หลังศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้คดีสรรหา อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ชอบด้วยกฎหมาย แต่มือมืดกับประวิงเวลา จนเกือบ 6 เดือนแล้วก็ยังไร้การเสนอโปรดเกล้าฯ
กว่า 6 ปี ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐ ไร้ผู้นำฝ่ายบริหารตัวจริง แม้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2566 และได้อ่านคำพิพากษา คดีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือ “อธิการบดี มสธ.” เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2566 ที่มีผลทำให้ “รศ.ดร.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ” เป็น ว่าที่อธิการบดี มสธ.คนใหม่
วันนี้ (16 ส.ค.) แหล่งข่าวระดับสูงเปิดเผยว่า ผู้มีอำนาจได้ทำการประวิงเวลาอย่างต่อเนื่อง แม้ศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษา ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 โดยต่อมา สภามหาวิทยาลัย ยุค ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ได้ทำเรื่อง สอบถามไปยังกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)และสำนักงานกฤษฎีกาว่า สามารถโปรดเกล้า แต่งตั้ง “อธิการบดี มสธ.” คนใหม่ ได้หรือไม่ โดย กระทรวงอุดมศึกษาฯ ตอบกลับว่า “ไม่ขัดข้องในการเสนอโปรดเกล้าแต่งตั้ง อธิการบดี มสธ.” ส่วนสำนักงานกฤษฎีกา ไม่ขอรับพิจารณา เพราะถือว่าเรื่องอยู่ที่ศาลปกครองอยู่แล้ว
แหล่งข่าวรายงานว่าเพิ่มเติมว่า การเสนอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง อธิการบดี มสธ. ยังไม่ คืบหน้า มีแต่การ ประวิงเวลา ทั้งที่มีหลักฐาน ชัดเจน และสาระสำคัญ ที่เข้าเกณฑ์แล้ว ดังนี้
1. ศาลปกครองสูงสุดคดีสรรหาอธิการบดี ได้อ่านคำพิพากษา เสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ หนึ่ง กระบวนการสรรหาชอบด้วยกฎหมาย สอง มติที่ประชุม สภามหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และ สาม คุณสมบัติของผู้สมควรได้รับแต่งตั้งอธิการบดีไม่พบข้อบกพร่องใดๆ ชอบด้วยกฎหมาย
2. ต่อมาสภามหาวิทยาลัย อ้างว่า รับทราบคำสั่งศาล และ พร้อมปฏิบัติตาม คำสั่งศาลดังกล่าว แต่หากยังคง ไม่ยอมเสนอชื่อโปรดเกล้าฯ อย่างชัดเจน หากแต่มีการทำหนังสือไปในทำนองเพื่อขอ สอบถามกระทรวงการอุดมศึกษาว่าสามารถจะ โปรดเกล้าแต่งตั้งอธิการบดีคนใหม่ ได้หรือไม่ เนื่องจากยังคงมีคดีกรณีถอดถอนอธิการคนเดิมยังอยู่ในศาลปกครองสูงสุดที่ยังไม่ได้ตัดสิน และต่อมา กระทรวงการอุดมศึกษา ได้ตอบข้อหารือดังกล่าว ว่าไม่ขัดข้อง ให้สภามหาวิทยาลัย ดำเนินการเสนอแต่งตั้งโปรดเกล้าอธิการบดีคนใหม่ได้เลย ตาม ขั้นตอน
หากแต่สภามหาวิทยาลัย ยังคงไม่เสนอแต่งตั้งโปรดเกล้า ยังคง ประวิงเวลาโดยการ ส่งเรื่องในลักษณะทำนองเดียวกันไปให้กับสำนักงานกฤษฎีกาเพื่อตีความกรณีดังกล่าวว่าสามารถโปรดเกล้าแต่งตั้งได้หรือไม่ อีกเช่นเคย และต่อมาสำนักงานกฤษฎีกาได้ตอบหนังสือว่าไม่ขอรับการหารือ เนื่องจากเป็นคดีความอยู่ในศาลปกครองแล้ว
ปัจจุบัน สภามหาวิทยาลัย ได้เพียงแต่ให้มีการกรอกประวัติของผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีไว้เท่านั้นและให้มีการรับรอง รศ.ดร.วรรณธรรม ว่าไม่พบข้อบกพร่องหรือการกระทำผิดใด ๆ ดูเหมือนเป็นการเพียง ให้ทำเป็นพิธีกรรมเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยง การกล่าวหาว่า ละเลยล่าช้า หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.วรรณธรรม ก็ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบประวัติ 6 หน่วยงานได้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง กรมบังคับคดี สำนักงานปปท.และสำนักงานปปช.ได้ ตรวจสอบประวัติการกระทำผิดหรือการลงวินัยใดๆ ปรากฏว่าไม่พบการกระทำผิดใด ๆทั้งสิ้น
ทั้งนี้ได้มีการส่งหนังสือ "ขอให้เร่งรัดการเสนอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิการบดี" ให้กับสภามหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา หากแต่จนบัดนี้เรื่องยังคงเงียบไม่มีการดำเนินการใด ๆ ประกอบกับมีปัญหาการเมืองภายในมหาวิทยาลัยที่มีความพยายามจากฝ่ายบริหาร ที่อาจจะต้องสูญเสียอำนาจ พยายามจงใจกลั่นแกล้งให้มีการตรวจสอบการทำงานของ ผู้ได้รับการเสนอชื่อย้อนหลัง 5 ปี ซึ่งถือเป็นเรื่องที่แปลกมากที่เพิ่งจะมาดำเนินการภายหลังจากการที่ศาลพิพากษาแล้วเสมือนเป็นการจูงใจกลั่นแกล้งเพื่อให้มีมลทิน ถึงขั้น อาจจะ กล่าวหาเป็นวินัย ร้ายแรง เพื่อทำให้เกิดการขาดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี และ อาจไม่สามารถนำเสนอ โปรดเกล้า แต่งตั้งอธิการบดีคนใหม่ได้นั่นเอง
คลิกอ่านข่าวย้อนหลัง :
• ชำแหละ "มาเฟีย มสธ." ทำไม 6 ปี ยังตั้งอธิการไม่ได้ ? (16 เม.ย. 2566)
• "หมอระวี"จี้"บิ๊กตู่"เร่งจัดการปมโปรดเกล้าตำแหน่งอธิการบดี มสธ.หลังยืดเยื้อมากว่า 5 ปี (1 ธ.ค. 2565)