เต็มอิ่มกับงานดีไซน์ และมหกรรมงานออกแบบยิ่งใหญ่อลังการ “Bangkok Design Week 2023” เทศกาลสำคัญของกรุงเทพมหานคร ที่จัดเต็มทั้ง 9 ย่านทั่วกรุงเทพฯ ได้แก่ ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย, เยาวราช, สามย่าน-สยาม, อารีย์-ประดิพัทธ์, พระนคร-ปากคลองตลาด-นางเลิ้ง, วงเวียนใหญ่-ตลาดพลู-คลองสาน, บางโพ, พร้อมพงษ์, เกษตรฯ และพื้นที่อื่นๆ รวมถึงจุดแสดงย่อยๆ ที่น่าสนใจอีกกว่า 20 จุด
งานดังกล่าวดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และผู้ร่วมจัดเทศกาล ทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศกว่า 60 หน่วยงาน รวมถึงนักออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์กว่า 2,000 ราย โดยมียอดผู้เข้าชมงานทั้งไทยและต่างประเทศรวมแล้วมากกว่า 4 แสนคนในแต่ละปี โดยครั้งนี้งานถูกจัดตลอด 9 วันตั้งแต่ 4-12 กุมภาพันธ์ 2566 ในช่วงที่ผ่านมา และยังมีอีกหลายย่าน ที่ยังสามารถติดตาม ผลงานได้อย่างต่อเนื่อง
งานที่มีตลอด 9 วัน 9 ย่าน ภายใต้ธีม“urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี ได้ปลุกให้แต่ละพื้นที่มีสีสัน โดยแต่ละย่านมีไฮไลต์แตกต่างกันออกไปด้วยเอกลักษณ์ และวัฒนธรรม วิถีดำเนินชีวิตของแต่ละพื้นที่ โดยหนึ่งในย่านที่เก่าแก่อยู่คู่กับงาน Bangkok Design Week มาโดยตลอด นั่นคือ “ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย ที่เป็นย่านการค้าที่สำคัญตั้งแต่กำเนิดพระนคร และเป็นชุมชนแห่งความหลากหลายของผู้คน วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ อันเป็นรากฐานหลักในการพัฒนาความเจริญที่ไม่มีวันเก่า ทำให้มีนักสร้างสรรค์หลากหลายสาขาเข้ามาผสมผสานไอเดียใหม่ๆ ต่อยอดมรดกดั้งเดิมให้มีอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่ามากขึ้น พร้อมการแต่งแต้มสีสัน ช่วยสร้างบรรยากาศความเป็นย่านสร้างสรรค์ให้เด่นชัด สอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ทั้งวิถีและผู้คน
ปัจจุบันย่านเก่าแก่แห่งพระนคร ได้รับการพัฒนาให้เป็นต้นแบบของ “ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์” ที่ได้รับการปรับโฉมทั้งเชิงกายภาพ ต่อยอดไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการให้บริการที่ทันต่อยุคสมัยมากขึ้น โดยมี CEA และภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงกลุ่มคนในชุมชนจำนวนมากร่วมมือกันสนับสนุนการขับเคลื่อน ยกระดับและพัฒนาย่านแห่งนี้ เพื่อเติมเต็มความเจริญให้ย่านนี้ยังสามารถมีชีวิต ชีวาอยู่ตลอดไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อลงลึกในพื้นที่ของย่านดังกล่าวปีนี้ มีหลายจุดเป็นไฮไลต์สำคัญ อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ กิเลน ที่เข้าร่วมงาน เป็นปีแรกเพราะเป็นปีแรก เป็นเจ้าของตำรับยาสูตรสมุนไพรที่ยืนหยัดคู่สุขภาพที่ดีของคนไทยมาช้านาน โดยคุณผึ้ง ภรณี เพชรจอม Head of Healthcare and Confectionary Marketing บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ได้ร่วมกับ คุณ ยูน-ปัญพัท เตชเมธากุล ศิลปินไทยชื่อเสียงระดับโลกผู้อยู่เบื้องหลังการพลิก “ตรากิเลน” ในรอบ 132 ปีโดยออกแบบ 5 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ โบตัน ยากฤษณากลั่น ยาธาตุ 4 อุทัยทิพย์ และทัมใจ ให้ทันสมัยและดึงดูดคนรุ่นใหม่มากขึ้น พร้อมกันนี้ ยังเป็นการเผยโฉมโลโก้ใหม่เป็นครั้งแรก
ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดถูกนำมาโชว์ที่ “ร้านฮงเซียงกง” (Hong Sieng Kong) ณ ตลาดน้อย คาเฟ่-ร้านอาหาร-แกลเลอรี ในบ้านจีนโบราณริมน้ำเจ้าพระยา ซึ่งได้ร่วมกับคุณยูน และร้านฮงเชียงกงเนรมิตพื้นที่ ภายใต้ธีม “Kilane Crimson Garden ที่เป็นสวนสมุนไพรสีแดงของกิเลนให้เป็นคาเฟ่ร่วมสมัย นำสัญลักษณ์สำคัญอย่าง กิเลน ดอกโบตั๋น และพรรณไม้นานาชนิดมาประดับผ่านการออกแบบอย่างลงตัวสไตล์โมเดิร์นวินเทจ ผสมผสานศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทยและจีนโบราณเข้าด้วยกัน แถมยังมีเครื่องแขวนกิเลนฉลุ ประดับไฟโชว์แสง สีด้วยภาพกิเลนที่เคลื่อนไหวได้ราวกับมีชีวิตกำลังท่องเที่ยวอยู่ในสวนสีแดงอลังการสุดๆ รวมทั้งมีตัวกิเลนสูง 3 เมตร เป็นแลนด์มาร์กให้ได้เช็กอิน แวะถ่ายรูปอีกด้วย
“แบรนด์กิเลน เราอยากเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น และเราเองให้ความสำคัญ กับการทำให้ชุมชนมีความยั่งยืน โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ เมื่อได้มาร่วมงานกับ Bangkok Design Week ซึ่งได้เข้าไปช่วยปรับภูมิทัศน์ย่านตลาดน้อย และร่วมกับฮงเซียงกง ร้านคาเฟ่ในชุมชน ถือเป็นการสร้างความคึกคักให้แก่ชุมชน และเมื่อมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น จะช่วยเศรษฐกิจชุมชนโดยรวม อีกทั้งการนำเสนอเรื่องของสมุนไพร และสุขภาพ เป็นการตอบโจทย์แนวคิดของงาน “urban ’NICE’ zation เมือง-มิตร-ดี” เพื่อสร้างความ ‘น่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยว เพราะถ้าคนเรามีสุขภาพดี จะใช้ชีวิตดีทั้งตนเองและผู้อื่นได้อย่างยั่งยืน” คุณผึ้ง กล่าว
นอกจากนิทรรศการสวยงามตระการตาแล้ว อีกหนึ่งไฮไลต์ที่นักออกแบบไม่ควรพลาด “เมนูขนมและเครื่องดื่ม Limit edition จากกิเลน (เฉพาะงานนี้เท่านั้น)” โดยเชฟสาวสวยมือฉมัง “เป่าเป้-เจสสิก้า หวัง” ได้รังสรรค์ขนมและเครื่องดื่มสูตรพิเศษที่ได้นำผลิตภัณฑ์ “ตรากิเลน” มาเป็นแรงบันดาลใจให้ได้ลิ้มลองความอร่อย อย่าง “ชาเครื่องเทศโซดา” ที่มีการผสมผสานของกฤษณากลั่น “ชานมกุหลาบมะลิอุทัยทิพย์” มีส่วนผสมของอุทัยทิพย์ “ยูสุขิงโซดา” มีการผสมของยาธาตุ และพลาดไม่ได้ “นมช็อกโกแลตโบตัน” หากใครได้ลิ้มรส รับรองว่าจะสนุก มีความสุขและตื่นเต้นกับประสบการณ์ความแปลกใหม่ของรสชาติสมุนไพรกับเมนูขนมหวานสมัยใหม่อย่างลงตัว แถมมีคุกกี้เสี่ยงทาย ให้เลือกอีกด้วย
นอกจาก “ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย” แล้วอีก 8 ย่านก็น่าสนใจ น่าเรียนรู้ ท่องเที่ยวไม่แพ้กัน อย่าง ย่านเยาวราช ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ไชน่าทาวน์-ย่านเยาวราช ทรงวาด สำเพ็ง สู่การสร้างสรรค์ให้ย่านแห่งนี้ไม่มีวันหลับใหลและกลายเป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ ด้านการออกแบบ UNESCO-Bangkok City of Design ภายใต้โปรเจกต์ “City Trooper X Academic Program”
ต่อด้วย ย่านสามย่าน-สยาม ศูนย์รวมแหล่งการเรียนรู้และศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ และสนามทดลองของคนสร้างสรรค์และผู้คนที่ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ มาระดมไอเดียนอกกรอบในพื้นที่ ย่านพระนคร / ปากคลองตลาด / นางเลิ้ง ย่านประวัติศาสตร์ เมืองเก่าที่มีความคลาสสิกสะท้อนความเจริญของยุคสมัย พร้อมวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นและนำมาต่อยอดอย่างสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์ สู่บริบทใหม่ของกรุงเทพฯ
หรือจะมาย่านฮิปแห่งใหม่ ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ โดยกลุ่ม AriAround ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายนักสร้างสรรค์ จัด กิจกรรม “เปิดบ้าน เปิดย่าน เปิดเมือง” ให้ชมสตูดิโด อาคารบ้านเรือน รวมถึงร้านค้า เป็นย่านสร้างสรรค์แห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมธุรกิจในพื้นที่ ย่านบางโพ สานต่อ “ถนนสายไม้บางโพ ตำนานที่มีชีวิต” พื้นที่วัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์จากผู้ผลิตงานไม้ในย่านสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม และมาหาซื้องานไม้ดีไซน์เก๋ราคาพิเศษในรอบ 15 ปี
ข้ามมาเที่ยวฝั่งธน ย่านวงเวียนใหญ่-ตลาดพลู / คลองสาน กรุงเก่าธนบุรี มุ่งหน้าวงเวียนใหญ่-ตลาดพลู / คลองสาน บนถนนสายวัฒนธรรม ความเชื่อ อาหาร และศิลปกรรม ในรูปแบบใหม่ และ ตบท้าบด้วย ย่านเกษตร โปรแกรมสายเขียวย่านเกษตร ด้วยแนวคิด GREEN LIVING กรีนดีอยู่ดี
ใครสนใจเสพงานศิลป์ งานดีไซน์ หรือใกล้ย่านไหน และติดตามกลิ่นอาย ของ“เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566” หรือ “Bangkok Design Week 2023” ที่ได้จัดไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 4-12 กุมภาพันธ์ 2566 นี้ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.bangkokdesignweek.com, FB และ IG: bangkokdesignweek, Twitter: @BKKDesignWeek, Line: @bangkokdesignweek #BKKDW2023 #BangkokDesignWeek #urbanNICEzation