xs
xsm
sm
md
lg

เด็กอินเตอร์กับปัญหาซ่อน ที่หลายครอบครัวไม่ทราบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ตัวดิฉันเอง ครูฮ้วง ผู้เรื่มสอน Homeschool จาก IGCSE ของ บางกอกพัฒนา จำได้ว่าตอนนั้นมีสอนภาษาไทยให้เด็กด้วย แล้วค่อยๆขยายมาเป็นสอนโรงเรียน Shrewsbury, RIS, ISB ต่อมาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันมาเปิดโรงเรียนเอง และมุ่งไปในทางติวเด็กเข้าเรียนต่อในอเมริกา เพราะหลักสูตรมีความกว้างและยืดหยุ่นกว่าสายอังกฤษ หากเด็กมุ่งเน้นจะเรียนต่อทางด้าน Business

นักเรียนที่สอนวันนี้ นับ ๆ มา แทบจะเจอกันตามท้องถนนทุกวัน เดินห้างทีไร เจอเด็กเข้ามาไหว้ทุกที ปัจจุบันเด็กเหล่านี้ ตอนนี้อายุ 17-32 ปี แล้ว ฝากลูกหลานมาเรียนวันนี้ก็มาก

แต่ไม่ว่าโรงเรียนอินเตอร์ในประเทศไทย จะเพิ่มจำนวนมากแค่ไหน ปัญหาเดิมๆ ที่ยังเป็นอยู่คือ ไป ๆ มา ๆ เด็กที่ได้คะแนนสูง ที่ไปถึงระดับ Ivy Leagues ของเมืองไทยมีไม่ถึง 10% ต่อปี มินำซ้ำ หลายคนส่งลุกเรียนมาเป็นหลักสิบล้าน แต่ลงเอยด้วยการคว้าน้ำเหลว ซึ่งไม่ควรที่จะต้องเกิดขึ้น และป้องกันได้หากเตรียมตัวอย่างดี

ดังนั้น หากข้อมูลเหล่านี้ช่วยได้ ดิฉันจะรู้สึกดีใจมาก

ขึ้นชื่อว่า เรียนโรงเรียนอินเตอร์ หลาย ๆ ครอบครัวมักจะนึกถึง การเรียนที่มีทุนทรัพย์มาก และได้ภาษา สถานที่เรียนโอ่โถง ยิ่งสมัยนี้โรงเรียนอินเตอร์เปิดกันเป็นดอกเห็ด ตาดีได้ ตาร้ายเสียนี่เป็นเรื่องจริง

เมื่อตัวเลือกมาก ยิ่งต้องดูให้ดีๆ ว่าตรงกับเป้าหมายที่เราอยากได้มั้ย

เมื่อส่ง Reference Letter ซึ่งแต่ละปี มีผู้ปกตรองส่งให้มาตรวจ proof มากมาย ลูกได้รับการตอบรับเข้าเรียน หลายคนโล่งใจว่าลูกน่าจะพ้นจากสภาพการเรียนหนัก การบ้านเยอะ ร้องเพลงชาติ กิจกรรมที่ไม่จำเป็นในโรงเรียน traditional school

ปัญหาที่ซ่อนอยู่ หากไม่ได้รับข้อมูล อาจเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เพราะจริง ๆ แล้วเป้าหมายของโรงเรียนอินเตอร์แต่ละช่วงอายุของเด็กนั้นมีไม่เหมือนกัน

การดูแลลูกที่เรียนอินเตอร์แบ่งเป็น 4 ช่วงเวลาคือ

• Early Age คือ ช่วงอายุ 1-5 เลือกว่าจะเรียนหลักสูตรการสอนแบบ British หรือ American

ขั้นตอนนี้สำคัญ หลายครอบครัวเลือกเพราะอยู่ใกล้บ้าน สถานที่โอ่โถง สนามกีฬากว้างใหญ่น่าเรียนแต่จริง ๆ แล้ว มีเนื้อหาสำคัญลงลึกมากกว่านั้น เช่น การสอนเป็นแบบ Reggio Emilia หรือ Montessori หรือแบบผสม หรือจริง ๆ แล้วไม่มีหลักการอะไรเลย นอกจากสถานที่สวยงาม

Reggio Emilio เป็นแนวกระตุ้น ตั้งคำถาม ให้เด็กคิด อยากเรียนรู้ และหาคำตอบจาก Materials เช่น นำใบไม้ ของเล่น มาวางบนโต๊ะ และให้เล่านิทาน เป็นต้น

Montessori เป็นแนวมีแผนการเรียนที่ชัดเจน เป็นลำดับ และมีของเล่น ให้เด็กเลือกเล่นตามใจ แต่ฝึกให้ต่อเติม ตามใจของเด็ก ครูคือ facilitator และ Guide นำทางการสอน

• Primary หรือ Junior Level คือ ช่วงอายุ 5-11 ปี เป็นช่วง Year 3-6 เป็นช่วงของการค้นหา Aspiration ความถนัด ทักษะการอยู่ในสังคม การสังเกตและเรียนรู้วิชาการ

เด็กควรมีการเรียนเสริม แบบ Tutor ประจำวิชา ที่ได้ครูที่รู้จักเด็ก เข้าใจ และวางแผนการเรียนโดยรวมได้ มากกว่าเจาะเป็นเรื่องๆ

• Senior / Sixth Form คือ ช่วงอายุ 11-18 ปี เป็นช่วงที่เด็ก เตรียมพร้อมในการสอบเข้า ในวิชาเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็น

IGCSE ควรเริ่มเรียน Year 9 และสอบ Year 10 ให้เสร็จ
IB A-Level จะเป็นการเรียนในระดับที่ลงลึกเข้าไปอีก ในช่วงชั้น Sixth Form เพื่อจะยื่นคะแนนเข้าในคณะที่ตรงกับอาชีพที่ตัวเองอยากเข้าไปทำงาน

• Sixth Form เป็นช่วงเวลาที่ควรอย่างยิ่งในการเตรียมตัวเนื้อหาเพื่อสอบ

หากไม่เตรียมการเด็กจะสับสน และรู้สึก burn out เพราะต้องรับผิดชอบหลายด้าน

ดังนั้นปัจจัยที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียน ช่วง Senior / Sixth Form คือ
• Academic Expert ที่วางแผนโดยรวม การเตรียมตัวให้เด็ก
• Parents ที่เข้าใจ และให้การสนับสนุน หาอาจารย์ ครู ที่ปรึกษาประจำวิชาให้ลูก
• Tutor ที่เป็นเพื่อนคู่คิดของเด็ก ในยามที่ท้อ อ่านไม่เข้าใจ ซักถามได้ทันที accessible
• Peers เพื่อน ที่มีเป้าหมายคล้ายกัน คือ ต้องการความสำเร็จ มากกว่าต้องการหาสังคม
• Teachers ครูที่โรงเรียน ต้องเข้าใจว่าเด็กมีภาระมาก ดังนั้นอาจมีการลดทอน การบ้าน หรือกิจกรรมบั่นทอนเวลาเด็ก
• Alumni กลุ่มศิษย์เก่า จะมีคำแนะนำ recommendation ดีๆ ให้สามารถกลับมาพิจารณาได้

เรื่องราวของเด็กอินเตอร์ยังไม่จบแค่นี้ ดิฉันเอง เริ่มสอน Homeschool ในวิชา IGCSE กับ A-LEVEL ก่อนจะมาลง SAT เห็นปัญหาและความเครียดของแต่ละครอบครัว หากมีผู้รู้ เข้าไปช่วย ปัญหาการเรียนของลูกจะบรรเทาลงได้มาก

ฝากติดตามกันในตอนต่อ ๆ ไปนะคะ
ครูฮ้วง

---------------------------


ครูฮ้วง-เสาวลักษณ์
ลี้รุ่งเรืองพร เจ้าของสถาบันCampus Genius Center ผู้สอนหลักสูตรติวเข้มเพื่อการสอบ
SAT ด้วยแนวคิดแบบCritical Thinking ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถยื่นคะแนนเข้าเรียน
และประสบความสำเร็จในการเรียนคณะอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ


กำลังโหลดความคิดเห็น