Why Socialism? ทำไมต้องสังคมนิยม
by Albert Einstein
แปลและเรียบเรียงโดย : สมเกียรติ ตั้งนโม
จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
คำนำ
เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้เขียนบทความนี้ขึ้นมาให้กับนิตยสาร Monthly Review (1949) เพื่อสะท้อนความรู้สึกเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของลัทธิทุนนิยมในตะวันตก ซึ่งได้ก่อให้เกิดความแตกแยกของสังคมออกเป็นชิ้นๆ จนถึงระดับปัจเจก. ผลพวงดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นมาจากการแข่งขันและการเล็งผลเลิศไปที่กำไรเป็นสำคัญ ทำให้ปัจเจกชนขาดสำนึกที่มีต่อสังคม แม้กระทั่งต่อกลุ่มที่ตนสังกัด
นอกจากนี้ เขายังสะท้อนให้เห็นถึงกลุ่มทุน และนายทุนเอกชน ผู้ซึ่งครอบครองเครื่องมือและปัจจัยการผลิต ที่พยายามเอาเปรียบบรรดาคนงานทั้งหลาย โดยหวังเพียงผลกำไรของตนเป็นสำคัญ อีกทั้งโรงเรียนต่างๆก็มุ่งสร้างคนเข้าสู่ระบบทุนนิยมนี้ ปลูกฝังทัศนะคติเกี่ยวกับการแข่งขัน โดยปราศจากความสำนึกทางศีลธรรม
และเมื่อมองไปที่ระบบการเมือง พรรคการเมืองส่วนใหญ่ก็ถูกนายทุนเอกชนเข้ามามีอิทธิพลครอบงำ ทำให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงไม่สามารถเลือกตัวแทนผลประโยชน์ของตนเองเข้าไปแก้ปัญหาความทุกข์ยากของตัวเองได้
ไอน์สไตน์ได้เสนอทางออกของวิกฤตสังคม โดยนำเอาลัทธิสังคมนิยมมาพิจารณา ซึ่งในเวลานั้นถือเป็นเรื่องต้องห้าม(taboo) เขาได้มองเห็นคุณความดีของระบอบสังคมนิยม ที่มุ่งกระทำเพื่อสังคมและชุมชนมากกว่าที่จะเล็งผลสำเร็จไปที่ตัวปัจเจกชน มองระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่คำนึงถึงภาคแรงงานและการผลิต เพื่อประโยชน์ที่แท้จริงมากกว่าคำนึงผลกำไรและการผลิตสินค้าอันไม่จำเป็น
การนำเสนอสิ่งเหล่านี้เป็นการเสนอแนวคิดข้ามขอบเขตความรู้ของตนเองไปสู่สาขาเศรษฐศาสตร์ ดังนั้น การเริ่มต้นบทความชิ้นนี้ ไอน์สไตน์จึงให้เหตุผลกับผู้อ่าน อีกทั้งเป็นการสร้างฐานของความชอบธรรมขึ้นสำหรับตนเอง เพื่อเสนอความคิดเห็นส่วนตัวต่อมาตามลำดับ และในท้ายที่สุด เขามาจบลงที่การชื่นชมต่อนิตยสาร monthly Review ที่เป็นเวทีให้กับการถกเถียงกันในประเด็นเกี่ยวกับสังคมนิยมในโลกตะวันตก
This essay was originally published in the first issue of Monthly Review (May 1949).
บทความนี้ แรกทีเดียวได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Monthly Review (พฤษภาคม 1949)
คำถามมีว่า คนๆหนึ่งสามารถจะให้คำแนะนำ และแสดงทัศนะในเรื่องของสังคมนิยมออกมาได้ไหม, ทั้งๆที่คนๆนั้นไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในประเด็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแต่อย่างใดเลย ? สำหรับข้าพเจ้าแล้ว มีเหตุผลมากมายที่จะตอบว่า เขาคนนั้นสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้
ประการแรก ขอให้ข้าพเจ้าพิจารณาถึงคำถามข้างต้น จากแง่คิดหรือความเห็นทางความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ก่อน.
ดังที่ปรากฎ อาจมองได้ว่า โดยสาระแล้ว มันไม่มีความแตกต่างกันในระเบียบวิธีการเลยระหว่าง ดาราศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์: นั่นคือ ในขอบเขตความรู้ทั้งสองสายนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการทั้งหลาย ต่างพยายามที่จะค้นหากฎเกณฑ์ต่างๆของการเป็นที่ยอมรับได้ทั่วๆไป สำหรับกลุ่มของปรากฎการณ์ที่มีขอบเขตกำหนดอันหนึ่ง เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมโยงกันเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านี้ขึ้นมา ให้สามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจนเท่าที่จะเป็นไปได้. แต่ในความเป็นจริง ความแตกต่างกันในเรื่องวิธีการนั้น แน่นอน มันมีอยู่อย่างไม่อาจปฏิเสธได้.
สำหรับการค้นหากฎเกณฑ์ต่างๆในขอบเขตหรือความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ถูกทำให้ยุ่งยากขึ้นมาโดยสภาวการณ์ที่ว่า ปรากฎการณ์ที่ได้รับการสังเกตทางเศรษฐกิจนั้น บ่อยครั้ง ได้รับผลกระทบจากเงื่อนไขหรือปัจจัยต่างๆมากมาย ซึ่งยากมากที่จะประเมินออกมาได้ในลักษณะที่แยกส่วนหรือเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในตัวของมันเอง.
อีกประการหนึ่ง ประสบการณ์ซึ่งได้มีการสะสมเพิ่มพูนขึ้นมา นับจากการเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า "ยุคอารยธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษย์" นั้น - อย่างที่พวกเรารู้กัน - ได้รับอิทธิพลอย่างมาก และถูกวางข้อจำกัดเอาไว้โดยมูลเหตุต่างๆหรือที่มา ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องของเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวโดดๆแต่อย่างใด.
ยกตัวอย่างเช่น รัฐที่สำคัญๆส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ ต่างเป็นหนี้บุญคุณในการดำรงอยู่ของพวกมัน ด้วยการพิชิตหรือการได้ชัยชนะผู้อื่นมา. ผู้คนที่ได้ชัยชนะทั้งหลายได้สถาปนาตัวของพวกเขาเองขึ้น, ทั้งทางด้านกฎหมายและทางเศรษฐกิจ, ในฐานะที่เป็นชนชั้นพิเศษหรืออภิสิทธิ์ชนของประเทศที่พ่ายแพ้. พวกเขาได้ยึดครองผืนแผ่นดินในฐานะผู้เป็นเจ้าของแบบผูกขาด และได้แต่งตั้งตำแหน่งพระหรือตัวแทนศาสนาขึ้นมาท่ามกลางหมู่พวกเขา. บรรดาพระและตัวแทนทางศาสนา ได้เข้ามาควบคุมเรื่องของการศึกษา, ทำการแบ่งแยกชนชั้นต่างๆในสังคมออกจากกัน โดยการสถาปนาสถาบันที่มั่นคงขึ้น และได้สร้างระบบคุณค่าอันหนึ่งมารองรับ โดยที่ผู้คนจำนวนมากไม่ทันรู้ตัวหรือสำนึกมาก่อน, ทั้งนี้เพื่อคอยเป็นแนวนำทางต่อพฤติกรรมต่างๆทางสังคมของพวกเขา.
แต่ขนบจารีตทางประวัติศาสตร์ ดังที่กล่าว ของเมื่อวันวาน; จริงๆแล้ว ไม่มีอะไรเลยที่เราพิชิตหรือเอาชนะ ดังที่ Thorstein Veblen (1857-1929) เรียกว่า "ช่วงของการปล้นชิงหรือเบียดเบียนกัน"ในพัฒนาการของมนุษย์("the predatory phase" of human development). ข้อเท็จจริงต่างๆที่น่าสังเกตุในทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องของช่วงตอนดังกล่าว และแม้แต่กฎเกณฑ์ต่างๆอันนั้น ดังที่เราได้สืบทอดมาจากพวกเขา ก็ไม่อาจนำมาใช้กับช่วงตอนอื่นๆได้.
โดยเหตุที่จุดประสงค์ที่แท้จริงของสังคมนิยมเป็นที่ประจักษ์ว่า ชัยชนะและความก้าวหน้า มันอยู่เลยไปจากช่วงตอนของการปล้นชิงในพัฒนาการของมนุษย์, ดังนั้น ศาสตร์ทางเศรษฐกิจในรัฐที่มีอยู่ สามารถที่จะทอดความสว่างได้เพียงเล็กๆน้อยๆเท่านั้น ลงไปบนสังคมที่ยึดถือแนวทางสังคมนิยมแห่งอนาคต. กล่าวให้ง่ายก็คือ เศรษฐกิจในแบบปล้นชิงหรือเบียดเบียนนั้น มันล้าหลังไปกว่าแนวทางของสังคมนิยมนั่นเอง.
ประการที่สอง, สังคมนิยมได้ถูกกำกับทิศทางให้หันเข้าสู่เป้าหมายทางด้านจริยธรรมทางสังคม. แต่อย่างไรก็ตาม วิทยาศาสตร์, ไม่สามารถสร้างเป้าหมายต่างๆ, หรือแม้แต่ค่อยๆทำให้มันซึมซาบเข้าไปในตัวมนุษย์ได้; วิทยาศาสตร์, อย่างมากที่สุดก็เพียง จัดหาวิธีการซึ่งจะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายต่างๆได้บ้าง. สำหรับเป้าหมายต่างๆ ในตัวของมันเองนั้น ได้ถูกนึกคิดหรือเข้าใจโดยบุคลิกภาพต่างเกี่ยวกับอุดมคติที่สูงตระหง่านทางจริยธรรม และ - ถ้าหากว่าเป้าหมายเหล่านี้ไม่เป็นหมัน, แต่มีชีวิตและกระฉับกระเฉง - ได้ถูกรับเอามา และอุ้มชูต่อไปโดยผู้คนเป็นจำนวนมากเหล่านั้น, มันก็จะมากำหนดวิวัฒนาการที่เป็นไปอย่างช้าๆของสังคม จนแทบจะไม่ทันรู้สึกตัว
กับเหตุผลข้างต้นเหล่านี้, เราควรที่จะพิทักษ์ตัวของเรา ไม่ใช่เพื่อประเมินวิทยาศาสตร์และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เอาไว้สูงเกินไป เมื่อมันเป็นคำถามหนึ่งของปัญหาต่างๆของมนุษย์; และเราไม่ควรจะทึกทักไปว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเป็นบุคคลเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิที่จะแสดงตัวของพวกเขาเองต่อคำถามต่างๆที่มีผลกระทบต่อองค์ระบบของสังคม.
เสียงของผู้คนจำนวนนับไม่ถ้วนต่างยืนยันเป็นครั้งคราวในตอนนี้ว่า สังคมมนุษย์กำลังผ่านไปสู่ช่วงวิกฤตหนึ่ง, ซึ่งความมั่นคงของมันนั้นได้ถูกทำให้แตกออกเป็นชิ้นๆอย่างรุนแรง. มันเป็นลักษณะเฉพาะอันหนึ่งของสถานกาณ์ที่ปัจเจกชนแต่ละคนต่างรู้สึกเมินเฉยหรือไม่แยแส หรือแม้แต่เป็นปรปักษ์กับกลุ่ม, ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่, ซึ่งพวกเขาสังกัดอยู่. เพื่อที่จะแสดงความหมายของข้าพเจ้าขึ้นมาเป็นภาพ, ขอให้ข้าพเจ้าบันทึกประสบการณ์ส่วนตัวอันหนึ่งลงในที่นี้.
เมื่อเร็วๆนี้ ข้าพเจ้าได้พูดคุยกับคนที่เฉลียวฉลาดและเป็นมิตรที่ดีคนหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องการคุกคามของสงครามอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งในความเห็นของข้าพเจ้า มันจะเป็นสงครามที่ก่อให้เกิดอันตรายที่รุนแรงและจริงจังต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ และข้าพเจ้าตั้งข้อสังเกตว่า จะมีเพียงองค์กรที่อยู่เหนือชาติต่างๆเท่านั้น(supra-nation organization)ที่จะให้การปกป้องจากภัยและอันตรายนี้ได้.
แต่พื่อนของข้าพเจ้า, ได้กล่าวกับข้าพเจ้าด้วยความสงบและเยือกเย็นว่า: "ทำไมคุณจึงรู้สึกเป็นปรปักษ์อย่างลึกซึ้งต่อการสูญสิ้นเผ่าพันธุ์มนุษย์ล่ะ ?"
ข้าพเจ้ามั่นใจว่า น้อยมากเท่าๆกับศตวรรษที่ผ่านมา ที่จะมีใครพูดออกมาในลักษณะแบบนี้. มันเป็นถ้อยคำของคนๆหนึ่ง ซึ่งพยายามมุ่งมั่นอย่างไร้ประโยชน์ ที่จะบรรลุถึงดุลยภาพอันหนึ่งภายในตัวของเขาเอง และสูญสิ้นความหวังเกี่ยวกับความต่อเนื่องไปแล้ว ไม่มากก็น้อย. มันเป็นการแสดงออกของความโดดเดี่ยวอันเจ็บปวด และการแยกตัวออกไปจากผู้คนจำนวนมากที่กำลังเป็นทุกข์ในวันเวลาเหล่านี้.
คำถามก็คือ อะไรคือสาเหตุเหล่านี้ ? และมันมีทางออกสำหรับเรื่องนี้ไหม ?
มันง่ายที่จะตั้งคำถามต่างๆขึ้นมา, แต่ยากที่จะตอบคำถามเหล่านั้นออกมา ในระดับที่มีความมั่นใจ. แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าจะพยายามลองดู ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่า ข้าพเจ้าจะสำนึกเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า ความรู้สึกของพวกเราและความมุ่งมั่น บ่อยครั้ง เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันและคลุมเครือ และนั่นทำให้พวกมันไม่สามารถที่จะได้รับการแสดงออกมาได้ง่ายๆและมีสูตรสำเร็จ
อย่างที่เห็นพ้องต้องกัน มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่โดดเดี่ยวและเป็นสัตว์สังคมในเวลาเดียวกัน.
ในฐานะสิ่งมีชีวิตที่โดดเดี่ยว เขาพยายามที่จะปกป้องการดำรงอยู่ของเขา และบุคคลทั้งหลายซึ่งมีความใกล้ชิดกับเขาที่สุด เขาจะชดเชยความปรารถนาส่วนตัวต่างๆของเขา และจะพัฒนาความสามารถภายในต่างๆของตัวเองขึ้นมา.
ส่วนในฐานะสัตว์สังคม เขาแสวงหาที่จะบรรลุถึงการยอมรับและการเป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนมนุษย์, เพื่อปันส่วนความพอใจของพวกเขา เพื่อคอยปลอบโยนในความเศร้าโศกของพวกเขา และเพื่อปรับปรุงเงื่อนไขเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขา.
การมีอยู่เกี่ยวกับความผันผวนเหล่านี้(มนุษย์ในฐานะปัจเจกและในฐานะสัตว์สังคม), มันขัดแย้งกันบ่อยๆ พวกเขามุ่งมั่นและพยายามที่จะให้เหตุผล หรือคำอธิบายเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะพิเศษของมนุษย์, และการรวมตัวกันโดยเฉพาะที่มากำหนดขอบเขตซึ่ง ปัจเจกชนคนหนึ่ง สามารถบรรลุถึงดุลยภาพภายในได้ ในเวลาเดียวกันก็สามารถส่งเสริมไปสู่การดำรงอยู่ที่ดีของสังคมได้เช่นกัน.
มันเป็นไปได้ทีเดียวที่ว่า ความเข้มแข็งในเชิงสัมพัทธ์เกี่ยวกับแรงขับทั้งสองอันนี้ โดยหลักแล้ว ได้ถูกกำหนดโดยการรับทอดสืบช่วงลงมา. แต่บุคลิกภาพ ในท้ายที่สุดนั้นดังที่ปรากฏ ส่วนใหญ่แล้ว ได้รับการก่อตัวขึ้นมาโดยสภาพแวดล้อม ซึ่งมนุษย์บังเอิญไปค้นพบตัวเขาในช่วงระหว่างพัฒนาการของตัวเอง โดยโครงสร้างของสังคมซึ่งเขาได้เติบโตขึ้น, โดยขนบประเพณีของสังคม, และโดยลักษณะการประเมินเกี่ยวกับแบบฉบับเฉพาะของพฤติกรรม.
แนวคิดนามธรรมคำว่า"สังคม" มีความหมายต่อมนุษย์ในฐานะปัจเจกชน กล่าวคือ มันเป็นผลรวมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมของเขา ที่มีต่อคนร่วมยุคร่วมสมัย และผู้คนทั้งหมดของคนในรุ่นก่อนหน้าเขา. ปัจเจกชนสามารถที่จะคิด รู้สึก ดิ้นรนต่อสู้ และทำงานโดยตัวของเขาเอง; แต่แต่เขาก็ขึ้นอยู่กับหรือต้องพึ่งพาสังคมมากมาย - ทั้งทางด้านกายภาพ, สติปัญญา และการมีอยู่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของเขา - ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะคิดถึงเขา หรือเข้าใจเขา โดยอยู่ภายนอกกรอบหรือขอบเขตของสังคมได้.
มันคือ"สังคม"ซึ่งได้ตระเตรียมหรือจัดหาอาหารมาให้กับมนุษย์, เสื้อผ้า บ้าน เครื่องมือการทำงาน ภาษา รูปแบบต่างๆทางความคิด และส่วนใหญ่เกี่ยวกับเนื้อหาของความคิด; เป็นไปได้ว่า ชีวิตของเขาได้รับการสร้างขึ้นมา โดยผ่านแรงงานและความสำเร็จของผู้คนทั้งในอดีตและปัจจุบันนับเป็นล้านๆคน ผู้ซึ่งทั้งหมด ซ่อนอยู่เบื้องหลังคำๆเล็กๆคำหนึ่งที่ออกเสียงว่า"สังคม"
ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นที่ชัดแจ้งว่า การพึ่งพาอาศัยของปัจเจกชนต่อสังคมนั้น คือข้อเท็จจริงอันหนึ่งเกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถที่จะลบล้างไปได้ - เทียบกันกับกรณีของมดและผึ้ง. แต่อย่างไรก็ตาม ขณะที่ทั้งหมดเกี่ยวกับกระบวนการชีวิตของมดและผึ้งนั้น ได้ถูกกำหนดลงไปในรายละเอียดที่เล็กที่สุดโดยความเข้มงวด เป็นมรดกตกทอดในระดับสัญชาตญาน, แต่แบบแผนทางสังคมและความสัมพันธ์ที่มีต่อกันของมนุษย์ กลับเป็นเรื่องที่ผันแปรและอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง และไม่ใช่เรื่องของสัญชาตญานโดยลำพัง.
ความทรงจำ, ความสามารถที่จะรวมตัวกันใหม่, พรสวรรค์เกี่ยวกับการสื่อสารกันได้ด้วยปาก ได้ทำให้มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่างๆท่ามกลางหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งไม่ได้ถูกบงการโดยความจำเป็นทางชีววิทยา. พัฒนาการต่างๆนั้น แสดงตัวของมันเองออกมาในขนบประเพณีต่างๆ สถาบัน และองค์กรทั้งหลาย; ทั้งในวรรณคดี; ในความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม ฯลฯ; และรวมไปถึงผลงานทางศิลปะ.
ในด้านหนึ่งนั้น อันนี้ได้อธิบายว่า ทำไมจึงปรากฏว่ามนุษย์สามารถที่จะมีอิทธิพลต่อชีวิตของเขาโดยผ่านการประพฤติการปฏิบัติของตนเอง, และในกระบวนการความคิดที่มีสำนึกอันนี้ และความต้องการ สามารถแสดงบทบาทอันหนึ่งออกมาได้.
มนุษย์เรียนรู้มาตั้งแต่เกิด โดยผ่านการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มันเป็นอุปนิสัยในทางชีววิทยาที่พวกเขาต้องคำนึงถึง ซึ่งได้ถูกกำหนดมาและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้, รวมถึงแรงกระตุ้นโดยธรรมชาติซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์มนุษย์. นอกจากนี้ ช่วงระหว่างที่มีชีวิต เขาได้เรียนรู้สิ่งสร้างทางวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งได้รับมาจากสังคม โดยผ่านการสื่อสาร และผ่านแบบฉบับอื่นๆมากมายของอิทธิพลโน้มน้าวต่างๆ.
ด้วยสิ่งสร้างทางวัฒนธรรมนี้ โดยข้ามผ่านกาลเวลา มันทำหน้าที่รับภาระต่อการเปลี่ยนแปลง และได้มากำหนดขอบเขตอย่างกว้างขวางต่อความสัมพันธ์กันระหว่าง "ปัจเจกชน" กับ "สังคม". มานุษยวิทยาสมัยใหม่ได้สอนพวกเรา โดยผ่านการสืบค้นเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับการเรียกขานว่า วัฒนธรรมดึกดำบรรพ์ต่างๆ(primitive cultures), จากการค้นคว้าดังกล่าวได้บอกกับเราว่า พฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์อาจมีความแตกต่างหรือผิดแผกจากกันได้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนทางวัฒนธรรมที่มาชักชวนหรือครอบงำ และแบบฉบับขององค์กรซึ่งมีอิทธิพลเหนือกว่าในสังคม.
มันเป็นเพราะอันนี้ที่ทำให้คนเหล่านั้น ผู้ซึ่งกำลังดิ้นรนที่จะปรับปรุงผู้คนจำนวนมาก ตระหนักดีว่า มนุษย์ไม่ควรที่จะถูกประณามหรือตำหนิ เนื่องจากสิ่งสร้างทางชีววิทยาของพวกเขา, ต่อการทำลายล้างกันและกัน หรือมีความรู้สึกเมตตาต่อความทารุณโหดร้าย, และเคราะห์กรรมของตนเอง.
ถ้าหากว่าเราถามตัวเองว่า ทำไมโครงสร้างของสังคมและท่าทีทางวัฒนธรรมของมนุษย์ จึงควรที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะทำให้ชีวิตมนุษย์มีความพึงพอใจเท่าที่จะเป็นไปได้, เราควรที่จะสำนึกอยู่เสมอเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า มันมีเงื่อนไขบางอย่าง ซึ่งเราไม่สามารถที่จะแก้ไขได้. ดังที่กล่าวเอาไว้แล้วก่อนหน้านั้น, ธรรมชาติทางชีววิทยาของมนุษย์ สำหรับวัตถุประสงค์ในทางปฏิบัติ ธรรมชาติในส่วนนี้ไม่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง.
นอกจากธรรมชาติทางชีววิทยาของมนุษย์แล้ว ในอีกด้านหนึ่ง พัฒนาการทางเทคโนโลยีและสถิติประชากรในไม่กี่ศตวรรษหลังมานี้ ได้สร้างเงื่อนไขต่างๆซึ่ง ในที่นี้ยังคงยืนหยัดอยู่ กล่าวคือ จำนวนประชากรที่ตั้งรกรากค่อนข้างหนาแน่นมีความสัมพัทธ์กับจำนวนสินค้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ต่อมาของพวกเขา, การแบ่งแยกอย่างสุดขั้วเกี่ยวกับแรงงาน และเครื่องมือการผลิตที่รวมศูนย์ คือสิ่งจำเป็นอย่างเบ็ดเสร็จ.
วันเวลา - ซึ่งมองย้อนกลับไป ที่ดูเหมือนว่าค่อนข้างจะงดงาม - มันได้สูญสลายหายไปตลอดกาล เมื่อปัจเจกชนแต่ละคน หรือคนกลุ่มเล็กๆ สามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้. มันอาจเป็นเพียงการพูดที่เกินความเป็นจริงไปเล็กๆน้อยก็ได้ที่ว่า มนุษยชาติ, นับถึงปัจจุบัน, ได้สร้างชุมชนโลกอันหนึ่งของการผลิตและการบริโภคขึ้นมา
มาถึงตรงนี้ ก็มาถึงจุดที่ข้าพเจ้าอาจต้องชี้แจงให้ทราบเพียงสั้นๆถึงสิ่งที่ได้ทำขึ้นมา เกี่ยวกับสาระสำคัญของวิกฤตการในยุคสมัยของเรา ที่มันไปเกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ของ"ปัจเจกบุคคล"กับ"สังคม". ปัจเจกชนเริ่มมีสำนึกมากขึ้นกว่าที่เคยเกี่ยวกับการที่ต้องพึ่งพาอาศัยสังคม. แต่เขาไม่ได้มีประสบการณ์กับการต้องพึ่งพาอาศัยอันนี้ในด้านบวก, ในฐานะความผูกพันในด้านองค์ประกอบ, ในฐานะอำนาจการปกป้อง, แต่ค่อนข้างจะเป็นไปในฐานะการคุกคามอันหนึ่งต่อสิทธิโดยธรรมชาติของตัวเขา หรือแม้กระทั่งการดำรงอยู่ทางเศรษฐกิจของตัวเขา.
ยิ่งไปกว่านั้น, สถานะของเขาในสังคม แรงขับในการยึดถืออัตตาตนเองของการสร้างตัวเขาขึ้นมา ได้รับการเน้นย้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอ, ในขณะที่แรงขับทางสังคมของเขา ซึ่งโดยธรรมชาติอ่อนแอกว่า, เสื่อมทรามลงไปเรื่อยๆ. มนุษย์ทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดก็ตามในสังคม กำลังทุกข์ทรมานจากกระบวนการความเสื่อมทรามลงไปอันนี้.
บรรดาคนคุกทั้งหลาย ที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังติดตรึงอยู่ในกรงขังอัตตานิยมของตนเองนี้ พวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่มีความมั่นคง เปล่าเปลี่ยว และถูกคร่าเอาความไร้เดียงสาไป ปราศจากความเรียบง่าย และไร้ความสุขในชีวิตที่ไม่จำต้องเป็นผู้ช่ำชอง. มนุษย์สามารถค้นหาความหมายในชีวิตได้, แม้จะสั้นๆและมีอันตรายดั่งที่มันเป็น, เพียงผ่านการอุทิศตัวของเขาเองให้กับสังคม.
อนาธิปไตยทางเศรษฐกิจของสังคมทุนนิยมดังที่มีดำรงอยู่ในทุกวันนี้ ในความเห็นของข้าพเจ้า มันคือต้นตอกำเนิดที่แท้จริงของความชั่วร้าย. เราได้เห็นชุมชนขนาดใหญ่ตรงหน้าเรา ชุมชนของผู้ทำการผลิต สมาชิกของสิ่งซึ่งกำลังดิ้นรนต่อสู้อย่างไม่หยุดยั้ง ที่จะกีดกันหรือแย่งชิงกันและกันเกี่ยวกับผลพวงของแรงงานรวมของพวกเขา - ซึ่งไม่ได้โดยการใช้กำลัง แต่โดยการยินยอมด้วยศรัทธาทั้งหมดที่มีต่อกฎเกณฑ์ต่างๆที่ได้รับการสถาปนาขึ้นมาโดยกฎหมาย.
ในแง่มุมอันนี้, มันเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งควรจะตระหนักว่า ปัจจัยการผลิต - กล่าวคือ, สมรรถนะหรือความสามารถทางการผลิตทั้งหมดนั้น เป็นที่ต้องการเพื่อผลิตสินค้าในการบริโภค เช่นเดียวกับ สินค้าทุนที่เพิ่มขึ้น - ซึ่งในทางกฎหมาย, ส่วนใหญ่แล้ว, จะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของปัจเจกบุคคลทั้งหลาย.
สำหรับจุดมุ่งหมายเพื่อให้ง่ายสำหรับผู้อ่าน, ในการสนทนากันที่จะตามมานั้น ข้าพเจ้าอย่างจะเรียกคนกลุ่มหนึ่งว่า"บรรดาคนงานทั้งหลาย" ซึ่งหมายความถึงผู้คนทั้งหมดเหล่านั้น ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมปันในความเป็นเจ้าของเกี่ยวกับเครื่องมือหรือปัจจัยการผลิตเลย - แม้ว่าอันนี้จะไม่ลงรอยสอดคล้องกับการใช้ศัพท์คำนี้กันอยู่ตามธรรมเนียมเท่าใดนักก็ตาม.
การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต(ทุน)ซึ่งในฐานะหนึ่งนั้น ได้ซื้อพลังแรงงานของบรรดาคนงานทั้งหลาย. โดยการใช้ปัจจัยการผลิต, บรรดาคนงานทั้งหลายได้ผลิตสินค้าใหม่ๆออกมา ซึ่งได้กลายเป็นสมบัติของนายทุน. จุดสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการอันนี้ คือความสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งที่บรรดาคนงานทั้งหลายผลิต กับ สิ่งที่พวกเขาต้องจ่าย, ทั้งคู่ถูกนำมาวัดในเทอมต่างๆของมูลค่าที่แท้จริง.
ภายใต้ขอบเขตสัญญาหรือข้อตกลงด้านแรงงานที่"เป็นอิสระ", สิ่งที่บรรดาคนงานได้รับและได้ถูกกำหนด ไม่ใช่โดยมูลค่าที่แท้จริงของสินค้าที่เขาผลิต, แต่โดยความต้องการต่างๆของเขาที่น้อยที่สุด และโดยความต้องการของบรรดานายทุน สำหรับพลังแรงงานในความสัมพันธ์กับจำนวนคนงานทั้งหลายที่แข่งขันกันเพื่องานต่างๆ. มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะเข้าใจว่า แม้แต่ในทางทฤษฎี ค่าทดแทนหรือค่าจ้างของคนงานทั้งหลาย ไม่ได้ถูกกำหนดโดยมูลค่าของผลผลิตของเขา.
ทุนส่วนตัว(ทุนเอกชน) มีความโน้มเอียงที่จะกลายไปรวมศูนย์อยู่ในมือของคนเพียงไม่กี่คน, บางส่วนเนื่องจากการแข่งขันท่ามกลางบรรดานายทุนทั้งหลาย, และบางส่วนเป็นเพราะพัฒนาการทางเทคโนโลยี และการแบ่งแยกที่เพิ่มมากขึ้นของแรงงาน ซึ่งไปกระตุ้นหรือสนับสนุนการก่อตัวขึ้นมาของหน่วยการผลิตขนาดใหญ่ ด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลงอันหนึ่ง. ผลลัพธ์ของพัฒนาการเหล่านี้ เป็นลักษณะของคณาธิปไตยอย่างหนึ่งของทุนเอกชน พลังอำนาจมหาศาลอันนี้ไม่สามารถที่จะถูกตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพได้ แม้แต่โดยสังคมที่มีองค์กรการเมืองแบบประชาธิปไตย.
นอกจากนี้ เมื่อมองผ่านระบบทางการเมือง จะเห็นว่าอันนี้เป็นความจริง นับแต่บรรดาสมาชิกทั้งหลายซึ่งเป็นตัวแทนทางกฎหมาย ได้ถูกคัดเลือกโดยพรรคการเมือง, และส่วนใหญ่ของพรรคการเมืองนั้น เงินทุนที่พวกเขาได้รับการสนับสนุน ได้มาจากแหล่งทุนต่างๆ. ด้วยเหตุนี้มันจึงมีนัยสำคัญเกี่ยวกับอิทธิพลครอบงำบางอย่างจากบรรดานายทุนเอกชนทั้งหลาย, โดยวัตถุประสงค์ต่างๆ, ซึ่งในท้ายที่สุด ได้แยกประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกจากสภานิติบัญญัติ. ผลที่ตามมาตามข้อเท็จจริงก็คือว่า ตัวแทนของประชาชน(หรือนักการเมือง) ไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์มากพอ เกี่ยวกับส่วนที่เป็นชนชั้นล่างของประชากรของสังคม.
ยิ่งไปกว่านั้น ภายใต้เงื่อนไขที่มีอยู่ บรรดานายทุนเอกชนทั้งหลายได้เข้ามาควบคุม, โดยตรงหรือโดยอ้อม, ในส่วนของต้นตอหลักสำคัญของข้อมูล(สิ่งพิมพ์ วิทยุ การศึกษา)อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ดังนั้น จึงเป็นการยากมาก และอันที่จริงในกรณีส่วนใหญ่มันเป็นไปไม่ได้, สำหรับพลเมืองในฐานะปัจเจกชนที่จะเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่เป็นภววิสัย และใช้ประโยชน์ทางสติปัญญาเกี่ยวกับสิทธิต่างๆทางการเมืองของเขา.
ด้วยเหตุนี้ สถานการณ์ที่ดำรงอยู่ทั่วไปในทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นเจ้าของเกี่ยวกับทุน ได้ถูกทำให้มีลักษณะเฉพาะขึ้นมา โดยหลักการที่สำคัญสองประการ:
ประการแรก, ปัจจัยการผลิต(ทุน) ถูกเป็นเจ้าของโดยเอกชน และบรรดาผู้เป็นเจ้าของ ต่างจับจ่ายเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ในฐานะที่พวกมันดูเหมาะสม
ประการที่สอง, ข้อตกลงหรือสัญญาเกี่ยวกับแรงงานที่เป็นอิสระ. (ปราศจากข้อผูกมัด)
แน่นอน, มันไม่มีสิ่งที่ยึดถือได้ในฐานะที่เป็นสังคมทุนแท้ๆหรือบริสุทธิ์ในความหมายนี้. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง, ควรที่จะตราลงไปด้วยว่า บรรดาคนงานทั้งหลาย, โดยผ่านการต่อสู้อันยาวนานและขมขื่นต่างๆ, ได้ประสบความสำเร็จในด้านความมั่นคงปลอดภัยขึ้นมาบ้าง กล่าวคือ รูปแบบบางอย่างได้มีการปรับปรุงขึ้นมาเล็กน้อย เกี่ยวกับ"สัญญาหรือข้อตกลงที่เป็นอิสระ" สำหรับคนงานบางประเภท. แต่ในส่วนทั้งหมดนั้น เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ ไม่ได้ผิดแผกแตกต่างมากมายอะไรนักไปจากลัทธิทุนนิยมในอดีต.
เมื่อมามองดูในเรื่องของการผลิต... การผลิตถูกทำขึ้นเพื่อผลกำไร มิได้ทำเพื่อใช้สอย. นอกจากนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดว่า ผู้คนทั้งหมดที่มีความประสงค์จะได้ทำงานและตั้งใจที่จะทำงานจะได้งานทำ แต่มันกลับกลายเป็นว่า ผู้คนเหล่านั้นมักจะอยู่ในฐานะหนึ่งซึ่งต้องเสาะหาการจ้างงานเสมอๆ; "กองทัพคนว่างงาน"จึงมีอยู่เกือบตลอดเวลา.
บรรดาคนงานทั้งหลาย ต่างหวาดกลัวอยู่ทุกๆวันเกี่ยวกับการสูญเสียงานของตนไป. เมื่อไม่ได้รับการจ้างงาน หรือบรรดาคนงานทั้งหลาย มีรายได้ไม่พอเพียงมาจากค่าจ้างแรงงานเพียงเล็กน้อย มันจึงไม่เปิดช่องให้มีตลาดที่ทำกำไรขึ้นมา, ผลผลิตเกี่ยวกับสินค้าต่างๆของผู้บริโภคจึงถูกจำกัด, ความลำบากและทุกข์ยากจึงเป็นสิ่งที่ตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้.
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หลายครั้ง ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างมากกว่าจะเป็นการทำให้เกิดการลดภาระในการทำงานที่ยุ่งยากให้ง่ายลง. แรงกระตุ้นเกี่ยวกับผลกำไร, เชื่อมโยงกับการแข่งขันท่ามกลางบรรดานายทุน ต้องรับผิดชอบต่อการไร้เสถียรภาพในการสะสมเพิ่มพูน และการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับทุน ซึ่งนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่รุนแรง. การแข่งขันอันไร้ขีดจำกัด ได้นำไปสู่ความสูญเปล่าของแรงงานจำนวนมหาศาล, และน้อมนำไปสู่ความพิกลพิการเกี่ยวกับความสำนึกทางสังคมของปัจเจกชน ซึ่งข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้.
ความพิกลพิการของปัจเจกชนที่ข้าพเจ้าพูดถึง มันคือความชั่วร้ายเลวทรามอย่างที่สุดของลัทธิทุนนิยมที่ได้ก่อขึ้น. ระบบการศึกษาทั้งหมดของเราต้องเจ็บปวดจากความชั่วร้ายอันนี้. ท่าทีหรือทัศนะคติเกี่ยวกับการแข่งขันที่มากเกินไปได้ถูกพร่ำสอนให้กับนักเรียน นักศึกษา, ผู้ซึ่งได้รับการฝึกให้บูชาต่อความสำเร็จหรืออยากประสบความสำเร็จ ในฐานะที่เป็นการเตรียมตัวอันหนึ่งเพื่ออาชีพการงานในอนาคตของตนเอง
ข้าพเจ้าถูกทำให้เชื่อมั่นว่า มันมีเพียงหนทางเดียวที่จะขจัดความชั่วร้ายอันรุนแรงเหล่านี้ไปได้, กล่าวคือ โดยผ่านการสถาปนาเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมขึ้นมา ซึ่งจะต้องสอดคล้องกันไปกับระบบการศึกษาอันหนึ่ง ที่มีการปรับทิศทางไปสู่เป้าหมายต่างๆทางสังคม. ในเศรษฐกิจเช่นนั้น ปัจจัยการผลิตจะถูกเป็นเจ้าของโดยตัวของสังคมเอง และได้รับการใช้เป็นประโยชน์ในแบบที่ได้วางแผนเอาไว้.
เศรษฐกิจที่มีการวางแผน ซึ่งได้ปรับไปสู่การผลิตเพื่อความต้องการต่างๆของชุมชน จะกระจายงานที่ต้องทำไปในท่ามกลางผู้คนเหล่านั้นทั้งหมด ที่สามารถทำงานได้ และจะประกันความมั่นใจในการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของทุกๆคน, ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย และเด็ก. การศึกษาของปัจเจกชน นอกเหนือจากจะส่งเสริมสนับสนุนความสามารถภายในของแต่ละคนแล้ว จะพยายามมุ่งมั่นพัฒนาความรู้สึกเกี่ยวกับความรับผิดชอบของพวกเขาขึ้นมาให้มีต่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งอันนี้จะเข้ามาแทนที่การยกย่องสรรเสริญเกี่ยวกับพลังอำนาจและความสำเร็จในสังคมของเราทุกวันนี้.
อย่างไรก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจำไว้ด้วยว่า เศรษฐกิจที่มีการวางแผนนั้น ยังคงไม่ใช่ลัทธิสังคมนิยม เศรษฐกิจที่มีการวางแผนเช่นนั้น จะต้องสอดคล้องไปพร้อมกันกับการพิชิตความเป็นปัจเจกได้อย่างสมบูรณ์ ความสัมฤทธิผลหรือความสำเร็จของลัทธิสังคมนิยม ต้องการแก้ปัญหาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆทางสังคมการเมืองที่ยุ่งยากอย่างยิ่งบางประการ
คำถามมีว่า... มันจะเป็นไปได้อย่างไร, (ในทัศนะของการรวมศูนย์ของพลังอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ), ที่จะปกป้องระบบเจ้าขุนมูลนายและราชการ จากการกลายไปสู่การมีอำนาจอย่างล้นเหลือและความหยิ่งยะโส ? คำถามต่อมาคือ สิทธิต่างๆของปัจเจกชนสามารถที่จะได้รับการคุ้มครองได้อย่างไร ? และ นอกจากนั้น ดุลยภาพของ"ประชาธิปไตย"กับ"อำนาจของเจ้าขุนมูลนายและข้าราชการ" จะได้รับการทำให้เกิดความมั่นใจว่า "มันเท่าเทียมกัน" ได้อย่างไร ?
ความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายต่างๆและปัญหามากมาย ของลัทธิสังคมนิยม มันมีนัยสำคัญอย่างยิ่งในยุคของเราที่กำลังมีการเปลี่ยนผ่าน. ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน, อิสระภาพและการสนทนาโดยไม่มีการปิดกั้นเกี่ยวกับปัญหาต่างๆเหล่านี้ อยู่ภายใต้อำนาจต้องห้าม(taboo)ที่ไม่ควรไปแตะต้อง ข้าพเจ้าเห็นว่า รากฐานของนิตยสารฉบับนี้(Monthly Review) จะเป็นสิ่งที่สำคัญในการให้บริการทางสังคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้
Why Socialism?
by Albert Einstein
Monthly Review
This essay was originally published in the first issue of Monthly Review (May 1949).
Is it advisable for one who is not an expert on economic and social issues to express views on the subject of socialism? I believe for a number of reasons that it is.
Let us first consider the question from the point of view of scientific knowledge. It might appear that there are no essential methodological differences between astronomy and economics: scientists in both fields attempt to discover laws of general acceptability for a circumscribed group of phenomena in order to make the interconnection of these phenomena as clearly understandable as possible. But in reality such methodological differences do exist. The discovery of general laws in the field of economics is made difficult by the circumstance that observed economic phenomena are often affected by many factors which are very hard to evaluate separately. In addition, the experience which has accumulated since the beginning of the so-called civilized period of human history has—as is well known—been largely influenced and limited by causes which are by no means exclusively economic in nature. For example, most of the major states of history owed their existence to conquest. The conquering peoples established themselves, legally and economically, as the privileged class of the conquered country. They seized for themselves a monopoly of the land ownership and appointed a priesthood from among their own ranks. The priests, in control of education, made the class division of society into a permanent institution and created a system of values by which the people were thenceforth, to a large extent unconsciously, guided in their social behavior.
But historic tradition is, so to speak, of yesterday; nowhere have we really overcome what Thorstein Veblen called "the predatory phase" of human development. The observable economic facts belong to that phase and even such laws as we can derive from them are not applicable to other phases. Since the real purpose of socialism is precisely to overcome and advance beyond the predatory phase of human development, economic science in its present state can throw little light on the socialist society of the future.
Second, socialism is directed towards a social-ethical end. Science, however, cannot create ends and, even less, instill them in human beings; science, at most, can supply the means by which to attain certain ends. But the ends themselves are conceived by personalities with lofty ethical ideals and—if these ends are not stillborn, but vital and vigorous—are adopted and carried forward by those many human beings who, half unconsciously, determine the slow evolution of society.
For these reasons, we should be on our guard not to overestimate science and scientific methods when it is a question of human problems; and we should not assume that experts are the only ones who have a right to express themselves on questions affecting the organization of society.
Innumerable voices have been asserting for some time now that human society is passing through a crisis, that its stability has been gravely shattered. It is characteristic of such a situation that individuals feel indifferent or even hostile toward the group, small or large, to which they belong. In order to illustrate my meaning, let me record here a personal experience. I recently discussed with an intelligent and well-disposed man the threat of another war, which in my opinion would seriously endanger the existence of mankind, and I remarked that only a supra-national organization would offer protection from that danger. Thereupon my visitor, very calmly and coolly, said to me: "Why are you so deeply opposed to the disappearance of the human race?"
I am sure that as little as a century ago no one would have so lightly made a statement of this kind. It is the statement of a man who has striven in vain to attain an equilibrium within himself and has more or less lost hope of succeeding. It is the expression of a painful solitude and isolation from which so many people are suffering in these days. What is the cause? Is there a way out?
It is easy to raise such questions, but difficult to answer them with any degree of assurance. I must try, however, as best I can, although I am very conscious of the fact that our feelings and strivings are often contradictory and obscure and that they cannot be expressed in easy and simple formulas.
Man is, at one and the same time, a solitary being and a social being. As a solitary being, he attempts to protect his own existence and that of those who are closest to him, to satisfy his personal desires, and to develop his innate abilities. As a social being, he seeks to gain the recognition and affection of his fellow human beings, to share in their pleasures, to comfort them in their sorrows, and to improve their conditions of life. Only the existence of these varied, frequently conflicting, strivings accounts for the special character of a man, and their specific combination determines the extent to which an individual can achieve an inner equilibrium and can contribute to the well-being of society. It is quite possible that the relative strength of these two drives is, in the main, fixed by inheritance. But the personality that finally emerges is largely formed by the environment in which a man happens to find himself during his development, by the structure of the society in which he grows up, by the tradition of that society, and by its appraisal of particular types of behavior. The abstract concept "society" means to the individual human being the sum total of his direct and indirect relations to his contemporaries and to all the people of earlier generations. The individual is able to think, feel, strive, and work by himself; but he depends so much upon society—in his physical, intellectual, and emotional existence—that it is impossible to think of him, or to understand him, outside the framework of society. It is "society" which provides man with food, clothing, a home, the tools of work, language, the forms of thought, and most of the content of thought; his life is made possible through the labor and the accomplishments of the many millions past and present who are all hidden behind the small word “society.”
It is evident, therefore, that the dependence of the individual upon society is a fact of nature which cannot be abolished—just as in the case of ants and bees. However, while the whole life process of ants and bees is fixed down to the smallest detail by rigid, hereditary instincts, the social pattern and interrelationships of human beings are very variable and susceptible to change. Memory, the capacity to make new combinations, the gift of oral communication have made possible developments among human being which are not dictated by biological necessities. Such developments manifest themselves in traditions, institutions, and organizations; in literature; in scientific and engineering accomplishments; in works of art. This explains how it happens that, in a certain sense, man can influence his life through his own conduct, and that in this process conscious thinking and wanting can play a part.
Man acquires at birth, through heredity, a biological constitution which we must consider fixed and unalterable, including the natural urges which are characteristic of the human species. In addition, during his lifetime, he acquires a cultural constitution which he adopts from society through communication and through many other types of influences. It is this cultural constitution which, with the passage of time, is subject to change and which determines to a very large extent the relationship between the individual and society. Modern anthropology has taught us, through comparative investigation of so-called primitive cultures, that the social behavior of human beings may differ greatly, depending upon prevailing cultural patterns and the types of organization which predominate in society. It is on this that those who are striving to improve the lot of man may ground their hopes: human beings are not condemned, because of their biological constitution, to annihilate each other or to be at the mercy of a cruel, self-inflicted fate.
If we ask ourselves how the structure of society and the cultural attitude of man should be changed in order to make human life as satisfying as possible, we should constantly be conscious of the fact that there are certain conditions which we are unable to modify. As mentioned before, the biological nature of man is, for all practical purposes, not subject to change. Furthermore, technological and demographic developments of the last few centuries have created conditions which are here to stay. In relatively densely settled populations with the goods which are indispensable to their continued existence, an extreme division of labor and a highly-centralized productive apparatus are absolutely necessary. The time—which, looking back, seems so idyllic—is gone forever when individuals or relatively small groups could be completely self-sufficient. It is only a slight exaggeration to say that mankind constitutes even now a planetary community of production and consumption.
I have now reached the point where I may indicate briefly what to me constitutes the essence of the crisis of our time. It concerns the relationship of the individual to society. The individual has become more conscious than ever of his dependence upon society. But he does not experience this dependence as a positive asset, as an organic tie, as a protective force, but rather as a threat to his natural rights, or even to his economic existence. Moreover, his position in society is such that the egotistical drives of his make-up are constantly being accentuated, while his social drives, which are by nature weaker, progressively deteriorate. All human beings, whatever their position in society, are suffering from this process of deterioration. Unknowingly prisoners of their own egotism, they feel insecure, lonely, and deprived of the naive, simple, and unsophisticated enjoyment of life. Man can find meaning in life, short and perilous as it is, only through devoting himself to society.
The economic anarchy of capitalist society as it exists today is, in my opinion, the real source of the evil. We see before us a huge community of producers the members of which are unceasingly striving to deprive each other of the fruits of their collective labor—not by force, but on the whole in faithful compliance with legally established rules. In this respect, it is important to realize that the means of production—that is to say, the entire productive capacity that is needed for producing consumer goods as well as additional capital goods—may legally be, and for the most part are, the private property of individuals.
For the sake of simplicity, in the discussion that follows I shall call “workers” all those who do not share in the ownership of the means of production—although this does not quite correspond to the customary use of the term. The owner of the means of production is in a position to purchase the labor power of the worker. By using the means of production, the worker produces new goods which become the property of the capitalist. The essential point about this process is the relation between what the worker produces and what he is paid, both measured in terms of real value. Insofar as the labor contract is “free,” what the worker receives is determined not by the real value of the goods he produces, but by his minimum needs and by the capitalists' requirements for labor power in relation to the number of workers competing for jobs. It is important to understand that even in theory the payment of the worker is not determined by the value of his product.
Private capital tends to become concentrated in few hands, partly because of competition among the capitalists, and partly because technological development and the increasing division of labor encourage the formation of larger units of production at the expense of smaller ones. The result of these developments is an oligarchy of private capital the enormous power of which cannot be effectively checked even by a democratically organized political society. This is true since the members of legislative bodies are selected by political parties, largely financed or otherwise influenced by private capitalists who, for all practical purposes, separate the electorate from the legislature. The consequence is that the representatives of the people do not in fact sufficiently protect the interests of the underprivileged sections of the population. Moreover, under existing conditions, private capitalists inevitably control, directly or indirectly, the main sources of information (press, radio, education). It is thus extremely difficult, and indeed in most cases quite impossible, for the individual citizen to come to objective conclusions and to make intelligent use of his political rights.
The situation prevailing in an economy based on the private ownership of capital is thus characterized by two main principles: first, means of production (capital) are privately owned and the owners dispose of them as they see fit; second, the labor contract is free. Of course, there is no such thing as a pure capitalist society in this sense. In particular, it should be noted that the workers, through long and bitter political struggles, have succeeded in securing a somewhat improved form of the “free labor contract” for certain categories of workers. But taken as a whole, the present day economy does not differ much from “pure” capitalism.
Production is carried on for profit, not for use. There is no provision that all those able and willing to work will always be in a position to find employment; an “army of unemployed” almost always exists. The worker is constantly in fear of losing his job. Since unemployed and poorly paid workers do not provide a profitable market, the production of consumers' goods is restricted, and great hardship is the consequence. Technological progress frequently results in more unemployment rather than in an easing of the burden of work for all. The profit motive, in conjunction with competition among capitalists, is responsible for an instability in the accumulation and utilization of capital which leads to increasingly severe depressions. Unlimited competition leads to a huge waste of labor, and to that crippling of the social consciousness of individuals which I mentioned before.
This crippling of individuals I consider the worst evil of capitalism. Our whole educational system suffers from this evil. An exaggerated competitive attitude is inculcated into the student, who is trained to worship acquisitive success as a preparation for his future career.
I am convinced there is only one way to eliminate these grave evils, namely through the establishment of a socialist economy, accompanied by an educational system which would be oriented toward social goals. In such an economy, the means of production are owned by society itself and are utilized in a planned fashion. A planned economy, which adjusts production to the needs of the community, would distribute the work to be done among all those able to work and would guarantee a livelihood to every man, woman, and child. The education of the individual, in addition to promoting his own innate abilities, would attempt to develop in him a sense of responsibility for his fellow men in place of the glorification of power and success in our present society.
Nevertheless, it is necessary to remember that a planned economy is not yet socialism. A planned economy as such may be accompanied by the complete enslavement of the individual. The achievement of socialism requires the solution of some extremely difficult socio-political problems: how is it possible, in view of the far-reaching centralization of political and economic power, to prevent bureaucracy from becoming all-powerful and overweening? How can the rights of the individual be protected and therewith a democratic counterweight to the power of bureaucracy be assured?
Clarity about the aims and problems of socialism is of greatest significance in our age of transition. Since, under present circumstances, free and unhindered discussion of these problems has come under a powerful taboo, I consider the foundation of this magazine to be an important public service.