xs
xsm
sm
md
lg

เรื่องต้องรู้! เมื่อผู้ประกันตนมาตรา 39 กลับเข้าทำงาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หากปัจจุบันเราเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แต่เมื่อวันหนึ่งต้องกลับไปทำงาน และเข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 อีกครั้ง สิงที่ต้องรู้ คือความแตกต่างกันระหว่าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 คือ

ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่ทำงานให้กับนายจ้าง ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อาทิ พนักงานออฟฟิศ กลุ่มพนักงานโรงงาน โดยให้สิทธิประโยชน์คุ้มครอง 7 กรณีด้วยกัน คือ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน

และ ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนที่เคยอยู่ในมาตรา 33 มาก่อน โดยจ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งเมื่ออยากรักษาสิทธิประกันสังคม ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือนเมื่อลาออกจากงาน โดยจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาท ให้สิทธิประโยชน์คุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

แล้วหากเราเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เมื่อต้องกลับเข้าไปทำงานในสถานประกอบการ จะต้องจัดแจงจัดการอย่างไร?
คำตอบ คือ ไม่ต้องทำอะไรค่ะ เพราะหลังจากผู้ประกันตนมาตรา 39 กลับเข้าไปทำงานแล้วนั้น ทางนายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจ จะเป็นผู้ดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้กับเราเอง ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่เข้าทำงาน โดยที่ผู้ประกันไม่ต้องทำเรื่องลาออกจากผู้ประกันตนมาตรา 39 แต่อย่างใด

เว้นแต่... มีการค้างชำระเงินสมทบ จะต้องไปดำเนินเรื่องต่อและยกเลิกด้วยตนเอง โดยสามารถดำเนินการได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่สมัครไว้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.sso.go.th หรือ และ Line Official Account @ssothai ของสำนักงานประกันสังคม หรือ สายด่วนประกันสังคม โทร.1506 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวกได้ทุกแห่งในวันและเวลาราชการ

               


กำลังโหลดความคิดเห็น