xs
xsm
sm
md
lg

นวัตกรรมใหม่ไทย "ตรวจสอบย้อนกลับ" หาต้นตอกุ้งส่งออกได้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สนช. ประสานกำลังกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เปิดตัว “ระบบตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับในอุตสาหกรรมกุ้งไทย” รับมาตรการของอียู ชูระบบเยี่ยมรู้ที่มากุ้งตั้งแต่เป็นตัวอ่อนจนถึงมือคนกิน ลดปัญหาอาหารส่งออกไทยด้อยคุณภาพ รอศึกษาระบบการเก็บข้อมูล พร้อมขยายฐานให้ความรู้โดยร่วมกับกระทรวงวิทย์ฯ และเนคเทคก่อนเอามาใช้จริงจัง

วานนี้ (7ธ.ค.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย และสถาบันอาหาร เปิดตัว “ระบบการตรวจสอบย้อนกลับในอุตสาหกรรมกุ้ง” ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจากในต้นปี 2548 ข้างหน้านี้กลุ่มสหภาพยุโรปหรือ EU เป็นกำหนดที่ “กฎหมายทั่วไปว่าด้วยอาหารของสหภาพยุโรปอีซี 178/2002” (EC General Food Law Regulation 178/2002) จะมีผลบังคับให้ประเทศต่างๆ ที่ส่งอาหารเข้าประเทศสมาชิกในอียูต้องปฏิบัติตาม โดยประเทศผู้ส่งออกอาหารต้องมีมาตรการในการตรวจสอบย้อนกลับอาหาร สำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ

ดร. ดิดิเยร์ มงเต้ต์ (Dr.Didier Montet) ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันซีร้าด (CIRAD) ประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า ในระบบการตรวจสอบย้อนกลับของกลุ่มสหภาพยุโรปที่จะให้มีขึ้นเป็นมาตรการทางความปลอดภัยด้านอาหาร ระบบนี้ได้นำมาใช้กันบ้างแล้วในกลุ่มประเทศในยุโรป ซึ่งในต่างประเทศที่พบก็มีสถานการณ์คล้ายๆกับกับในไทยที่มีวัตถุปนเปื้อนในอาหารมาจากสินค้าที่รับซื้อมาจากต่างประเทศ ซึ่งหากมีการนำระบบนี้มาใช้ก็จะสามารถหาต้นตอที่มาและปลายทางที่ส่งไปได้

วัตถุประสงค์ที่ใช้ระบบนี้ขึ้นเพราะปัญหาเรื่องสารปนเปื้อนหรือคุณภาพของอาหารที่นำเข้านั้นอย่างไรก็ยังคงมีเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นถ้ามีการตรวจสอบได้ก็สามารถที่จะบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามต่อไปได้ เพราะรู้ทั้งที่มาและที่ไปของตัวสินค้าว่ามาจากไหนและจะส่งไปที่ได้บ้าง ด้วยการใช้ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) การใช้ระบบนี้สามารถตรวจสอบได้ทั้งการควบุคมคุณภาพอาหาร กระบวนการผลิต การบรรจุ หรือแม้แต่การขนส่ง โดยของทุกอย่างจะมีบาร์โค้ด(barcode)กำกับมาด้วย ทำให้สามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่เริ่มการผลิตในทุกขั้นตอน

ทั้งนี้ในส่วนของซอฟท์แวร์ที่นำมาใช้ นายเชษฐา อุดมวงศ์ ผู้แทนสมาคมซอฟท์แวร์ไทย เผยว่า ถ้าทุกขั้นตอนมีการเก็บข้อมูลไว้เช่นตั้งแต่คัดลูกพันธุ์มาจากไหน จำนวนเท่าไหร่ มีกี่บ่อและมาจากแห่งไดบ้าง ด้วยการบันทึกข้อมูลในส่วนนี้ไว้ตั้งแต่ขั้นอนุบาล และผู้ที่รับต่อมาแต่ละทอดก็มีการบันทึกในส่วนของตัวเองไว้หมด เมื่อถึงส่วนของผู้ประกอบการที่มีการส่งต่อไปอีกก็สามารถที่จะตรวจสอบดูได้ว่ารับมาจากเจ้าใดบ้าง สำหรับในซอฟท์แวร์นี้ สามารถเลือกดูได้ทั้งผลการตรวจสอบที่แสดงออกมาในรูปรายงาน หรือต้องการให้แสดงเป็นแบบผังหรือห่วงโซ่ผู้ผลิตได้ซึ่งก็จะสามารถตรวจสอบได้ง่ายกว่า และยังสามารถนำส่วนนี้ไปยืนยันกับลูกค้าได้ เรียกได้ว่าสามารถตรวจสอบได้


“เริ่มจากบ่อดินดูว่าลูกกุ้งมาจากไหนจะเห็นเลยว่าเตรียมบ่อยังไงเอาลูกกุ้งมาจากไหน จำนวนเล่าไหร่ลงยังไง แล้วไปดูว่ามาจากบ่ออนุบาลไหน ใช้ยาอะไร ลูกกุ้งรับมายังไงไล่ดูมาได้เลย เรียกว่าดูได้เลยว่าพ่อมันชื่ออะไร รับมาเท่าไหร่ มีชื่อผู้ขายกุ้งมาให้ และรับมาลงที่บ่อไหนบ้าง กินอาหารอะไร เพราะฉะนั้นคำตอบที่ทางอียูต้องการ ถ้าเราคีย์ข้อมูลเข้าสู่ระบบนี้และเราคลิกเลือกการแสดงผลที่หน้าจอในแต่ละแบบก็จะสามารถตอบได้หมด” นายเชษฐา กล่าว

ในส่วนแผนการในอนาคตนั้นการจะนำระบบนี้มาใช้งานครั้งแรกคงจะต้องมีการศึกษาระบบดูก่อนว่าจะเก็บข้อมูลกันอย่างไร ในเรื่องเทคโนโลยีไทยเรามีความพร้อมอยู่แล้วอยู่ที่การขยายฐานให้ความรู้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงในเรื่องนี้ด้วยโดยต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงวิทย์ฯและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเร็วๆนี้คงจะมีการทำเวิคชอปกัน ส่วนอีกแผนหนึ่งคือการร่วมมือกับทางกรมประมงทำเป็นออนไลน์ คือเป็นระบบเปิดที่คนขายเข้าไปกรอกข้อมูลได้เลย และลูกค้าก็สามารถดูข้อมูลผ่านทางเวปไซด์ได้เลย คาดว่าระบบนี้คงใช้เวลาอีกประมาณ 1-2เดือน

“ในประเทศไทยการนำมาตรการการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้นี้ ไทยควรจะไปตกลงกันว่าให้มีการตรวจสอบย้อนกลับกันได้ และประเทศเราเองก็ไปตกลงกับฝรั่งเศสไว้ว่าให้อียูเข้ามาเทรสของเราได้ก็คือนอกจากรู้ว่าส่งจากไหนไปไหนแล้วส่วนที่อยู่ในโรงงานถ้ามั่วยังไงก็ต้องบอกได้ด้วย ดังนั้นในไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำเทคโนโลยีการสืบค้นมาใช้ เพื่อยกระดับมาตรฐานการส่งออกกุ้งของเรา  เท่าที่ได้ทดลองทำมาถ้าทำได้สักประมาณ 30 เปอเซนต์ของลูกค้าที่มีอยู่ก็น่าจะถือว่าใช้ได้ แต่ถ้ามีการบังคับว่าต้องมีการตรวจสอบได้ 100 เปอร์เซนต์ทั้งหมดถึงจะรับซื้อเลยก็คงจะออกขายกันไม่ได้ อีกอย่างในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้มูลค่าการส่งออกกุ้งของเราลดลงการนำระบบนี้เข้ามาใช้น่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้ไทยได้” ดร. ผณิศวร ชำนาญเวช นายกสมาคมอาหาร แช่เยือกแข็งไทย กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น