xs
xsm
sm
md
lg

ผ่าปมเสี่ยง "เชียงราย" เกิดอุบัติเหตุ "สงกรานต์" สูงสุด เผยแนวโน้มลดลง เร่งสืบย้อนเอาผิดขาย "น้ำเมา" เด็ก 13 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นพ.สสจ.เชียงรายแจง "สงกรานต์" เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงสุด แต่แนวโน้มลดลงจากปีก่อน ขับรถเร็ว ดื่มแล้วขับ ปัจจัยเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ เผยผู้บาดเจ็บมี 668 ราย แอดมิท 63 ราย เสียชีวิต 8 ราย ครึ่งหนึ่งตายที่จุดเกิดเหตุ ชี้ไม่สวมหมวกนิรภัย ทำเจ็บรุนแรงและตาย เร่งถอดบทเรียนป้องกันช่วงปีใหม่ เจอเด็ก 13 ปีเกิดอุบัติเหตุ 1 ราย สืบย้อนเอาผิดถึงร้านและผู้ปกครอง

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. นพ.วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) เชียงราย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) สรุปสถิติอุบัติเหตุ 7 วันช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดย จ.เชียงราย เกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 68 ครั้ง ว่า ช่วงวันที่ 11-17 เม.ย. 2566 จากข้อมูลพบว่า จ.เชียงราย เกิดอุบัติเหตุสะสม 68 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 668 ราย เข้ารับการรักษาใน รพ. 63 ราย และเสียชีวิต 8 ราย มีผู้บาดเจ็บมากเป็นอันดับ 2 ในเขตสุขภาพที่ 1 และอันดับ 5 ของประเทศ โดยอำเภอเชียงรายมีผู้บาดเจ็บมากที่สุด 193 ราย เสียชีวิต 3 ราย จากการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนทั้งพฤติกรรมและสภาพถนน พบว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดในทางตรง 80% ทำให้มีการขับขี่รถด้วยความเร็ว สอดคล้องกับข้อมูลคืออุบัติเหตุทางถนนเกิดจากขับรถเร็วเกินกำหนดถึง 51.58% รวมถึงยังมีพฤติกรรมดื่มแล้วขับ 30.53% และตัดหน้ากระชั้นชิด 15.79% โดยรถจักรยายนยนต์เกิดอุบัติเหตุสุงสุด 78.79%

ส่วนผู้บาดเจ็บที่ต้องรักษาใน รพ. 68 ราย พบว่า เป็นกลุ่มอายุ 20-29 ปีมากที่สุด 31.67% เป็นคนในพื้นที่ถึง 75.71% ผู้เสียชีวิต 8 รายเป็นการเสียชีวิตในที่เกิดเหตุครึ่งหนึ่งคือ 4 ราย และเสียชีวิตที่ รพ.อีก 4 ราย โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้ประสบเหตุมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต มาจากการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย โดยเฉพาะการไม่สวมหมวกกันน็อกมีถึง 38.02% ร่วมกับขับรถเร็วเกินกำหนด 28.92%


นพ.วัชรพงษ์กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้วถือว่าลดลง เนื่องจากมีการบูรณาการอย่างเข้มข้นระหว่างทางจังหวัด หน่วยงานสาธารณสุข ฯลฯ ในการจัดตั้งด่านชุมชน ฃเพื่ป้องปรามและคัดกรองผู้ที่ดื่มแล้วขับ ไม่ให้ออกจากหมู่บ้านไปสู่ถนน โดยมีการตั้งด่านชุมชนทั้งหมด 162 ด่าน ด่านหลัก 36 ด่าน มีการตรวจแอลกอฮอล์โดยการเป่าทั้งหมด 232 รา ยและการส่งตรวจแอลกอฮอล์ในเลือด 91 ราย โดยได้นับการสนับสุนนการตรวจจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นอกจากนี้ ยังมีการดูแลบริเวณจุดที่มีการเล่นน้ำสงกรานต์ เช่น สันโค้งน้อย อ.เมือง หรือจุดท่องเที่ยวใหม่อย่างแพเปียก อ.แม่สรวย ก็มีการบูรณาการดูแลการจราจรด้วย ทำให้ภาพรวมการเกิดอุบัติเหตุปีนี้น้อยลงจากปีที่แล้ว

สำหรับการเข้มบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการจัดทีมลงไปร่วมกับจังหวัด สรรพสามิต และตำรวจตรวจตราป้องปรามให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งร้านค้าส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือดี แต่ส่วนที่มีการทำผิดก็ได้ดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งไม่เยอะ ส่วนใหญ่จะเป็นการเตือนป้องปรามและให้แก้ไข อย่างจุดเล่นน้ำสงกรานต์ก็มีการลงไปดูแลเช่นกัน แต่ส่วนหนึ่งพบว่ามีประชาชนนำเข้ามาดื่มเองบ้างก็ได้มีการป้องปรามโดยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อสม. เป็นต้น ส่วนกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีเกิดอุบัติเหตุ ได้มีการตรวจแอลกอฮอล์ ซึ่งมี 1 ราย คือกรณีอายุ 13 ปี พบว่าดื่มแอลกอฮอล์และเกิดอุบัติเหตุก็มีการติดตามตรวจสอบย้อนกลับไปถึงผู้ปกครองและร้านค้าที่จำหน่ายแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กด้วย เพื่อเอาผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก

"ข้อมูลต่างๆ จะมีการนำมาวิเคราะห์และนำไปสู่การเตรียมความพร้อมวางแผนรองรับการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ต่อไป ซึ่งหากเป็นเรื่องของกายภาพทางถนนทางจังหวัดก็ให้ความสำคัญในการไปปรับปรุงเพื่อลดจุดเสี่ยง ส่วนสถานที่จัดงานต่างๆ ก็ต้องให้มีความเข้มข้นมีเจ้าหน้าที่จัดหน่วยจัดจุดไปประจำการตรงนั้น และทำให้ด่านชุมชนมีความชัดเจนและมีรูปธรรม มีในเชิงของการเตือนและป้องปรามยิ่งขึ้น ภาพในอนาคตการถอดบทเรียนก็ต้องให้ความร่วมมือทั้งภาคประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย" นพ.วัชรพงษ์กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น