สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 กรุงเทพมหานครในช่วงเช้านี้ พบว่าเกินมาตรฐาน 35 พื้นที่ ระดับคุณภาพอากาศมีผลต่อสุขภาพ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เตือนประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพ สวมหน้ากากอนามัยป้องกัน ลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง
วันนี้ (23 มี.ค.) ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
ผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่าเกินค่ามาตรฐานจำนวน 35 พื้นที่ ได้แก่ เขตคลองสาน เขตทุ่งครุ เขตพญาไท เขตตลิ่งชัน เขตธนบุรี เขตหนองแขม เขตบางบอน เขตวังทองหลาง เขตพระนคร เขตจอมทอง เขตคลองเตย เขตสาทร เขตภาษีเจริญ เขตราชเทวี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตประเวศ เขตปทุมวัน เขตดุสิต เขตบางนา เขตยานนาวา เขตบางซื่อ สวนหลวง ร.9 (เขตประเวศ) เขตพระโขนง เขตบางกะปิ สวนกีฬารามอินทรา (เขตบางเขน) สวนธนบุรีรมย์ (เขตทุ่งครุ) เขตบางแค เขตบางคอแหลม เขตสัมพันธวงศ์ เขตทวีวัฒนา เขตสายไหม สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน (เขตดอนเมือง) เขตคันนายาว เขตหนองจอก และเขตบางเขน โดยตรวจวัดได้ในช่วง 39-63 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) คิดเป็นร้อยละ 50 จากจำนวนเขตที่มีสถานีตรวจวัดทั้งหมด
คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา : มีเมฆบางส่วน
คำแนะนำในการปฏิบัติตน
: คุณภาพอากาศปานกลาง
ประชาชนทั่วไปสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง
: คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ให้ประชาชนทั่วไปในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐานให้เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น