จากเหตุการณ์พบ “วัตถุประหลาด” รูปร่างเป็นวุ้นเหมือนตัวหนอนขนาดใหญ่หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกและเชื่อไปต่างๆ นานาว่าเป็นสิ่งมีชีวิตต่างดาวบ้าง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์นำโชคที่หลายคนกราบไหว้บูชา จนกระทั่งมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็นเพียงวัสดุชนิดเดียวกับ “เจลลดไข้เด็ก”
...เหตุการณ์ครั้งนี้ให้บทเรียนอะไรกับสังคมไทย ลองไปฟังความเห็นของคนในแวดวงวิทยาศาสตร์ที่มีบทบาทในการเปิดเผยข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับรู้...

ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ นักวิชาการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) ผู้ออกมาไขข้อข้องใจเบื้องต้นเกี่ยวกับวัตถุประหลาดว่าไม่ใช่สิ่งมีชีวิต
“จากที่มีคุณแม่เข้ามาโพสต์ในเว็บไซต์ว่าน่าจะเป็นเจลลดไข้แล้วก็มีคนไปทดลองตาม และกรณีที่มีเด็กออกมาเปิดเผยว่าเขาก็เคยเล่นในลักษณะดังกล่าว ทำให้ได้บทเรียนว่าการพิสูจน์ดังกล่าวก็เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ไม่จำเป็นต้องให้นักวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์เองถ้าไม่เคยเห็นวุ้นมาก่อนก็คงตอบไม่ได้ เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าคนไทยก็มีนิสัยช่างสงสัย ช่างทดสอบ เวลามีข้อสงสัยอะไรขึ้นมา อยากให้ช่วยกันคิด ช่วยกันพิสูจน์ สงสัยแล้วทดลองดู ใครก็ช่วยกันพิสูจน์ได้”

ดร.อศิรา เฟื่องฟูชาติ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) ผู้ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการเปรียบวัตถุประหลาดกับแผ่นเจลลดไข้
“เห็นด้วยกับความคิดของ ดร.นำชัย เดี๋ยวนี้คนไทยช่างสังเกตมากขึ้น เห็นตัวหนอนตกลงมาก็เกิดความสงสัย และแม่บ้านที่เคยเห็นว่าเจลปิดแผลสามารถพองตัวอย่างนั้นได้ ก็ออกมาถ่ายทอดให้กับสังคม ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถโฟกัสได้ง่ายขึ้น พิสูจน์ได้ถูกทางมากขึ้น อย่างไรก็ดีความรู้ก็ต้องกระจายไปให้ทั่วภูมิภาคด้วย”

ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเคยให้ความรู้เกี่ยวกับ “มิติ” และ “โลกคู่ขนาน” จากกรณีที่มีการอ้างว่ามนุษย์ต่างดาวอาศัยช่องทางของมิติคูขนานมาโผล่ที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย
“เป็นตัวอย่างของสังคมที่ไม่ใช่สังคมวิทยาศาสตร์ ชาวบ้านไม่มีความรู้วิทยาศาสตร์และตื่นตระหนกไปกับปรากฏการณ์ เช่น เห็นจิ้งจก 2 หัว ก็กราบไหว้ขอหวย ขณะที่สื่อบางฉบับก็เสนอเรื่องที่ไม่เป็นสาระ อยากให้สื่อเสนอข้อมูลเชิงความรู้และสร้างสรรค์ ควรจะไปสอบถามผู้รู้ เช่น ถามสัตวแพทย์ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ถึงเวลาที่สื่อควรจะช่วยกันให้ความรู้เพื่อให้สังคมมีความเป็นเหตุเป็นผล”

ดร.ประวิช รัตนเพียร รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งผลักดันให้เกิดการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
“จากเหตุการณ์นี้อยากให้วิทยาศาสตร์เป็นคำตอบทุกเรื่อง และหน่วยงานในกระทรวงฯ เองก็มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ถือว่าทันสมัย และได้หารือให้กระทรวงวิทย์เป็นแกนกลางหาคำตอบเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายใน การให้ความรวดเร็วในการตอบเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องช่วยสังคม ส่วนกรณีที่ กระทรวงสาธารณสุขออกมาตอบคำถามให้กับสังคมก่อนแสดงว่าเป็นเรื่องดีที่ทุกคนมีความเป็นวิทยาศาสตร์”

ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“จากเหตุการณ์นี้เราต้องการให้เกิดการชี้แจงความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปพิสูจน์ความเชื่อ อยากให้ทุกฝ่ายได้เข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง การขาดความรู้ความเข้าใจทำให้เกิดความวิตกกังวล ในฐานะหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์พร้อมจะหาข้อมูลให้นำวิทยาศาสตร์ไปประกอบคำวินิจฉัยได้ แต่ที่ชาวบ้านบางส่วนกราบไหว้บูชาวัตถุประหลาดก็โทษเขาไม่ได้ เพราะแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วหากไม่พื้นความรู้มาก่อนเมื่อเจอเหตุการณ์ที่แปลกไป เบื้องต้นเขาก็จะเชื่อข้อมูลที่มีอยู่ ทั้งนี้จะได้ทำช่องทางให้ผู้ที่มีข้อสงสัยเข้ามาถามและผู้มีความรู้สามารถเข้ามาตอบได้”

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค)
“เรื่องนี้ให้บทเรียนว่าต้องระวังข่าวลือและสื่อให้มาก กรณีนี้เป็นข่าวลือที่ต่อเติมให้เกินจริง ถามตรงๆ ว่าสื่อหัวสีต้องการปั่นข่าวเพื่อให้ขายดีหรือเปล่า ซึ่งตอนจบก็ไม่ได้มีอะไรเลย ไม่ได้ให้ความรู้กับคน เสียเวลาและทรัพยากร คิดด้วยสามัญสำนึกก่อนดีกว่า เช่นกรณีของเด็กที่อ่างทอง (ซึ่งออกมาเผยว่าเคยแผ่นเจลลดไข้มาเล่น) ลองใช้สามัญสำนึกว่ามันจะอันตรายไหม ส่วนกรณีที่จะตั้งศูนย์รับแก้ข้อสงสัยก็เป็นความคิดที่ดี แต่อยากให้ทำสื่อที่มีอยู่ให้น่าเชื่อถือได้ก่อนดีไหม เน้นที่ความน่าเชื่อถือก่อนความเร็ว เพราะเร็วแต่ไม่ถูกต้องก็เพี้ยนกันไปใหญ่”
...เหตุการณ์ครั้งนี้ให้บทเรียนอะไรกับสังคมไทย ลองไปฟังความเห็นของคนในแวดวงวิทยาศาสตร์ที่มีบทบาทในการเปิดเผยข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับรู้...
ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ นักวิชาการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) ผู้ออกมาไขข้อข้องใจเบื้องต้นเกี่ยวกับวัตถุประหลาดว่าไม่ใช่สิ่งมีชีวิต
“จากที่มีคุณแม่เข้ามาโพสต์ในเว็บไซต์ว่าน่าจะเป็นเจลลดไข้แล้วก็มีคนไปทดลองตาม และกรณีที่มีเด็กออกมาเปิดเผยว่าเขาก็เคยเล่นในลักษณะดังกล่าว ทำให้ได้บทเรียนว่าการพิสูจน์ดังกล่าวก็เป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ไม่จำเป็นต้องให้นักวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์เองถ้าไม่เคยเห็นวุ้นมาก่อนก็คงตอบไม่ได้ เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าคนไทยก็มีนิสัยช่างสงสัย ช่างทดสอบ เวลามีข้อสงสัยอะไรขึ้นมา อยากให้ช่วยกันคิด ช่วยกันพิสูจน์ สงสัยแล้วทดลองดู ใครก็ช่วยกันพิสูจน์ได้”
ดร.อศิรา เฟื่องฟูชาติ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) ผู้ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการเปรียบวัตถุประหลาดกับแผ่นเจลลดไข้
“เห็นด้วยกับความคิดของ ดร.นำชัย เดี๋ยวนี้คนไทยช่างสังเกตมากขึ้น เห็นตัวหนอนตกลงมาก็เกิดความสงสัย และแม่บ้านที่เคยเห็นว่าเจลปิดแผลสามารถพองตัวอย่างนั้นได้ ก็ออกมาถ่ายทอดให้กับสังคม ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถโฟกัสได้ง่ายขึ้น พิสูจน์ได้ถูกทางมากขึ้น อย่างไรก็ดีความรู้ก็ต้องกระจายไปให้ทั่วภูมิภาคด้วย”
ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเคยให้ความรู้เกี่ยวกับ “มิติ” และ “โลกคู่ขนาน” จากกรณีที่มีการอ้างว่ามนุษย์ต่างดาวอาศัยช่องทางของมิติคูขนานมาโผล่ที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย
“เป็นตัวอย่างของสังคมที่ไม่ใช่สังคมวิทยาศาสตร์ ชาวบ้านไม่มีความรู้วิทยาศาสตร์และตื่นตระหนกไปกับปรากฏการณ์ เช่น เห็นจิ้งจก 2 หัว ก็กราบไหว้ขอหวย ขณะที่สื่อบางฉบับก็เสนอเรื่องที่ไม่เป็นสาระ อยากให้สื่อเสนอข้อมูลเชิงความรู้และสร้างสรรค์ ควรจะไปสอบถามผู้รู้ เช่น ถามสัตวแพทย์ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ถึงเวลาที่สื่อควรจะช่วยกันให้ความรู้เพื่อให้สังคมมีความเป็นเหตุเป็นผล”
ดร.ประวิช รัตนเพียร รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งผลักดันให้เกิดการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
“จากเหตุการณ์นี้อยากให้วิทยาศาสตร์เป็นคำตอบทุกเรื่อง และหน่วยงานในกระทรวงฯ เองก็มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ถือว่าทันสมัย และได้หารือให้กระทรวงวิทย์เป็นแกนกลางหาคำตอบเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายใน การให้ความรวดเร็วในการตอบเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องช่วยสังคม ส่วนกรณีที่ กระทรวงสาธารณสุขออกมาตอบคำถามให้กับสังคมก่อนแสดงว่าเป็นเรื่องดีที่ทุกคนมีความเป็นวิทยาศาสตร์”
ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“จากเหตุการณ์นี้เราต้องการให้เกิดการชี้แจงความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปพิสูจน์ความเชื่อ อยากให้ทุกฝ่ายได้เข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง การขาดความรู้ความเข้าใจทำให้เกิดความวิตกกังวล ในฐานะหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์พร้อมจะหาข้อมูลให้นำวิทยาศาสตร์ไปประกอบคำวินิจฉัยได้ แต่ที่ชาวบ้านบางส่วนกราบไหว้บูชาวัตถุประหลาดก็โทษเขาไม่ได้ เพราะแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วหากไม่พื้นความรู้มาก่อนเมื่อเจอเหตุการณ์ที่แปลกไป เบื้องต้นเขาก็จะเชื่อข้อมูลที่มีอยู่ ทั้งนี้จะได้ทำช่องทางให้ผู้ที่มีข้อสงสัยเข้ามาถามและผู้มีความรู้สามารถเข้ามาตอบได้”
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค)
“เรื่องนี้ให้บทเรียนว่าต้องระวังข่าวลือและสื่อให้มาก กรณีนี้เป็นข่าวลือที่ต่อเติมให้เกินจริง ถามตรงๆ ว่าสื่อหัวสีต้องการปั่นข่าวเพื่อให้ขายดีหรือเปล่า ซึ่งตอนจบก็ไม่ได้มีอะไรเลย ไม่ได้ให้ความรู้กับคน เสียเวลาและทรัพยากร คิดด้วยสามัญสำนึกก่อนดีกว่า เช่นกรณีของเด็กที่อ่างทอง (ซึ่งออกมาเผยว่าเคยแผ่นเจลลดไข้มาเล่น) ลองใช้สามัญสำนึกว่ามันจะอันตรายไหม ส่วนกรณีที่จะตั้งศูนย์รับแก้ข้อสงสัยก็เป็นความคิดที่ดี แต่อยากให้ทำสื่อที่มีอยู่ให้น่าเชื่อถือได้ก่อนดีไหม เน้นที่ความน่าเชื่อถือก่อนความเร็ว เพราะเร็วแต่ไม่ถูกต้องก็เพี้ยนกันไปใหญ่”