ศบค.รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 2,839 ราย ติดเชื้อภายในประเทศ 2,827 ราย กทม.สูงสุด 1,582 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 8 คน หายป่วย 377 ราย ยังรักษาอยู่ 22,327 ราย เผยเหตุจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงเป็นตัวเลขสะสมหลังคลีนข้อมูล ระบุ 5 สาเหตุของการแพร่เชื้อรอบ 1 สัปดาห์ พบคลัสเตอร์กระจายทั่วประเทศ
วันนี้ (24 เม.ย.) เวลา 11.35 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 2,839 ราย เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 2,827 ราย มาจากการตรวจในระบบเฝ้าระวังและบริการ 2,523 ราย และจากการค้นหาคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 304 ราย จากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกัน 12 คน ส่วนผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 377 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 8 คน
ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุดอยู่ที่ 53,022 ราย เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในประเทศ 49,756 ราย ติดเชื้อค้นหาคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 21,378 ราย ผู้เดินทางจากต่างประเทศ 3,266 ราย สถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 2,637 ราย
ส่วนผู้ป่วยรักษาหายแล้วมีจำนวนเพิ่มอีก 377 ราย รวมเป็น 30,566 ราย กำลังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 22,327 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 129 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด
สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 8 ราย ประกอบด้วย รายที่ 122 เป็นชายไทย อายุ 48 ปี อยู่ จ.สมุทรปราการโรคประจําตัว คือ โรคอ้วนวันที่ 12 เม.ย. มีไข้ เจ็บคอ ถ่ายเหลว 18 เม.ย. พบเชื้อ และปอดอักเสบ 22 เม.ย. เสียชีวิต 18.47 น.ปัจจัยเสี่ยงการป่วยไปสถานบันเทิง ย่านศรีนครินทร์ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิต มีโรคประจําตัว
รายที่ 123 เป็นหญิงไทย อายุ 83 ปี อยู่ กทม. โรคประจําตัวเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด วันที่ 14 เม.ย. มีไข้ อ่อนเพลีย 18 เม.ย. พบเชื้อ 22 เม.ย. เสียชีวิต 21.05 น.ปัจจัยเสี่ยงการป่วย สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิต สูงอายุ
รายที่ 124 เป็นชายไทย อายุ 89 ปี อยู่ กทม.โรคประจําตัว ผู้ป่วยติดเตียง มะเร็งลําไส้วันที่ 22 เม.ย. มีไข้ ไอ หายใจลําบาก 23 เม.ย. พบเชื้อ และเสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงการป่วย สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิต สูงอายุ โรคประจําตัว
รายที่ 125 ชายไทย อายุ 63 ปี อยู่ กทม.โรคประจําตัวความดันโลหิตสูง เกาต์ วันที่11 เม.ย. มีไข้ 22 เม.ย. พบเชื้อ23 เม.ย.เสียชีวิต 9.20 น. ปัจจัยเสี่ยงการป่วย สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิตโรคประจําตัว
รายที่ 126 ชายไทย อายุ 68 ปี อยู่ จ.ฉะเชิงเทรา โรคประจําตัว ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือด วันที่ 10 เม.ย. มีไข้ 11 เม.ย. พบเชื้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะ 22 เม.ย. เสียชีวิตปัจจัยเสี่ยงการป่วย สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิต โรคประจําตัว
รายที่ 127 หญิงไทย อายุ 82 ปี อยู่ จ.สมุทรปราการ โรคประจําตัวมะเร็งปากมดลูกไตเรื้อรัง 14 เม.ย. วันที่ พบเชื้อ 20 เม.ย เสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงการป่วย สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิต โรคประจําตัว
รายที่ 128 ชายไทย อายุ 75 ปี อยู่ จ.นครสวรรค์ โรคประจําตัว ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือด ต่อมลูกหมากโต วันที่ 9 เม.ย. มีไอ เจ็บคอ ครั่นตัว 11 เม.ย. พบเชื้อ 22 เม.ย. เสียชีวิต 14.00 น. ปัจจัยเสี่ยงการป่วย สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิต สูงอายุ โรคประจําตัว
รายที่ 129 ชายไทย อายุ 62 ปี อยู่ จ.นนทบุรี โรคประจําตัวไตวายเรื้อรัง วันที่ 18 เม.ย.เหนื่อย 21 เม.ย.พบเชื้อ 23 เม.ย.เสียชีวิต 6.30 น.ปัจจัยเสี่ยงการป่วย สถานบันเทิง สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิตโรคประจําตัว
สำหรับจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 10 อันดับแรก ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ได้แก่ กรุงเทพฯ 1,582 ราย เชียงใหม่ 151 ราย ชลบุรี 119 ราย นนทบุรี 96 ราย สมุทรปราการ 84 ราย ปทุมธานี 59 ราย สมุทรสาคร 57 ราย สุราษฎร์ธานี 46 ราย นครสวรรค์ 38 ราย และสงขลา 34 ราย
สำหรับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากในวันนี้นั้น โฆษก ศบค.ชี้แจงว่า เป็นตัวเลขสะสม หลังจากมีการคลีนข้อมูลที่รายงานซ้ำซ้อนกันก่อนหน้านี้ รวมทั้งมีการพบคลัสเตอร์การระบาดกระจายออกไปหลายๆ จังหวัดทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ศบค.ได้สรุปสาเหตุของการติดเชื้อในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 5 สาเหตุได้แก่ 1. การติดเชื้อในสถานที่ทำงาน ทั้งหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน 2. การพบปะรับประทานอาหารร่วมกัน 3. การติดเชื้อในครอบครัว 4. การมั่วสุมรวมกลุ่มไม่เว้นระยะห่าง ทำกิจกรรมที่เสี่ยง 5. กิจกรรมรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ ยังอาจจะเกิดจาการเดินทางโดยระยบบขนส่งสาธารณะซึ่งอยู่ระหว้่างตรวจสอบข้อมูล ยังไม่มีข้อสรุป รวมทั้งพบปัญหาผู้ติดเชื้อบางรายให้ไทม์ไลน์คลาดเคลื่อน ทำให้การสอบสวนโรคล่าช้า และการควบคุมโรคล่าช้าไปด้วย
ด้านสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก วันเสาร์ที่ 24 เมษายน 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 146,226,350 ราย อาการรุนแรง 109,892 ราย รักษาหายแล้ว 124,018,466 ราย เสียชีวิต 3,099,315 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 32,735,704 ราย
2. อินเดีย จำนวน 16,602,456 ราย
3. บราซิล จำนวน 14,238,110 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 5,440,946 ราย
5. รัสเซีย จำนวน 4,744,961 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 105 จำนวน 53,022 ราย