กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เข้มมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในสถานดูแลผู้สูงอายุ ย้ำทุกแห่งต้องดำเนินการตามมาตรฐาน มีการคัดแยกผู้สูงอายุรายใหม่ 14 วันก่อนเข้าพักในพื้นที่ปกติ มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล งดกอด หอม และสัมผัสตัวผู้สูงอายุป้องกันการระบาดของโรคโควิด
วันนี้ (25 ก.ค.) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ให้สัมภาษณ์ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศ ซึ่งมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านๆมา ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อได้ง่ายและเกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย อีกทั้งในบางรายก็มีโรคประจำตัว อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด การดูแลผู้สูงอายุจึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และรอบคอบมากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประเภทสถานดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง ที่มีผู้สูงอายุอยู่เป็นจำนวนมากจะต้องมีดำเนินการอย่างมีมาตรฐาน ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักวิชาการในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19
ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดการระบาด และการเสียชีวิตในผู้สูงอายุด้วยโรคโควิด-19 อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการประคับประคองเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถฟื้นตัวและพัฒนา กรม สบส.จึงได้ดำเนินการแจ้งเวียนแนวทางการดำเนินการและการบริหารจัดการสำหรับกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงทุกแห่ง ที่ขึ้นทะเบียนกับกรม สบส.ให้ทุกแห่งปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากพบว่าสถานประกอบการแห่งใดย่อหย่อนมาตรฐานก็จะมีคำสั่งให้แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามก็จะมีการดำเนินการในขั้นต่อไปคือสั่งปิดเป็นการชั่วคราว หรืออาจถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการต่อไป
นายแพทย์ธเรศฯ กล่าวต่อว่า สำหรับ มาตรการป้องกันและควบคุมโรคสำหรับกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือ ผู้มีภาวะพึ่งพิงในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกรม สบส. จะเน้นในด้านองค์ประกอบของการจัดบริการของผู้ประกอบการ ผู้ดำเนินการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ พนักงานทำความสะอาด รวมถึงตัวของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุรายใหม่ ผู้มาติดต่อและเข้าเยี่ยม โดยการรับผู้สูงอายุรายใหม่จะต้องมีผลตรวจโรคโควิด-19 ยืนยันก่อนรับตัว
และเมื่อรับตัวเข้ามาแล้วจะต้องจัดพื้นที่ให้ผู้สูงอายุรายใหม่แยกจากพื้นที่ปกติ มีการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 14 วัน และจะต้องจัดทีมพนักงานสำหรับดูแลเฉพาะผู้สูงอายุรายใหม่โดยเฉพาะไม่ปะปนกับผู้สูงอายุรายเดิม และเมื่อครบกำหนดการติดตาม 14 วัน ถ้าอาการทั่วไปปกติดีจึงย้ายผู้สูงอายุรายใหม่เข้าพื้นที่ปกติได้ ส่วนผู้มาติดต่อและผู้เข้าเยี่ยม หากมีประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงในระยะเวลา 14 วันก่อนหน้า หรือมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ให้งดการเข้าในพื้นที่สถานประกอบการ และในการเข้าเยี่ยมให้เข้าเยี่ยมได้เฉพาะญาติ
ซึ่งจะต้องมีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล งดการกอด หอม และสัมผัสตัวผู้สูงอายุคนอื่นๆ นอกจากนี้ ยังกำหนดแนวทางปฏิบัติพิเศษสำหรับการเฝ้าระวังในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องมีการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเพราะการติดเชื้ออาจมีอาการไม่ชัดเจน อาทิ ไม่มีไข้ แต่มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้ ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากพบผู้ที่มีอาการข้างต้นให้รีบปรึกษาแพทย์ และในกรณีที่ตรวจพบการติดเชื้อโควิด 19 ในสถานประกอบการจะต้องรายงานการติดเชื้อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งต่อผู้ติดเชื้อไปโรงพยาบาล โดยประสานงานกับ 1669 พร้อมแยกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสัมผัสเชื้อ เพื่อส่งตัวไปยังสถานที่กักตัว 14 วันอีกด้วย
วันนี้ (25 ก.ค.) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ให้สัมภาษณ์ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศ ซึ่งมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และรุนแรงกว่าครั้งที่ผ่านๆมา ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อได้ง่ายและเกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย อีกทั้งในบางรายก็มีโรคประจำตัว อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด การดูแลผู้สูงอายุจึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และรอบคอบมากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประเภทสถานดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง ที่มีผู้สูงอายุอยู่เป็นจำนวนมากจะต้องมีดำเนินการอย่างมีมาตรฐาน ปลอดภัย ถูกต้องตามหลักวิชาการในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19
ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดการระบาด และการเสียชีวิตในผู้สูงอายุด้วยโรคโควิด-19 อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการประคับประคองเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถฟื้นตัวและพัฒนา กรม สบส.จึงได้ดำเนินการแจ้งเวียนแนวทางการดำเนินการและการบริหารจัดการสำหรับกิจการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงทุกแห่ง ที่ขึ้นทะเบียนกับกรม สบส.ให้ทุกแห่งปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากพบว่าสถานประกอบการแห่งใดย่อหย่อนมาตรฐานก็จะมีคำสั่งให้แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามก็จะมีการดำเนินการในขั้นต่อไปคือสั่งปิดเป็นการชั่วคราว หรืออาจถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบกิจการต่อไป
นายแพทย์ธเรศฯ กล่าวต่อว่า สำหรับ มาตรการป้องกันและควบคุมโรคสำหรับกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือ ผู้มีภาวะพึ่งพิงในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกรม สบส. จะเน้นในด้านองค์ประกอบของการจัดบริการของผู้ประกอบการ ผู้ดำเนินการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ พนักงานทำความสะอาด รวมถึงตัวของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุรายใหม่ ผู้มาติดต่อและเข้าเยี่ยม โดยการรับผู้สูงอายุรายใหม่จะต้องมีผลตรวจโรคโควิด-19 ยืนยันก่อนรับตัว
และเมื่อรับตัวเข้ามาแล้วจะต้องจัดพื้นที่ให้ผู้สูงอายุรายใหม่แยกจากพื้นที่ปกติ มีการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 14 วัน และจะต้องจัดทีมพนักงานสำหรับดูแลเฉพาะผู้สูงอายุรายใหม่โดยเฉพาะไม่ปะปนกับผู้สูงอายุรายเดิม และเมื่อครบกำหนดการติดตาม 14 วัน ถ้าอาการทั่วไปปกติดีจึงย้ายผู้สูงอายุรายใหม่เข้าพื้นที่ปกติได้ ส่วนผู้มาติดต่อและผู้เข้าเยี่ยม หากมีประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงในระยะเวลา 14 วันก่อนหน้า หรือมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ให้งดการเข้าในพื้นที่สถานประกอบการ และในการเข้าเยี่ยมให้เข้าเยี่ยมได้เฉพาะญาติ
ซึ่งจะต้องมีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล งดการกอด หอม และสัมผัสตัวผู้สูงอายุคนอื่นๆ นอกจากนี้ ยังกำหนดแนวทางปฏิบัติพิเศษสำหรับการเฝ้าระวังในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจะต้องมีการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเพราะการติดเชื้ออาจมีอาการไม่ชัดเจน อาทิ ไม่มีไข้ แต่มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้ ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากพบผู้ที่มีอาการข้างต้นให้รีบปรึกษาแพทย์ และในกรณีที่ตรวจพบการติดเชื้อโควิด 19 ในสถานประกอบการจะต้องรายงานการติดเชื้อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งต่อผู้ติดเชื้อไปโรงพยาบาล โดยประสานงานกับ 1669 พร้อมแยกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสัมผัสเชื้อ เพื่อส่งตัวไปยังสถานที่กักตัว 14 วันอีกด้วย