xs
xsm
sm
md
lg

นักวิจัย ม.เกษตรฯ ถอดรหัสพันธุกรรมปลาบึกสำเร็จ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถถอดรหัสพันธุกรรมปลาบึกเป็นผลสำเร็จ ส่งผลต่อการศึกษาประชากรและวิวัฒนาการของปลาบึกอย่างยั่งยืนต่อไป

รศ.ดร.อำนวย จรด้วง และนายประดิษฐ์ แสงทอง ภาควิชาพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งกำลังศึกษาวิจัยเรื่องการจำแนกทางพันธุกรรมประชากรปลาบึก โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ดำเนินการถอดรหัสพันธุกรรมจากไมโตคอนเดรีย ดีเอ็นเอของปลาบึกตลอดทั้งจีโนมสำเร็จอย่างสมบูรณ์แล้ว และพบว่าไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอของปลาบึกขนาด 16,333 นิวคลิโอไทด์ ประกอบด้วย ยีนควบคุมการสร้างโปรตีน 13 ชนิด ชนิดทีอาร์เอ็นเอ 22 ชนิด โรโบโซมอลอาร์เอ็นเอ 2 ชนิด และบริเวณควบคุม

สำหรับข้อมูลพันธุกรรมดังกล่าวนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาชีวประวัติ ครอบครัวและชีวประวัติของปลาบึก รวมทั้งการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ ลำดับนิวคลิโอไทด์ทั้งหมดของนิวคลิโอไทด์ของนิวคลิโอไทด์ทั้งหมดของปลาบึก นำไปฝากไว้ที่ธนาคารพันธุกรรม หรือเจนแบงก์ (GenBank) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป โดยสามารถเข้าดูข้อมูลได้ที่ http://www.ncbi.nlm.nih.gov/ ภายใต้ accession number AY 762971

ทั้งนี้ ปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียว ปัจจุบันนี้ปลาบึกเป็นปลาที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส : CITES) จัดให้อยู่ในเรด ลิสต์ (Red List) อย่างไรก็ตาม นักวิจัยไทยก็ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาบึก เมื่อปี 2526 และขณะนี้มีกระจายอยู่ตามแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ในประเทศ
กำลังโหลดความคิดเห็น