ติดเชื้อโควิดรายใหม่ยังสูง 2.6 หมื่นราย 23 จังหวัดยังติดเชื้อเกิน 400 ราย ยอดดับลดลงแต่ยังสูง 69 ราย พบเด็กเล็กตายทุกวัน ล่าสุด ทารก 11 เดือน ดับเพิ่ม วัคซีนฉีดสะสมทะลุ 128 ล้านโดส พบลักลอบจากเมียนมาติดเชื้อ 14 ราย
เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำวัน ว่า ประเทศไทยยังพบผู้ติดเชื้อใหม่เกินหมื่นรายเป็นวันที่ 49 ในการระบาดระลอกโอมิครอน โดยวันนี้พบติดเชื้อรายใหม่ 26,050 ราย สะสม 3,477,030 ราย หายป่วย 22,219 ราย สะสม 3,208,271 ราย เสียชีวิต 69 ราย สะสม 24,648 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 244,111 ราย อยู่ใน รพ. 65,055 ราย อยู่ รพ.สนาม HI CI 179,056 ราย มีอาการหนัก 1,619 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจ 630 ราย อัตราครองเตียงสีเหลืองสีแดงอยู่ที่ 26.9%
ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิต 69 ราย มาจาก 33 จังหวัด ได้แก่ กทม. 16 ราย, ปทุมธานี 5 ราย, พัทลุง 4 ราย, อุบลราชธานี นครราชสีมา พิษณุโลก ลพบุรี จังหวัดละ 3 ราย, สมุทรปราการ ชัยภูมิ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา จังหวัดละ 2 ราย และ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุดรธานี สุรินทร์ แพร่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ ขุมพร ภูเก็ต ตรัง ปัตตานี ยะลา สตูล สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ชลบุรี และอุทัยธานี จังหวัดละ 1 ราย เป็นชาย 33 ราย หญิง 36 ราย อายุ 11 เดือน - 96 ปี เฉลี่ย 72 ปี โดยเป็นผู้สูงอายุและโรคประจำตัวรวม 99%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้พบเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ไม่สามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 แนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลย้อนหลัง 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค. 2565 มีรายงานเด็กเล็กเสียชีวิตจากโควิดเกือบทุกวัน ได้แก่ วันที่ 19 มี.ค. อายุ 2 ขวบ วันที่ 20 มี.ค. อายุ 1 ขวบ วันที่ 22 มี.ค.อายุ 3 ขวบ วันที่ 23 มี.ค. อายุ 2 เดือน วันที่ 24 มี.ค. อายุ 1 เดือน และวันที่ 25 มี.ค. อายุ 11 เดือน
ส่วน 10 จังหวัดที่มีรายงานติดเชื้อรายใหม่สูงสุด คือ 1. กทม. 3,739 ราย 2. นครศรีธรรมราช 1,645 ราย 3. ชลบุรี 1,090 ราย 4. สมุทรปราการ 902 ราย 5. สมุทรสาคร 831 ราย 6. ร้อยเอ็ด 655 ราย 7. นนทบุรี 647 ราย 8. ระยอง 576 ราย 9. บุรีรัมย์ 556 ราย และ 10. ปทุมธานี 535 ราย
สำหรับจังหวัดติดเชื้อถึง 100 รายขึ้นไปยังมีอีก 52 จังหวัด คือ อุบลราชธานี 531 ราย, สงขลา 479 ราย, ฉะเชิงเทรา 478 ราย, พระนครศรีอยุธยา 478 ราย, เชียงใหม่ 471 ราย, นครราชสีมา 470 ราย, สุพรรณบุรี 463 ราย, นครปฐม 450 ราย, พัทลุง 442 ราย, เพชรบุรี 423 ราย, อุดรธานี 420 ราย, สมุทรสงคราม 419 ราย, ขอนแก่น 410 ราย, สุรินทร์ 331 ราย, ปราจีนบุรี 325 ราย, อ่างทอง 309 ราย, ประจวบคีรีขันธ์ 306 ราย, ราชบุรี 306 ราย, ภูเก็ต 284 ราย, สตุล 264 ราย, กาฬสินธุ์ 258 ราย, มหาสารคาม 250 ราย, นครสวรรค์ 243 ราย, กำแพงเพชร 227 ราย, หนองคาย 221 ราย, จันทบุรี 220 ราย
ตรัง 216 ราย, พิษณุโลก 214 ราย, ระนอง 212 ราย, สระบุรี 212 ราย, สุโขทัย 209 ราย, กาญจนบุรี 201 ราย, สุราษฎร์ธานี 197 ราย, สระแก้ว 194 ราย, ศรีสะเกษ 192 ราย, ชุมพร 190 ราย, นครนายก 188 ราย, น่าน 181 ราย, สกลนคร 172 ราย, เลย 165 ราย, ตราด 162 ราย, ลพบุรี 159 ราย, ปัตตานี 154 ราย, กระบี่ 153 ราย, ตาก 146 ราย, หนองบัวลำภู 136 ราย, ชัยภูมิ 134 ราย, บึงกาฬ 132 ราย, แพร่ 123 ราย, ยะลา 120 ราย, สิงห์บุรี 103 ราย และลำปาง 100 ราย ทั้งนี้ มีจังหวัดติดเชื้อหลักหน่วยมี 2 จังหวัด คือ ลำพูน 9 ราย และชัยนาท 4 ราย
ส่วนการติดเชื้อมาจากเรือนจำพบ 102 ราย และเดินทางมาจากต่างประเทศ 36 ราย ใน 11 ประเทศ โดยมาจากเมียนมามากที่สุด 14 ราย เป็นการลักลอบเข้าประเทศทั้งหมด, เยอรมนี 5 ราย ฮ่องกง 4 ราย ที่เหลือติดเชื้อประเทศละ 1-3 ราย โดยเข้าระบบ Test&Go 15 ราย แซนด์บ็อกซ์ 5 ราย ระบบกักตัว 2 ราย และลักลอบเข้าประเทศ 14 ราย สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 1-24 มี.ค. 2565 จำนวน 205,227 ราย รายงานติดเชื้อ 1,296 ราย คิดเป็น 0.63% แบ่งเป็นระบบ Test&Go 183,169 ราย ติดเชื้อ 854 ราย คิดเป็น 0.47% แซนด์บ็อกซ์ 18,705 ราย ติดเชื้อ 349 ราย คิดเป็น 1.87% และกักตัว 3,358 ราย ติดเชื้อ 93 ราย คิดเป็น 2.77%
การฉีดวัคซีนโควิด 19 วันที่ 24 มี.ค. ฉีดได้ 238,813 โดส สะสมรวม 128,101,553 โดส เป็นเข็มแรก 55,128,608 ราย คิดเป็น 79.3% ของประชากร เข็มสอง 50,184,558 ราย คิดเป็น 72.1% ของประชากร และเข็มสาม 22,788,387 ราย คิดเป็น 32.8% ของประชากร