xs
xsm
sm
md
lg

วช. จับมือ มทส. เดินหน้าแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันถึง 4,000 ลิตรต่อวัน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดตั้งโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันผลักดันทดแทนเป็นน้ำมันเชิงพาณิชย์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศ
วันนี้ (26ม.ค.)สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ศูนย์สาธิตการจัดการขยะและของเสียอันตรายแบบครบวงจรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)จ.นครราชสีมาดูผลสำเร็จการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้เป็นน้ำมันทางเลือกมีศักยภาพใช้แทนน้ำมันเชิงพาณิชย์ได้โดยใช้ขยะพลาสติกจากขยะมูลฝอยชุมชนเป็นวัตถุดิบภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.)เผยเป็นเทคโนโลยีเพื่อการแข่งขันแนวโน้มการลงทุนคุ้มค่าแนะทุกภาคส่วนสนับสนุนใช้ประโยชน์ร่วมกัน

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า ขยะพลาสติกเป็นปัญหาวิกฤติระดับโลกยากต่อการกำจัดจึงเกิดวิธีการจัดการต่างๆอาทิการแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าสร้างนวัตกรรม Upcyclingฯลฯหากแต่ขยะบางส่วนยังใช้วิธีการฝังกลบเผาทำลายทิ้งลงแหล่งน้ำธรรมชาติส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรการผลิตน้ำมันทางเลือกโดยใช้วัตถุดิบจากขยะพลาสติกมาผ่านกระบวนการไพโรไลซิสให้ได้คุณภาพเทียบเคียงกับน้ำมันที่ใช้เติมรถยนต์หรือในเชิงพาณิชย์จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาวิจัยมทส.มีแนวความคิดในการจัดการขยะตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy)โดยจัดการขยะมูลฝอยให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนน้อยที่สุดควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าของขยะมูลฝอยเองมาอย่างยาวนานเป็นเวลา 20ปีแล้วถือเป็น “เทคโนโลยีเพื่อการแข่งขัน”ให้กับ Business Economy

โดยโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)เพื่อปรับปรุงระบบเดิมซึ่งเป็นโรงงานต้นแบบขนาดกำลังผลิตน้ำมันไพโรไลซิส 4,000ลิตรต่อวันและเพื่อลดต้นทุนการแปรรูปน้ำมันเริ่มตั้งแต่การคัดแยกขยะพลาสติกออกจากขยะมูลฝอยชุมชนที่รับมาจากชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสุรนารีและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้วันละ 20ตันโดยใช้เทคนิคการบำบัดขยะเชิงกลและชีวภาพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (SUT-MBT)ที่พัฒนาขึ้นด้วยการสับขยะให้เล็กนำไปหมัก 5-7วันจนได้ขยะพลาสติกที่มีความชื้นต่ำและมีองค์ประกอบสม่ำเสมอสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นน้ำมันดิบได้โดยการพัฒนาต้นแบบเตาปฏิกรณ์หลอมพลาสติกเบื้องต้น (Pre-Melting Reactor)เพื่อหลอมขยะพลาสติกก่อนป้อนเข้าสู่เตาปฏิกรณ์หลัก (Pyrolysis Rector)ในการผลิตน้ำมันในเตาปฏิกรณ์และนำความร้อนเหลือทิ้งนำกลับมาใช้ใหม่มีการปรับปรุงชุดถ่ายกากให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ในกระบวนการหลอมพลาสติกเบื้องต้นมีการนำกากของเสียจากอุตสาหกรรมสีมาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและเป็นวัตถุดิบร่วมในการผลิตด้วยในสัดส่วนร้อยละ 5-10ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันได้อย่างชัดเจนโดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สำหรับขยะพลาสติก 1กิโลกรัม (Dry basis) สามารถผลิตน้ำมันไพโรไลซิสได้ 1ลิตรโดยที่องค์ประกอบของน้ำมันฯประกอบด้วยน้ำมันดีเซลแนฟทาและน้ำมันเตาร้อยละ 53 , 32 และ 15ตามลำดับซึ่งสัดส่วนของน้ำมันดีเซลลดลง7%เนื่องจากกากของเสียจากอุตสาหกรรมสีที่นำมาใช้มาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและเป็นวัตถุดิบร่วมในการผลิตมีสัดส่วนขององค์ประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เบาซึ่งมาจากตัวทำละลายสี เมื่อทำการวิเคราะห์ต้นทุนพบว่าต้นทุนจากคัดแยกขยะพลาสติกมีจำนวน 2บาท/ลิตรต้นทุนการผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกที่กำลังการผลิตต่อเนื่อง 200ลิตร/ชั่วโมงมีจำนวนที่ลดลงอยู่ที่ 6.5บาท/ลิตรจากเดิม 8บาท/ลิตรและต้นทุนการกลั่นน้ำมันแยกลำดับส่วนคิดเป็น 4บาท/ลิตรรวมต้นทุนการแปรรูปน้ำมันทั้งสิ้น 12.50บาท/ลิตรซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำหากจะมีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ภาครัฐต้องมีกลไกสนับสนุนอีกหลายอย่างต้องมีการจับคู่กับเอกชนเพื่อนำเทคโนโลยีไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจซึ่งศักยภาพของน้ำมันไพโรไลซิสนี้มีความเป็นไปได้อย่างมาก

ผศ.ดร.วีรชัยเปิดเผยอีกว่าน้ำมันไพโรไลซิสที่กลั่นแยกได้มีคุณสมบัติเทียบเคียงกับน้ำมันเชิงพาณิชย์เป็นต้นแบบและถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซลในเตาเผาของโรงกำจัดขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยทั้งหมดอย่างครบวงจรตามแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศทำให้จ.นครราชสีมาไม่ประสบปัญหาการจัดการขยะติดเชื้อโดยเฉพาะหน้ากากอนามัยและนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานไฟฟ้าชีวมวลของมทส.หรือส่งวัตถุดิบเชื้อเพลิงไปโรงงานผลิตปูนซีมนต์โดยทั้งหมดมาจากการรับกำจัดขยะมูลฝอยที่ได้จากชุมชนที่นำมาใช้อย่างคุ้มค่า
ผศ.ดร.วีรชัย เปิดเผยอีกว่า น้ำมันไพโรไลซิสที่กลั่นแยกได้ มีคุณสมบัติเทียบเคียงกับน้ำมันเชิงพาณิชย์ เป็นต้นแบบและถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซล ในเตาเผาของโรงกำจัดขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยทั้งหมดอย่างครบวงจร ตามแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ




















กำลังโหลดความคิดเห็น