อวัยวะที่ใช้ในการสัมผัสของคนเรามีหลายชนิด “ตา” ก็เป็นอวัยวะที่ใช้ในการสัมผัสรับรู้ด้วยการมองเห็นเท่านั้น แต่เราจะมีระบบที่ใช้ในการประมวลผลหลัก คือ “สมอง” ที่จะเป็นตัวบอกว่าสิ่งที่เห็นนั้นมันคืออะไร ตาและสมองจะทำงานสัมพันธ์กันเสมอ แต่จะมีบ้างที่เกิดอาการสับสน ทำให้สิ่งที่เห็นผิดไปจากความเป็นจริง ซึ่งบางครั้งปรากฏการณ์ที่ว่านี้ อาจไม่ได้ใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายโดยตรง แต่เป็นเรื่องจริงของความรู้สึกและประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวของแต่ละคน

นี่มันเส้นตรงขนานกันแท้ๆ แต่ทำไมมันถึงเอียงได้ ?!?!

อ่านออกไหมว่าอะไร...ใบ้ให้ ถ้าอ่านไม่ออก ให้ค่อยๆ ถอยห่างออกไปเรื่อยๆ แล้วก็จะอ่านออกเอง...เออ ทำไมนะ ??
....เฉลย....

กรณีภาพ “เส้นตรงที่ไม่ขนานกัน” ที่เห็นนั้น ถ้ากลับภาพให้เป็นปกติจะเป็นตารางคล้ายตารางหมากรุก ซึ่งเส้นตรงทุกเส้นจะขนานกัน แต่เมื่อเราขยับแถวให้เลื่อนกันในลักษณะแถวเว้นแถว จะเกิดเป็นภาพดังกล่าวขึ้น เมื่อคนเรามองภาพนั้นแล้ว เห็นรูปสี่เหลี่ยมสีดำมีการเหลื่อมกัน จากประสบการณ์เดิมจะมีความรู้สึกที่สมองรับสัญญาณจากการมองเห็น ว่าเส้นตรงนั้จะต้องมีการบิดเบี้ยวไปด้วย ทำให้เห็นเส้นตรงที่ไม่ขนานกัน เกิดเป็นภาพลวงตาขึ้น แต่ที่จริงแล้วเมื่อดูในแนวราบทิศทางเดียว เส้นตรงที่ลากออกไปจะเป็นความจริงว่าเส้นตรงนั้นขนานกัน

ส่วนภาพ “วิทยาศาสตร์มีคำตอบ” เป็นอีกลักษณะหนึ่ง ที่มีการใช้สายตาทำงานร่วมกับความรู้สึกและประสบการณ์ การใช้สายตาดังกล่าวนี้ เป็นการทำงานที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างจุดโฟกัสของภาพกับระยะทาง และมุมของการมอง รวมไปถึงประสบการณ์ของการมองภาพในลักษณะ 3 มิติ ของแต่ละคนด้วย
บางคนต้องใช้เวลานานถึงจะมองเห็น หรืออาจจะต้องบอกวิธีการอยู่บ้าง แต่บางคนอาจจะมองไม่ออกเลย โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะประสบการณ์เกี่ยวกับภาพในลักษณะนี้ยังน้อยอยู่ จึงทำให้เกิดเป็นภาพลวงตาได้อีกเช่นกัน
นี่มันเส้นตรงขนานกันแท้ๆ แต่ทำไมมันถึงเอียงได้ ?!?!
....เฉลย....
กรณีภาพ “เส้นตรงที่ไม่ขนานกัน” ที่เห็นนั้น ถ้ากลับภาพให้เป็นปกติจะเป็นตารางคล้ายตารางหมากรุก ซึ่งเส้นตรงทุกเส้นจะขนานกัน แต่เมื่อเราขยับแถวให้เลื่อนกันในลักษณะแถวเว้นแถว จะเกิดเป็นภาพดังกล่าวขึ้น เมื่อคนเรามองภาพนั้นแล้ว เห็นรูปสี่เหลี่ยมสีดำมีการเหลื่อมกัน จากประสบการณ์เดิมจะมีความรู้สึกที่สมองรับสัญญาณจากการมองเห็น ว่าเส้นตรงนั้จะต้องมีการบิดเบี้ยวไปด้วย ทำให้เห็นเส้นตรงที่ไม่ขนานกัน เกิดเป็นภาพลวงตาขึ้น แต่ที่จริงแล้วเมื่อดูในแนวราบทิศทางเดียว เส้นตรงที่ลากออกไปจะเป็นความจริงว่าเส้นตรงนั้นขนานกัน
ส่วนภาพ “วิทยาศาสตร์มีคำตอบ” เป็นอีกลักษณะหนึ่ง ที่มีการใช้สายตาทำงานร่วมกับความรู้สึกและประสบการณ์ การใช้สายตาดังกล่าวนี้ เป็นการทำงานที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างจุดโฟกัสของภาพกับระยะทาง และมุมของการมอง รวมไปถึงประสบการณ์ของการมองภาพในลักษณะ 3 มิติ ของแต่ละคนด้วย
บางคนต้องใช้เวลานานถึงจะมองเห็น หรืออาจจะต้องบอกวิธีการอยู่บ้าง แต่บางคนอาจจะมองไม่ออกเลย โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะประสบการณ์เกี่ยวกับภาพในลักษณะนี้ยังน้อยอยู่ จึงทำให้เกิดเป็นภาพลวงตาได้อีกเช่นกัน