ศบค. เผย ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 14,403 ราย ผู้เสียชีวิต 189 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป 127 คน เสียชีวิตที่บ้าน 1 ราย จ.นครสวรรค์ โดยได้รับวัคซีน AZ 1 เข็ม กทม.ยังอันดับ 1 ติดเชื้อสูง 3,495 ราย แต่แนวโน้มทรงตัว ขณะนี้ต้องเฝ้าระวังในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นหลัก
วันนี้ (10 ก.ย.) เวลา 12.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 14,403 ราย โดยแบ่งเป็นติดเชื้อในประเทศ 14,062 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 341 ราย สะสม 1,352,953 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 15,610 ราย สะสม 1,197,610 ราย กำลังรักษาอยู่ 141,642 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 40,494 ราย และโรงพยาบาลสนาม 101,148 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 4,330 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 915 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 189 ราย รวมเสียชีวิต 13,920 คน
ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 14,403 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 12,770 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 1,275 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 341 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 17 ราย
สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 189 ราย ชาย 92 ราย หญิง 97 ราย เป็นชาวไทย 185 ราย เมียนมา 3 ราย อังกฤษ 1 ราย อายุค่ากลาง 68.5 ปี อายุน้อยสุด 21 ปี อายุมากสุด 103 ปี
แบ่งเป็น กทม. 25 ราย สมุทรสงคราม 15 ราย สมุทรปราการ ชลบุรี จังหวัดละ 14 ราย สมุทรสาคร 12 ราย ปทุมธานี สุพรรณบุรี จังหวัดละ 10 ราย นนทุบรี ปัตตานี จังหวัดละ 6 ราย นครราชสีมา ตาก พระนครศรีอยุธยา จังหวัดละ 5 ราย อุบลราชธานี ระนอง จังหวัดละ 4 ราย ชัยภูมิ นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต นราธิวาส ฉะเชิงเทรา อ่างทอง ราชบุรี นครนายก จังหวัดละ 3 ราย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี ลพบุรี จังหวัดละ 2 ราย สกลนคร กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ยะลา สตูล สระบุรี กาญจนบุรี สระแก้ว ตราด จังหวัดละ 1 ราย โรคประจำตัวยังเป็นปัจจัยเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง พบผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป 127 ราย อายุน้อยกว่า 60 ปี มีโรคเรื้อรัง 39 ราย ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 23 ราย เสียชีวิตที่บ้าน 1 ราย จ.นครสวรรค์ (ได้รับวัคซีน AZ 1 เข็ม 25 มิ.ย. 64) ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อจากคนรู้จัก คนในครอบครัว
สำหรับผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศวันนี้ พบลักลอบเข้าผ่านทางช่องทางธรรมชาติจากมาเลเซีย 1 ราย กัมพูชา 2 ราย
แนวโน้มสถานการณ์ในประเทศไทยภาพรวมการติดเชื้อลดลง สถานการณ์ในขณะนี้ต้องเฝ้าระวังในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นหลัก กทม. เริ่มทรงตัว 29 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้มยังทรงตัวอยู่ แม้ว่าในต่างจังหวัดมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น
10 อันดับ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ วันที่ 10 ก.ย. 2564 คือ 1. กรุงเทพมหานคร 3,495 ราย 2. สมุทรปราการ 1,037 ราย 3. ชลบุรี 802 ราย 4. สมุทรสาคร 678 ราย 5. ราชบุรี 615 ราย 6. นนทบุรี 496 ราย 7. นราธิวาส 402 ราย 8. ปราจีนบุรี 399 ราย 9. ระยอง 393 ราย 10. สระบุรี 321 ราย
สำหรับผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3,495 ราย ที่อยู่ขณะป่วยอยู่ใน กทม. 2,773 ราย ที่อยู่ขณะป่วยอยู่ต่างจังหวัดเข้ารักษาโรงพยาบาลใน กทม. 722 ราย มี 10 อันดับเขต ที่พบผู้ป่วยสูงสุด ดังนี้ 1. ห้วยขวาง 204 ราย 2. จอมทอง 136 ราย 3. บางขุนเทียน 110 ราย 4. บางกอกน้อย 94 ราย 5. ภาษีเจริญ 85 ราย 6. สายไหม 85 ราย 7. บางแค 79 ราย 8. บางพลัด 75 ราย 9. หลักสี่ 68 ราย 10. ธนบุรี 67 ราย
ขณะที่ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 เป็นต้นมา พบผู้ติดเชื้อแล้ว 1,324,090 ราย หายป่วยสะสม 1,169,965 ราย เสียชีวิตสะสม 13,637 ราย
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 224,000,374 ราย อาการรุนแรง 103,822 ราย รักษาหายแล้ว 200,588,779 ราย เสียชีวิต 4,620,011 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 41,561,156 ราย
2. อินเดีย จำนวน 33,163,004 ราย
3. บราซิล จำนวน 20,958,899 ราย
4. สหราชอาณาจักร จำนวน 7,132,072 ราย
5. รัสเซีย จำนวน 7,084,284 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 29 จำนวน 1,352,953 ราย