กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กทม.ควบคุมโรคโควิด-19 และฉีดวัคซีนเดือน ก.ค.ได้ตามเป้าหมาย 5.6 ล้านโดส การระบาดชะลอตัวลง แต่ยังมีแนวโน้มสูงอยู่ เผยแก้ปัญหาความแออัดศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อแล้ว พร้อมเอาผิดคนขายสิทธิฉีดวัคซีน ส่วนวัคซีนไฟเซอร์บริจาค 1.5 ล้านโดสมาถึงพรุ่งนี้ พร้อมจัดติวออนไลน์บุคลากรทั่วประเทศในการฉีดวัคซีนไฟเซอร์
วันนี้ (29 ก.ค.) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วย นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และแพทย์หญิงป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงข่าวความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุข และกรุงเทพมหานคร ในการฉีดวัคซีนโควิด-19
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กทม.และปริมณฑล ยังเป็นจุดศูนย์กลางการระบาดโรคโควิด- 19 การควบคุมการระบาดในพื้นที่ กทม.นั้น กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ กทม.ดำเนินการ 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1. สนับสนุนวัคซีน โดยสำนักอนามัยกระจายลงพื้นที่ต่างๆ 2. ทำงานเชิงรุกร่วมกันในชุมชนผ่าน ทีมปฏิบัติการเชิงรุก Comprehensive COVID-19 Response Team (CCR Team) 260 ทีม เพื่อค้นหาผู้ป่วยในชุมชนด้วยการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน ฉีดไปแล้ว 59,708 ราย ตรวจคัดกรองผู้อยู่ในข่ายสงสัย 81,290 ราย 3.สนับสนุนรถตรวจชีวนิรภัยพระราชทานที่สนามกีฬากองทัพอากาศธูปเตมีย์ และสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน จุดละประมาณ 1,500 คนต่อวัน และ 4. ส่งผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรคไปเป็นที่ปรึกษาการสอบสวนโรค
นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า กทม.ฉีดวัคซีนโควิด 19 รวม 5,668,720 โดส ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่สิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ต้องฉีดให้ได้ 5 ล้านโดส โดยผู้สูงอายุและ 7 โรคเรื้อรังต้องได้รับวัคซีนประมาณ 80% ซึ่งขณะนี้ค่อนข้างใกล้เคียงกับเป้าหมายแล้ว อย่างไรก็ตามยังมีแนวโน้มการระบาดสูง ต้องขอความร่วมมือใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม ล้างมือบ่อยๆ อยู่กับบ้านให้มากที่สุด ส่วนความคืบหน้าวัคซีนไฟเซอร์ที่สหรัฐอเมริกาบริจาค 1.5 ล้านโดส จะมาถึงวันพรุ่งนี้ เวลา 04.00 น. จากนั้นจะเก็บเข้าคลังวัคซีนในอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส เมื่อกระจายไปหน่วยฉีดจะนำไปเก็บในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ซึ่งจะอยู่ได้นาน 4 สัปดาห์จึงต้องรีบนำออกมาใช้
ด้าน นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ภาพความแออัดของศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาเกิดจากการเปิดให้วอล์คอินในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้น หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ และผู้ที่มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม ซึ่งเปิดถึงวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ โดยขณะนี้มีการแก้ไขปัญหาแล้วเรียบร้อย โดยให้ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัมมารับบริการช่วงบ่าย, เปิดประตูศูนย์เร็วขึ้นจาก 09.00 น. เป็นเวลา 06.00 น. วัดความดันเฉพาะรายที่มีความจำเป็น และปรับการรอคอยให้เป็นระเบียบและเว้นระยะห่าง ทั้งนี้ ต้องขออภัยที่วันนี้เลื่อนเวลาลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านเครือข่ายมือถือ 4 รายวันนี้ จาก 09.00 น. เป็น 11.00 น. เนื่องจากมีการปรับสัดส่วนการรับลงทะเบียน ให้เน้นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 กลุ่มโรคเรื้อรังมากขึ้น สำหรับกรณีการขายคิวฉีดวัคซีนนั้น ได้ร่วมกับค่ายมือถือ ตรวจพบประมาณเกือบ 100 คน ได้กันไว้เป็นพยาน และแจ้งความเพื่อดำเนินการเอาผิดอย่างถึงที่สุด ยังไม่พบบุคลากรภายในมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่หากมีส่วนเกี่ยวข้องจริงจะดำเนินการสืบสวนลงโทษ ส่วนสถานการณ์เตียงผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงที่ไม่เพียงพอ เตรียมปรับเตียงฮอสปิเทล 10-20% ให้รับผู้ป่วยสีเหลืองได้ และโรงพยาบาลทุกสังกัดพยายามขยายเตียงให้เพิ่มมากขึ้น
ด้าน แพทย์หญิงป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวว่า การบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ของ กทม. มีคณะอนุกรรมการบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ประกอบด้วย ผู้แทนโรงพยาบาลทุกภาคส่วน กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค มาร่วมกันพิจารณาบริหารจัดการวัคซีน ดำเนินการสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข คือ เน้นฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปี 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีเป้าหมายให้ครอบคลุมอย่างน้อย 70% ในเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดทำแผนบริการวัคซีนทั้งในส่วนของโรงพยาบาลทุกสังกัดที่ร่วมมือกับ กทม.รวม 132 แห่ง, การฉีดวัคซีนเพื่อควบคุมโรคในจุดที่มีการระบาดในหลายชุมชน, สนับสนุนวัคซีนจุดฉีด 25 แห่งที่ร่วมมือกับหอการค้าแห่งประเทศไทย และหน่วยเชิงรุก CCR Team 260 ทีม ซึ่งวัคซีนจำนวน 5 แสนโดสที่ได้รับมานั้น จะให้ทีม CCR Team ลงพื้นที่เชิงรุก 5 หมื่นโดส ส่วนอีก 4.5 แสนโดส จะเร่งฉีดใน 25 จุดให้เสร็จในวันที่ 31 กรกฎาคม โดยเน้นการฉีดในผู้สูงอายุเป็นหลัก สามารถลงทะเบียนผ่านร้านสะดวกซื้อ และฉีดประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนผ่านไทยร่วมใจมาก่อนหน้านี้
วันนี้ (29 ก.ค.) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วย นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และแพทย์หญิงป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) แถลงข่าวความร่วมมือกระทรวงสาธารณสุข และกรุงเทพมหานคร ในการฉีดวัคซีนโควิด-19
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กทม.และปริมณฑล ยังเป็นจุดศูนย์กลางการระบาดโรคโควิด- 19 การควบคุมการระบาดในพื้นที่ กทม.นั้น กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ กทม.ดำเนินการ 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1. สนับสนุนวัคซีน โดยสำนักอนามัยกระจายลงพื้นที่ต่างๆ 2. ทำงานเชิงรุกร่วมกันในชุมชนผ่าน ทีมปฏิบัติการเชิงรุก Comprehensive COVID-19 Response Team (CCR Team) 260 ทีม เพื่อค้นหาผู้ป่วยในชุมชนด้วยการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน ฉีดไปแล้ว 59,708 ราย ตรวจคัดกรองผู้อยู่ในข่ายสงสัย 81,290 ราย 3.สนับสนุนรถตรวจชีวนิรภัยพระราชทานที่สนามกีฬากองทัพอากาศธูปเตมีย์ และสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน จุดละประมาณ 1,500 คนต่อวัน และ 4. ส่งผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรคไปเป็นที่ปรึกษาการสอบสวนโรค
นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า กทม.ฉีดวัคซีนโควิด 19 รวม 5,668,720 โดส ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่สิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ต้องฉีดให้ได้ 5 ล้านโดส โดยผู้สูงอายุและ 7 โรคเรื้อรังต้องได้รับวัคซีนประมาณ 80% ซึ่งขณะนี้ค่อนข้างใกล้เคียงกับเป้าหมายแล้ว อย่างไรก็ตามยังมีแนวโน้มการระบาดสูง ต้องขอความร่วมมือใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม ล้างมือบ่อยๆ อยู่กับบ้านให้มากที่สุด ส่วนความคืบหน้าวัคซีนไฟเซอร์ที่สหรัฐอเมริกาบริจาค 1.5 ล้านโดส จะมาถึงวันพรุ่งนี้ เวลา 04.00 น. จากนั้นจะเก็บเข้าคลังวัคซีนในอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส เมื่อกระจายไปหน่วยฉีดจะนำไปเก็บในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ซึ่งจะอยู่ได้นาน 4 สัปดาห์จึงต้องรีบนำออกมาใช้
ด้าน นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ภาพความแออัดของศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาเกิดจากการเปิดให้วอล์คอินในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้น หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ และผู้ที่มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัม ซึ่งเปิดถึงวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ โดยขณะนี้มีการแก้ไขปัญหาแล้วเรียบร้อย โดยให้ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน 100 กิโลกรัมมารับบริการช่วงบ่าย, เปิดประตูศูนย์เร็วขึ้นจาก 09.00 น. เป็นเวลา 06.00 น. วัดความดันเฉพาะรายที่มีความจำเป็น และปรับการรอคอยให้เป็นระเบียบและเว้นระยะห่าง ทั้งนี้ ต้องขออภัยที่วันนี้เลื่อนเวลาลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านเครือข่ายมือถือ 4 รายวันนี้ จาก 09.00 น. เป็น 11.00 น. เนื่องจากมีการปรับสัดส่วนการรับลงทะเบียน ให้เน้นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 กลุ่มโรคเรื้อรังมากขึ้น สำหรับกรณีการขายคิวฉีดวัคซีนนั้น ได้ร่วมกับค่ายมือถือ ตรวจพบประมาณเกือบ 100 คน ได้กันไว้เป็นพยาน และแจ้งความเพื่อดำเนินการเอาผิดอย่างถึงที่สุด ยังไม่พบบุคลากรภายในมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่หากมีส่วนเกี่ยวข้องจริงจะดำเนินการสืบสวนลงโทษ ส่วนสถานการณ์เตียงผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงที่ไม่เพียงพอ เตรียมปรับเตียงฮอสปิเทล 10-20% ให้รับผู้ป่วยสีเหลืองได้ และโรงพยาบาลทุกสังกัดพยายามขยายเตียงให้เพิ่มมากขึ้น
ด้าน แพทย์หญิงป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวว่า การบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ของ กทม. มีคณะอนุกรรมการบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ประกอบด้วย ผู้แทนโรงพยาบาลทุกภาคส่วน กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค มาร่วมกันพิจารณาบริหารจัดการวัคซีน ดำเนินการสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข คือ เน้นฉีดวัคซีนกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปี 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีเป้าหมายให้ครอบคลุมอย่างน้อย 70% ในเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดทำแผนบริการวัคซีนทั้งในส่วนของโรงพยาบาลทุกสังกัดที่ร่วมมือกับ กทม.รวม 132 แห่ง, การฉีดวัคซีนเพื่อควบคุมโรคในจุดที่มีการระบาดในหลายชุมชน, สนับสนุนวัคซีนจุดฉีด 25 แห่งที่ร่วมมือกับหอการค้าแห่งประเทศไทย และหน่วยเชิงรุก CCR Team 260 ทีม ซึ่งวัคซีนจำนวน 5 แสนโดสที่ได้รับมานั้น จะให้ทีม CCR Team ลงพื้นที่เชิงรุก 5 หมื่นโดส ส่วนอีก 4.5 แสนโดส จะเร่งฉีดใน 25 จุดให้เสร็จในวันที่ 31 กรกฎาคม โดยเน้นการฉีดในผู้สูงอายุเป็นหลัก สามารถลงทะเบียนผ่านร้านสะดวกซื้อ และฉีดประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนผ่านไทยร่วมใจมาก่อนหน้านี้