xs
xsm
sm
md
lg

เรื่องของ “ปรัชญาตะวันตก” (ตอนสิบสอง) คำคมของ “เรอเน เดคาร์ต”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


Principia philosophiae หนึ่งในผลงานสำคัญของ “รอเน เดคาร์ต”
“สอดแนมการเมือง”
“ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”

  “เรอเน เดคาร์ต” นักปรัชญาสมัยใหม่ ยังมี “คำคม” อีกจำนวนหนึ่ง ให้ผู้คนใน “ยุคสังคมดิจิทอล” ได้คิด-ได้นำไปประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์!

“เดคาร์ต” บอกถึง “ความรู้ของมนุษย์” ว่า “สองสิ่งที่มนุษย์ใช้เพื่อการแสวงหาความรู้ คือ สัญชาตญาณและการตั้งสมมุติฐาน”

ดังนั้น..“เดคาร์ต” จึงเชื่อว่า “ความคิดที่ได้จากประสาทสัมผัส เป็นความคิดที่คลุมเครือ ไม่แจ่มแจ้งและไม่ชัดเจน” และ “เพราะสิ่งที่เราเห็น เราสัมผัสมาด้วยตัวเราเอง ยังหลอกลวงเราได้เสมอ เช่น การมองเห็นใหญ่ๆ ในที่ใกล้ อาจจะเห็นเป็นสิ่งเล็กๆ ในที่ไกลได้”

“เดคาร์ต” ยังย้ำอีกว่า “นอกเหนือจากความคิดของเราแล้ว ไม่มีสิ่งใดอีกเลยที่อยู่ในอำนาจของเราอย่างแท้จริง” อืม..นักปรัชญาสมัยใหม่คนนี้มีเหตุผลน่าสนใจใช่ไหม?
 
“เดคาร์ต ”ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า “เมื่อข้าพเจ้าคิดอย่างระมัดระวังแล้ว ไม่มีสิ่งใดเลยแม้แต่เรื่องเดียว ที่แยกตัวมันออกมาจากความฝัน เจ้าแน่ใจได้อย่างไรว่า ชีวิตทั้งหมดของเจ้าไม่ได้เป็นแค่ความฝัน” จากบทที่ “ตนเอง” ถนัด รวมทั้ง “นักปรัชญาหลายคน” มักบอกว่า “มนุษย์ต้องกล้าฝันให้ไกลไปให้ถึง” ทว่า..จะ “ฝันไกลแค่ไหนก็ได้”..แต่ห้าม “ฝันไกลจนเอื้อมไม่ถึง”!

“ชีวิต” พึงเป็นเท่าที่ “เรา” จะใช้พลัง “ทำฝันเป็นจริงได้”..มิใช่หรือ?

“ข้าพเจ้าอาจสรุปเป็นกฎทั่วไปได้ว่า สิ่งใดที่เราได้รู้เห็นอย่างชัดเจนแน่นอนแล้ว สิ่งนั้นย่อมเป็นความจริง อย่างไรก็ตาม การสังเกตเพียงอย่างเดียว ย่อมยากที่เราจะสรุปสิ่งที่เราเห็นชัดเจนได้ถูกต้อง”

นั่นคือสิ่งที่ “เดคาร์ต” คิด การรู้เห็นและสังเกต “ความจริง” นั้น ก็ยังต้องใช้ “สมอง” บวก “ประสบการณ์” สังเคราะห์ข้อมูลที่มีให้ “ถูกต้อง” อีกด้วย..จริงไหม?

ทว่า..“เดคาร์ต” ยังมีแนวคิดที่ต้อง “ยกนิ้วโป้ง” ให้..ที่ว่า..

“จงเดินหน้าต่อไป จงเดินหน้าต่อไป ข้าพเจ้าได้ทำผิดในทุกสิ่งที่สามารถทำผิดได้ แต่ข้าพเจ้าก็ยังเดินหน้าต่อไป”

ว้าว! ถ้อยคำดังกล่าว “ถูกต้อง” จริงๆ! เมื่อ “ทำผิด” ก็ต้อง“ ยอมรับผิด” แล้ว “แก้ไข” จาก “ผิด” ให้เป็น “ถูก”.. แล้วเดินหน้าต่อไป! “บางคน” แม้ “ทำถูกบ่อยๆ” ก็อย่าได้เหลิงลืมตนนะโว้ย! เพราะ “หลายคนทำถูกบ่อย” จนประมาท เกิด “ผิดพลาดเพียงครั้งเดียว” ชีวิตอาจเสียคนไปเลยก็เป็นได้นะเฟ้ย!..

“ถ้าข้าพเจ้าค้นพบความจริงใหม่ใดๆ ในวิทยาศาสตร์ ข้าพเจ้าคงพูดได้ว่า ความจริงเหล่านั้น เป็นผลมาจากปัจจัยสำคัญห้าถึงหกข้อ ที่ข้าพเจ้าได้แก้ไขไปแล้ว อีกทั้งข้าพเจ้าต้องถือว่า สงครามหลายครั้งที่มีมานั้น ล้วนแล้วแต่มีโชคอยู่ข้างข้าพเจ้าทั้งนั้น”!

แหม..ก็สงครามที่ผ่านมาของ “เคคาร์ต” นั้น-คุณโชคดีนี่หว่า!?

แต่ถ้า “เดคาร์ต” ยังมีชีวิตอยู่ในยุค “ดิจิทัล” นี้.. และหาก “สงครามนิวเคลียร์” ของ “ชาติมหาอำนาจ” อุบัติขึ้น เขาจะต้องเห็นวิบัติของบางชาติ เห็น “ประชาชน” มหาศาลเผชิญกับภัยสงคราม ผู้คนบาดเจ็บล้มตายมากมาย ฯลฯ เพราะ “มนุษย์ผู้มีอำนาจ” มุ่งแต่กอบโกย “อำนาจ-เงินทอง-ผลประโยชน์” ไม่ได้มุ่งสร้างศานติสุขให้โลกแม้แต่น้อย ฯลฯ

“หากเรามีความรู้ที่ลึกซึ้งในทุกอณูของสัตว์ (เช่นมนุษย์) ด้วยความรู้เช่นนั้น บวกกับเหตุผลด้านคณิตศาสตร์ที่แน่นอน เราย่อมล่วงรู้ถึงโครงสร้างของสัตว์เหล่านั้นได้ ในทางกลับกัน หากเรารู้เห็นถึงความผิดปกติทั้งหลายในองค์ประกอบของมัน เราก็ย่อมสามารถสาวกลับไปยังธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มันได้”

ที่“เดคาร์ต”ยกประเด็นนี้ขึ้นมา และเน้นถึงการต้องรู้ถึงทุกอณูของสัตว์ ซึ่ง “มนุษย์” ก็คือ “สัตว์ชนิดหนึ่ง” บนโลกนี้ “สัตว์ทุกชนิด” ล้วนน่าเรียนรู้อย่างลึกซึ้งทั้งสิ้น ทว่า “มนุษย์” มี “สมอง” เหนือกว่าสัตว์ทั่วไป “มนุษย์” จึงมีมิติที่ต้องรับผิดชอบ! ต้องมีการค้นคว้าวิจัยในมิติต่างๆ! ต้องรู้ในสิ่งที่ถูกและผิด ควรและไม่ควร ฯลฯ ต้องมีสิทธิเสรีภาพ แต่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบกฎกติกา อีกทั้งอยู่ภายใต้กฎหมาย ฯลฯ

“เดคาร์ต” ยังได้พูดตรงไปตรงมาว่า “ย่อมเป็นความรอบคอบ หากเราจะไม่มอบความไว้วางใจอย่างเต็มเปี่ยมในสิ่งใดๆ ที่ไม่เคยหลอกลวงเรามาก่อนเลย”

ใช่! สิ่งสำคัญที่สุดที่ “เดคาร์ต” พูดคือ ต้องไม่พูดหลอกลวงกันเป็นอันขาด! แต่รู้ไหมว่า “นักการเมืองไทย” ชอบ “โกหก” จึงมัก “พูดอย่าง-ทำอย่าง”..

“ไม่มีผู้ใดที่จะคิดว่า บางสิ่งบางอย่างเป็นสิ่งแปลกหรือไร้เหตุผล หากว่านักปรัชญาหรือผู้อื่นยังไม่เคยพูดถึงสิ่งนั้นมาก่อน” และ “กฎข้อแรกคือ ข้าพเจ้าจะไม่ยอมรับว่าสิ่งใดเป็นความจริง จนกว่าข้าพเจ้าจะไม่มีข้อสงสัยในสิ่งนั้นเลย” เจ๋งว่ะ! ถูกต้องแน่นอนที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่ผ่านการค้นคว้า จนพบว่าสิ่งที่เห็นคืออะไรอย่างชัดแจ้งก่อนจะเชื่อ..มิใช่เชื่ออย่างง่ายๆ หรือเชื่อแบบงมงาย เพียงแค่ “เขาบอกว่า-คนนั้นบอกว่า” ฯลฯ
 
“เคคาร์ต” ยังได้ย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าว่า “สมองที่ฉลาดล้ำ ย่อมสามารถสร้างความชั่วร้ายอย่างที่สุดได้ เท่าๆกับสามารถสร้างความดีอย่างยิ่งใหญ่”

อืม..จริงแท้แน่นอนที่สุด! “คนสมองดี” หรือ “คนฉลาด” ย่อมเก่งกว่า “คนฉลาดน้อย” หรือ “คนโง่”.. ถ้า “ฉลาดแล้วดี” ย่อมเป็นประโยชน์ต่อชาติไม่มากก็น้อย! แต่ถ้า “ฉลาดแล้วเลว” ย่อมเป็นอันตราย! “ผู้มีอำนาจ” ทุกระดับ จึงควรสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับ “คนในชาติ”!

“การใช้เหตุผลอย่างง่ายๆ ที่ต่อเนื่องกันเป็นชุดๆ ในการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิต จนสามารถแก้โจทย์ยากๆ ได้ ทำให้ข้าพเจ้าได้คิดว่า สิ่งทั้งหลายที่เข้ามาสู่ความคิดของมนุษย์นั้น ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้องกันในรูปแบบเดียวกัน” เอ๊ะ!.. “โจทย์ยากๆ อะไรหว่า?” ของ “เคคาร์ต” ที่ใช้ “เรขาคณิต” แก้ไขได้.. อืม..อยากรู้จังเลยว่ะ?

“การท่องเที่ยว..ใกล้เคียงกับการได้พูดคุยกับคนที่มาจากศตวรรษอื่น” เห็นด้วยกับ “เดคาร์ต” พันเปอร์เซ็นต์ครับ! การท่องเที่ยวไปพบเห็นสิ่งใหม่ๆ ย่อมเพิ่มพูนความรู้ไม่มากก็น้อย แต่เมื่อเที่ยวแล้วได้รู้ในมิติต่างๆ ก็ “ควร” นำมาเผยแพร่ให้ “ผู้ไม่มีโอกาส” ได้ท่องเที่ยวได้รับรู้!
 
“มันเป็นเรื่องง่ายที่จะเกลียด แต่ยากที่จะรัก นี่คือภาวะของสรรพสิ่งทั้งหลาย สิ่งที่ดีงามทั้งหลายนั้น ยากที่จะได้มา แต่สิ่งเลวร้ายนั้นแสนง่ายที่จะเป็น”

สังคมในโลก สิ่งดีเกิดขึ้นแสนยาก ขณะที่สิ่งชั่วร้ายนั้นทำได้ง่ายดาย! เฉกเช่น “นักการเมืองไทย” ที่มัก “ทำชั่ว” ทั้ง “โกงเลือกตั้ง” และ “โกงชาติ” เป็นอาจินต์!

“ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นธรรมมากไปกว่าสามัญสำนึก ไม่มีผู้ใดคิดที่จะมีสามัญสำนึกมากไปกว่าที่เขามีอยู่แล้ว” รวมทั้ง “ข้าพเจ้าอดแปลกใจไม่ได้ที่คิดว่าสมองตนเองอ่อนแอ และมีแนวโน้มที่จะคิดผิดพลาดมากเพียง ใด”

อืม..ดูเหมือนนักปรัชญายุคใหม่อย่าง “เคคาร์ต” ไม่เคยมองข้าม “ความผิดพลาด” ของ “ตนเอง”เลยนะเนี่ย เพราะคำคมของเขามักไม่ละข้ามในสิ่งเหล่านั้น และมักติงเตือนให้ “ยอมรับผิด” เพื่อแก้ไขให้ “ทำถูก” อยู่เสมอ! จะว่าไปแล้ว..นั่นเป็น“เรื่องธรรมดา” ที่ “มนุษย์ทุกคน” ควรตระหนักและพึงกระทำมิใช่หรือ?

“หากเจ้าคิดที่จะเป็นผู้แสวงหาความจริงอย่า งแท้จริงแล้ว อย่างน้อยที่สุด ต้องมีสักครั้งในชีวิต ที่เจ้าสงสัยไปทุกเรื่องอย่างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้” และ “ข้าพเจ้าหวังว่า คนในอนาคตจะตัดสินข้าพเจ้าด้วยความเมตตา และไม่ใช่เพียงต่อสิ่งที่ข้าพเจ้าได้ให้ความกระจ่างไว้แล้วเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งที่ข้าพเจ้าได้ละไว้โดยเจตนาด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อื่นได้มีโอกาสยินดีกับการค้นพบครั้งต่อไป”

นักปรัชญาทุกคน โดยเฉพาะ “เรอเน เคคาร์ต” มักจะแสดงความยินดีกับ “นักปรัชญาผู้อื่น” และ “ตัวเอง” เสมอ.. ทุกครั้งที่ “ค้นพบความรู้ใหม่ๆ” ทางปรัชญาและทางวิทยาศาตร์ เพราะนั่นทำให้“สังคมมนุษย์”เติบโตมากยิ่งขึ้น บนหลักการ “ความจริงของเหตุผล” นั่นเอง..

“คำสุดท้าย” บทความของ “เรอเน เดคาร์ต” คือ “การได้อ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม ก็เหมือนได้แลกเปลี่ยนเรื่องราว กับผู้คนอันแสนยอดเยี่ยม ในอดีตที่ผ่านมานานนับหลายศตวรรษ”

อืม.. อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต.. “ความรู้” จะนำมาซึ่ง “เหตุผลแด่มนุษย์” และทำให้สังคมโลกเจริญยิ่งขึ้น!


กำลังโหลดความคิดเห็น