xs
xsm
sm
md
lg

10 จว.เด็กติดโควิดสูง จี้ฉีดวัคซีน “ครู” หวังเปิดเรียนออนไซต์ เผย 1 มี.ค.ลดค่าตรวจ ATK และ RT-PCR

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศบค.ไฟเขียว Bubble การบินไทย-อินเดีย เตรียมชง ครม.เห็นชอบอีกรอบ หวังเพิ่มการเดินทางค้าขายและท่องเที่ยว เผยตั้งแต่ 1 มี.ค.ลดค่าตรวจ ATK จาก 300 บาท เหลือ 250 บาท RT-PCR เหลือ 900 บาท เพิ่มระบบ Hotel&Swab ใน Thailand Pass ลดปัญหาหนีตรวจเชื้อไฟเขียวที่กักตัวแรงงานต่างด้าว 17 แห่ง จี้เพิ่มฉีดวัคซีนครูหวังเปิดออนไซต์มากขึ้น

เมื่อวันที่ 11 ก.พ. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ว่า เรื่องที่ 3 ที่ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ มีการพิจารณาเห็นชอบ คือ การจัดทำความตกลง Air Travel Bubble (ATB) ระหว่างไทย-อินเดีย เนื่องจากที่ผ่านมาอินเดียระงับเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ อนุญาตเฉพาะเที่ยวบินอพยพที่จะนำคนประเทศนั้นๆ กลับมา ทำให้สายการบินของไทยไม่สามารถรับส่งผู้โดยสารรูปแบบพาริชย์ได้ เว้นทำการตกลงแบบ ATB นี้

ทั้งนี้ สำนักงานการบินพลเรือนเสนอและทำกระบวนการเดินทาง ATB ซึ่งต้องมีการดูแลผู้โดยสาร โดยให้มีการควบคุมการป้องกันการติดเชื้อโควิดอย่างดี และเสนอ ศปก. ศบค.พิจารณา และนำเข้า ศบค.พิจารณาวันนี้ และจะไปผ่าน ครม.เห็นชอบอีกรอบ ซึ่งวันนี้ผ่านแล้ว ผอ.ศบค.ก็ขอให้เร่งทำให้เห็นผลโดยเร็ว เพื่อให้การเดินทางระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งอินเดียมีประชากรจำนวนมาก และเรามีการไปมาหาสู่เป็นประจำ ก็จะได้ประโยชน์จากการทำมาค้าขายเหล่านี้และท่องเที่ยวเพิ่มเติมด้วย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เรื่องที่ 4 คือ การตรวจ ATK ที่ให้ประชาชนเข้าถึงสะดวกและค่าบริการที่เหมาะสม ซึ่งทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เสนอว่า ทุกวันนี้มีการใช้ ATK พอสมควร ส่วนใหญ่ประชาชนที่กังวลใจจะไปซื้อเองจ่ายเองตรวจเอง มีราคาแตกต่างกันไป นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่ตรวจ ATK เอง แต่ สปสช.จ่าย คือ สปสช.สนับสนุนซื้อให้และแจกผ่านทาง รพ. ร้านยา คลินิก , กลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อในพื้นที่ รพ.ชุมชนหรือสำนักงานสาะารณสุขจังหวัดดข้าไปสอบสวนโรค สปสช.ก็เป้นผู้จ่าย ถ้า RT-PCR กลุ่มเสี่ยง สงสัยว่าใช้หรือไม่ สปสช.ก็เป็นผู้จ่าย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.เป็นต้นไป มีการประมาณการณ์ว่าจะมีการใช้จ่าย ATK และราคาต่อหน่วยควรเป็นเท่าไร ซึ่งมองว่าประชาชนซื้อเองใช้เองประมาณ 5.6 หมื่นชิ้นต่อวัน ราคาน่าจะปรับเปลี่ยน 80 บาท เป็น 55 บาทได้ ส่วนหน่วยบริการที่ต้องออกพื้นที่ประมาณ 5 หมื่นรายต่อวัน สปสช.จะจ่ายให้จาก 300 บาท ไม่เกิน 250 บาท และ RT-PCR จาก 1,200 บาท เหลือ 900 บาท ซึ่งพยายามลดค่าใช้จ่าย

“เราใช้เงินมากมายในการดูแลรักษา ซึ่งบางประเทศเรื่องการตรวจบอกว่าไม่จ่ายแล้ว ของเรายังจ่ายอยู่แต่ปรับลดราคาลงมา และทราบว่ามีสินค้านวัตกรรม ATK ที่มหาวิทยาลัยบางแห่งจับมือเอกชนทำสำเร็จแล้ว ซึ่งต้องการความมั่นใจว่าสินค้าจะได้รับการซื้อและไปใช้อย่างถูกต้อง ผอ.ศบค.ยืนยันว่า ถ้าเป็นฝีมือของคนไทย มีความแม่นยำ ใช้ได้ในเชิงตรวจจริงก็ให้การสนับสนุนเต็มที่ ก็ผ่านทาง สปสช.ให้ไปเห็นชอบและนำไปสู่การสนับสุนนสินค้าคนไทย”

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เรื่องที่ 5 การเปิดรับนักท่องเที่ยวในรูปแบบ Test&Go นั้น ช่วงที่ยังไม่มี Test&Go คนเข้าประเทศช่วง 4 เดือนคือ 6.5 หมื่นคน แต่เมื่อเปิด Test&Go ช่วงปลายปี 2 เดือน คนเข้ามาประมาณ 3.2 แสนคน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า และเมื่อปรับใช้ใหม่ช่วง ก.พ. ตอนนี้ตัวเลขไม่ถึง 10 วันมาแล้ว 3.2 หมื่นราย ซึ่งที่ประชุมดูแลมั่นใจในระบบนี้พอสมควร ทีมผู้รับผิดชอบมาแจ้งว่ามีการอนุมัติเข้าประเทศอีกระบบหนึ่งที่ผูกกับ Thailand Pass คือ การตรวจสอบเรื่องของการตรวจสารคัดหลั่ง คือ Thailand Pass Hotel & Swab System (TPHS) ซึ่งที่ผ่านมามีบางคนไม่อยากเข้าระบบนี้ เข้ามาแล้วหลบการตรวจต้องไปตามหาตัวกัน ที่ประชุมรับทราบว่าระบบนี้จะเชื่อมโยง Thailand Pass ให้ได้ และทำให้มั่นใจมากขึ้นว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาประเทศไทย ได้รับการติดตามและทราบผลเร็ว ไม่ต้องรอนาน ทำให้ถูกใจคนที่มาเที่ยวและทำงานท่องเที่ยวได้มั่นใจยิ่งขึ้น

เรื่องที่ 6 แรงงานต่างด้าว ขณะนี้มีสถานที่กักตัวหลังรับอนุมัติการหาคนงานต่างด้าวเข้ามาทำงานประเทศไทย ขณะนี้มีความต้องการทางเกษตรตามฤดูกาล ซึ่งสัญชาติหลักคือกัมพูชา เมียนมา และลาว จึงอนุมัติสถานที่กักตัว 17 แห่ง 476 ห้อง รับได้ 1,368 คน มีที่ศรีสะเกษ 2 แห่ง รับได้ 176 คน, สุรินทร์ 2 แห่ง รับได้ 182 คน, สระแก้ว 3 แห่ง รับได้ 410 คน, ตราด 4 แห่ง รับได้ 270 คน, เชียงราย 2 แห่ง รับได้ 80 คน, ตาก 1 แห่ง รับได้ 120 คน, กาญจนบุรี 1 แห่ง รับได้ 80 คน และระนอง 2 แห่ง รับได้ 50 คน นอกจากนี้ แรงงานกัมพูชายังพื้นที่จันทบุรีเพิ่มเติมขึ้นมา และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดูแลอย่างดี ส่วนตอนนี้ทำไมยังเห็นการจับกุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายบ่อยๆ จึงให้ประสานดูความต้องการ ปัญหาต่างๆ ว่าจะให้เข้ามาระบบถูกต้องอย่างไร จะได้สบายใจทุกฝ่าย

และเรื่องที่ 7 การเปิดการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์โควิด ซึ่งต้องการให้เรียนภายใต้ออนไซต์มากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา 35,554 โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอน มีการจัดการเรียนออนไซต์ประมาณ 52.26% หรือ 18,582 โรง ซึ่งเป็นเรื่องที่พึงประสงค์ แต่ยังมีออนแฮนด์ ออนดีมานด์ ออนไลน์ ออนแอร์ที่เกิดขึ้น ก็เป็นประเด็นที่จะต้องพยายามสนับสนุน ส่วนอะไรที่สนับสนุนให้เกิดออนไซต์มาทกี่สุด คือ การผ่านการประเมิน Thai Stop COVID+ โดยข้อกำหนด คือ ครูบุคลากรรับวัคซีนมากกว่า 85% จัดห้องเรียนเว้นระยะห่าง 1.5 เมตร เรียนไม่เกิน 25 คนต่อห้อง ซึ่งหากยืดหยุ่นได้ในเชิงการควบคุมป้องกันโรค แต่จะเน้นเรื่องวัคซีน ซึ่งบุคลากรทางการศึกษาฉีดเข็มหนึ่งแล้ว 99.99% หรือ 1,027,266 ราย แต่เข็มสอง 79.45% ซึ่งการติดเชื้อเข็มหนึ่งไม่พอ เข็มสองบางทียังไม่พอ ต้องไปเข็มสาม ที่ประชุมรับทราบว่าต้องสนับสนุนให้มีการฉีดถึง 2 เข็ม และ 3 เข็มให้ได้ ส่วนนักเรียน 95.11% ฉีดเข็มแรก ส่วนเข็มสอง 71.41% ก็จะไล่ๆ กันไป

ส่วน 10 จังหวัดที่ติดเชื้อของเด็กอายุ 0-19 ปีสูง คือ กทม. สมุทรปราการ ภูเก็ต นนทบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และสุพรรณบุรี ซึ่งหลายจังหวัดติดอยู่ในท็อปเทนระดับประเทศด้วย ก็ขอให้รายจังหวัดไปดำเนินการด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น