xs
xsm
sm
md
lg

ม.รังสิตรับอาสาสมัครร่วมโครงการวิจัย “เภสัชพันธุศาสตร์” รับการตรวจยีนฟรี!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศูนย์ความเป็นเลิศทางเภสัชพันธุศาสตร์ฯ ม.รังสิตเปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยฐานข้อมูลทางเภสัชพันธุศาสตร์สําหรับการแพทย์ เฉพาะบุคคลในประชากรไทย วันที่ 4,11 และ 18 ก.พ.นี้ ผู้เข้าร่วมจะได้รับการตรวจยีนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ศูนย์ความเป็นเลิศทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคล วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (Excellence Pharmacogenomics and Precision Medicine Centre College of Pharmacy, Rangsit University) เปิดรับสมัครอาสาสมัครชาวไทยสุขภาพดี เข้าร่วมโครงการวิจัยฐานข้อมูลทางเภสัชพันธุศาสตร์สําหรับการแพทย์ เฉพาะบุคคลในประชากรไทย (Pharmacogenomics Database for Precision Medicine in Thai population) โครงการวิจัยเลขที่ RSUERB2021-104 โดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต

คุณสมบัติ
1. อาสาสมัครชาวไทยที่มีสุขภาพดี อายุมากกว่า 18 ปี
2. ไม่มีประวัติของอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่ทําให้เกิดผื่นแพ้ยาทางผิวหนังชนิดรุนแรง(Severe cutaneous adverse reactions, SCARs)
3. อาสาสมัครต้องอาศัยอยู่ในภูมิลําเนาต่างๆ ของประเทศไทย มากกว่า 3 รุ่น
4. อาสาสมัครแสดงความยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย

สิ่งที่ต้องการศึกษา
1. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน CANNABINOID RECEPTOR 1 และยืนทางเภสัชพลศาสตร์
2. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน CYTOCHROME P 450
3. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน HLA
4. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนที่ควบคุมการขนส่งสารผ่านเข้า-ออกเซลล์

หมายเหตุ: การศึกษาดังกล่าวจะดําเนินการตามการอนุมัติของโครงการวิจัย และการสนับสนุนทุนวิจัย

วันและเวลา
- 21 มกราคม 2565
- 4, 11 และ 18 กุมภาพันธ์ 2565
เวลา 9.00 - 16.00 น.

สถานที่
ศูนย์ความเป็นเลิศทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคล
วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ตึก 4 ชั้น 2 อาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประสิทธิ์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์ 0-2997-2222 ต่อ 1422 โทรสาร 0-2997-2222 ต่อ 1403
ADD LINE @128qyjhh

โครงการวิจัย “ฐานข้อมูลทางเภสัชพันธุศาสตร์สําหรับประชากรไทย”
โครงการวิจัยเลขที่ RSUERB2021-104
โดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยรังสิต

วัตถุประสงค์
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการกระจายตัวของเครื่องบ่งชี้ทางเภสัชพันธุศาสตร์ในประชากร ไทยเพื่อจัดทําฐานข้อมูลทางเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคลตลอดจนเป็นการนําเสนอถึงความถี่ของยีน ต่างๆที่จําเพาะต่อการศึกษาทางเภสัชพันธุศาสตร์และสามารถนําผลการศึกษาที่เป็นฐานข้อมูลดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ ในการวางแผนการรักษาทางคลินิกของประชากรไทย สนับสนุนในการกําหนดนโยบายการตรวจยืนทางเภสัชพันธุศาสตร์ของภาครัฐ ดังนั้นการจัดทําฐานข้อมูลทางเภสัชพันธุศาสตร์ของประชากรไทยที่มีข้อมูลการศึกษาทาง เภสัชพันธุศาสตร์ต่างๆจะทําให้เราทราบข้อมูลความชุกของยีนที่ใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ทางเภสัชพันธุศาสตร์ (pharmacogenomics biomarkers) เพื่อนําไปสู่การทํานายประสิทธิภาพของการใช้ยาและโอกาสในการเกิด อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาซึ่งสนับสนุนและเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ผู้ป่วยและหน่วยงานภาครัฐในการตัดสินใจเลือกยาในการรักษา การวางแผนการดําเนินการในการ รักษาผู้ป่วยแต่ละราย การป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากยา และเป็นฐานข้อมูลอ้างอิงสําหรับประชากรไทยในด้าน เภสัชพันธุศาสตร์และการแwทย์เฉพาะบุคคล

ขั้นตอนการวิจัย
1. ผู้เข้าร่วมการวิจัยอ่านเอกสารชี้แจงข้อมูล/คําแนะนําแก่ผู้เข้าร่วมการวิจัย โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยสามารถซักถามเกี่ยวกับ ข้อสงสัยในรายละเอียดงานวิจัยได้
2. ให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยลงชื่อในหนังสือยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวและเต็มใจ โดยที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะได้ทราบ รายละเอียดของโครงการวิจัยตลอดจนประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากผู้วิจัยแล้วอย่างชัดเจน ไม่มีสิ่งใดปิดบัง ซ่อนเร้นและยินยอมให้ทําการวิจัยในโครงการที่มีชื่อข้างต้น และผู้เข้าร่วมการวิจัยสามารถไม่เข้าร่วมโครงการวิจัยนี้เมื่อใด ก็ได้โดยไม่มีผลกระทบต่อการรักษาที่จึงได้รับ
3. ให้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยกรอกข้อมูลทั่วไป และช่องทางที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารในแบบบันทึกข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย
4. เจาะเลือดของผู้ป่วยอาสาสมัครทางหลอดเลือดดําที่แขนจํานวน 1 ครั้ง ปริมาตร 6 ซีซี ใส่ในหลอด EDTA tube จํานวน 1 หลอด โดยผู้ทําการเจาะเลือดคือ พยาบาลวิชาชีพ หรือนักเทคนิคการแพทย์ และแพทย์ให้การดูแล
5. แจ้งผลการตรวจตามข้อมูลช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่ให้ไว้

หมายเหตุ : ไม่ต้องงดน้ํา งดอาหาร

- ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าร่วมการวิจัย กรณีท่านอาจรู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ เครียดกับบางคําถาม ท่านมีสิทธิ์ที่ จะไม่ตอบคําถามเหล่านั้นได้ หรือหากท่านรู้สึกว่าเป็นการเสียเวลา ใช้เวลาไม่เหมาะสม ท่านสามารถขอหยุดการเก็บบันทึก ข้อมูลได้ตลอดเวลา
- ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย คือ ผู้เข้าร่วมงานวิจัยจะได้รับการบาดเจ็บจากการถูกเจาะเลือดจากเส้นเลือดดํา
- หากท่านไม่เข้าร่วมในการวิจัยนี้ก็จะไม่มีผลต่อการรักษา




กำลังโหลดความคิดเห็น