: อ่านข่าวอื่นๆ เกี่ยวกับสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติประจำปี 2549 :::
- เข้าห้องแล็บไบโอเทค "ระเบิดเซลล์-แยกดีเอ็นเอ" ในสัปดาห์วิทย์ 49
- "คลื่นครื้นเครง" ในนครแห่งพลังงานไร้รูป
- เผย 5 วันยอดผู้ชมงานสัปดาห์วิทย์ 49 ทะลุ 5 แสน
- "คาโปะจัง" ตุ๊กตานาโนดูดกลิ่น ดึงเรื่องไฮเทคลงสิ่งใกล้ตัว
- 8 นักผจญเพลิงสอนวิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้แบบเสมือนจริงในสัปดาห์วิทย์ 49
- ก.วิทย์แก้ปัญหารถฟรี "สัปดาห์วิทย์" จัดเพิ่มเป็น 6 คันออกทุก 15 นาที
- หลายครอบครัวชื่นมื่นทยอยร่วมงานสัปดาห์วิทย์ 49 ครึกครื้น
- ชมภาพประชาชนแห่ร่วมงานสัปดาห์วิทย์ล้นหลาม
- สัปดาห์วิทย์วันที่ 3 คนทะลุ 8 หมื่น - ชัทเทิลบัสรับส่งไม่ดีสมอ้าง
- "พล เดอะสตาร์" เชื่อเปลี่ยนวิทยาศาสตร์น่าเบื่อให้สนุกด้วยวิธีนำเสนอ
- ร่วมตอบปัญหา "เมก้าเคลฟเวอร์" ฉบับไทยที่ฉลาดสุดสุด
- “คุณหญิงสุมณฑา” เผยแม้อยู่ในวงการนานก็ยังตื่นเต้นกับ “สัปดาห์วิทย์”
- นักบินอวกาศคนแรกของญี่ปุ่น เผยประสบการณ์นอกโลกในงานสัปดาห์วิทย์
- ไบเทคพร้อมรับคนเข้าชมสัปดาห์วิทย์วันละ 1 แสน
- สมเด็จพระเทพฯ ตรัสสัปดาห์วิทย์ช่วยเปิดโลกทัศน์ประชาชน
- เตรียมตัวให้พร้อมก่อนพบ “กองทัพหุ่นยนต์” บุกสัปดาห์วิทย์ 49
-เผยภูมิปัญญามังกรโบราณ "โอ่งวัดแผ่นดินไหว" ในงานสัปดาห์วิทย์ 49
-โชว์ “ตราฉลอง 60 ปี” ขนาดจิ๋วแบบสามมิติในสัปดาห์วิทย์ 49
-"พี่มอส-บัวชมพู" ชวนเที่ยวสัปดาห์วิทย์ อยากให้น้องเป็นนักวิทยาศาสตร์กันเยอะๆ