ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50% โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท) จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ซึ่งเท่ากับ 4,800 ÷ 30 วัน จะได้ค่าจ้างเฉลี่ยวันละ 160 × 50% = 80 บาท ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 จะมี 3 ทางเลือก ซึ่งมีรายละเอียดต่างกันไป
เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยข้อมูลระบุรายละเอียดว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ผู้ประกันตนมาตรา 39 ติดเชื้อโควิดและต้องกักตัว ได้เงินชดเชยวันละ 80 บาท ส่วนมาตรา 40 มี 3 ทางเลือก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50% โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท) จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นแพทย์วินิจฉัยให้เป็นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วันต่อปีปฏิทิน สูตรการคำนวณให้ใช้ฐานค่าจ้าง 4,800 ÷ 30 วัน จะได้ค่าจ้างเฉลี่ยวันละ 160 × 50% = 80 บาท
ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 จะมี 3 ทางเลือก โดยทางเลือกที่ 1 และ ทางเลือกที่ 2 คือ ผู้ป่วยในนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไปได้ค่าชดเชยวันละ 300 บาท ได้ (2) ไม่นอนโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จ่ายค่าชดเชยวันละ 200 บาท ทั้งหมดรวมกันแล้วปีละ ไม่เกิน 30 วัน / ปี
ทางเลือกที่ 3 ผู้ป่วยในนอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไปได้ค่าชดเชยวันละ 300 บาท ได้ (2) ไม่นอนโรงพยาบาลแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จ่ายค่าชดเชยวันละ 200 บาท ทั้งหมดรวมกันปีละไม่เกิน 90 วั น /ปี
ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.sso.go.th/eform_news/ หรือโทร 1506
หน่วยงานที่ตรวจสอบ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน