xs
xsm
sm
md
lg

พบยีนก่อ "ไข้หวัดสเปน" หวังนำทางสู่เชื้อ "หวัดนก"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


รอยเตอร์ – นักวิทยาศาสตร์ญีปุ่นพบยีนพาหะก่อไวรัสที่ทำให้ "ไข้หวัดสเปน" เมื่อปี 1918 หวังเป็นร่องรอยใหม่ไขปริศนาไวรัสอันเป็นต้นเหตุให้เกิด "หวัดนก"

ไข้หวัดสเปน” ( Spanish Flu ) ที่ระบาดเมื่อปี 1918-1919 ทำให้ผู้คนล้มตายราว 20 - 50 ล้านคนทั่วโลกนับเป็นการตายที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 100 ปี ซึ่งนักวิจัยหวังให้พัฒนาวิธีการหยุดเชื้อไวรัสที่อาจระบาดได้อีกในอนาคต โดยพยายามคลี่คลายปมปริศนาของไวรัสตัวนี้ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าไวรัสเมื่อปี 1918 มีต้นกำเนิดมาจากนกและสามารถถ่ายทอดมาสู่คน อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในเอเชียเพิ่มความหวาดกลัวว่าไวรัสอาจจะกลายพันธุ์และอาจแพร่เชื้อไปยังมนุษย์

ทั้งนี้ โยอิชิโร คาวาโอกะ (Yoshihiro Kawaoka) จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล-แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) และมหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo) รายงานในวารสารทางวิทยาศาสตร์ "เนเจอร์ (Nature) ถึงความก้าวหน้าในการศึกษาไข้หวัดสเปนว่า เขาค้นพบยีนชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า เอชเอ ( HA) หรือเฮแมกกลูตินิน (haemagglutinin) ยีนนี้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่เป็นพาหะให้เกิดโรคดังกล่าว

“ตรงจุดนี้เราไม่ทราบว่าทำไมไวรัสเอชเอในไข้หวัดสเปนทำให้เกิดโรคที่เกิดจากไวรัสได้อย่างรวดเร็ว แต่การศึกษา "เอชเอ" ตัวนี้จะทำให้พวกเรารู้และเราสามารถใช้ข้อมูลนั้นทำนายได้ว่ามันจะทำให้เกิดโรคและเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของโรคร้ายได้หรือไม่เมื่อไวรัสใหม่เกิดขึ้น” คาวาโอกะ ผู้นำทีมวิจัย กล่าว

ทั้งนี้ในรายงานระบุว่า คาวาโอกะและเพื่อนร่วมงานใช้ยีนจากไวรัสปี 1918 ซึ่งได้รับมาจากปอดของคนไข้ที่เสียชีวิต พวกเขาสังเคราะห์เอชเอและยีนอื่น ๆ จากไวรัสปี 1918 แล้วจัดการใส่ลงไปในไวรัสและทดสอบกับหนูทดลอง ต่อมาหนูก็ติดโรคอย่างรวดเร็วและระบบต่าง ๆ ก็ผิดปกติเหมือนกับคนไข้ที่ตายจากโรคระบาด เพราะอาการจากไข้หวัดในสเปนในปี 1918 คือ เลือดออกในปอด เป็นอาการเช่นเดียวกับที่พบในปอดของหนูทดลอง

คาวาโอกะกล่าวทิ้งท้ายว่า นักวิจัยเชื่อว่า "เอชเอ" มีความสำคัญ ถึงแม้ว่ายีนตัวอื่น ๆ อาจจะมีส่วนทำให้เกิดไวรัส ยีนที่นำมาทดสอบไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่เป็นพาหะให้เกิดโรคและเกิดไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ง่ายมาก ดังนั้น เราต้องการที่จะจับตาดูไวรัสเหล่านี้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ 
กำลังโหลดความคิดเห็น