xs
xsm
sm
md
lg

"วิชาทั่วไป" ไม่เรียนได้ไหม ?

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ทำไมต้องมีหลักสูตร General Education หรือ Gen.Ed.? ก็เพราะว่าวิชาศึกษาทั่วไป มันเป็นวิชาเลือกอิสระ ตามความสนใจ และความสามารถพิเศษ ที่ทำให้เลือกเรียนรู้เรื่องราวรอบตัว ทักษะ สร้างประสบการณ์ชีวิต ได้ตามใจ

ซึ่งอาจทำให้เราสามารถเลือกทางเดินชีวิต ได้ถูกต้อง หรือเปลี่ยนชีวิตเราได้...

อย่าลืมว่าชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย คือช่วงวัยที่สำคัญของมนุษย์ และเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เป็นวัยนักศึกษาที่กำลังเติบโตสู่การเป็นผู้ใหญ่ แต่รู้หรือเปล่าว่าบางคนอาจมีเส้นทางเดินที่ต่างกัน มีอาชีพ มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว จึงเป็นที่มาของการเกิดวิชาทั่วไป และที่มหาวิทยาลัยรังสิตจึงปรับหลักสูตรศึกษาทั่วไป โดยสถาบัน RSU Gen.Ed. รูปแบบใหม่ที่เริ่มนำมาใช้ในการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ร่วมกับทีมผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา เป็นวิชาที่เกิดจากการตกผลึก ปรับ จัด แบ่ง กลุ่มการเรียนเป็น 8 กลุ่มน่าสนใจให้สอดคล้องกับแนวคิด และรูปแบบการใช้ชีวิตของนักศึกษารุ่นใหม่ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ ทำให้นักศึกษารู้จักตนเอง รู้จักการใช้ชีวิต เลือกทางเดินชีวิตที่เหมาะสม และมีความสุขได้ เพราะวิชาเหล่านี้อาจเป็นตัวเสริมทักษะชีวิตโดยไม่รู้ตัว

ตัวอย่างกลุ่มวิชาทั่วไป 8 กลุ่มที่มีการปรับให้น่าสนใจเหมาะกับวัยรุ่นยุคใหม่ ได้แก่ 1.RSU Identity : อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยรังสิต สร้างสังคมธรรมาธิปไตย 2.Internationalization : ความเป็นสากล สามารถสื่อสาร ก้าวสู่การทำงานในโลกกว้างได้ 3. Leadership : การเป็นผู้นำ ความรัก ความดี ความโกง 4.Art and Culture : ศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย สามารถนำมาสู่การสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ 5.Innovative Entrepreneurship : ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ 6.Digital Media Literacy : รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล 7.Essence of Science : หลักคิดวิทยาศาสตร์ 8.RSU My Style : คุณอยากเป็นอะไรเราจัดให้!!

เห็นมั้ยว่า...เกิดความหลากหลายและสอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคมหรือในชีวิตมากขึ้น แต่ละหลายวิชาจะถูกสลัดคราบการสอนแบบเดิมๆ เพราะแต่ละรายวิชานั้นล้วนเกิดจากการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ จากครูเป็นโค้ช หรือการเป็นผู้เอื้ออำนวยการเรียนการสอน (Facilitator) มากขึ้น ทีมอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรศึกษาทั่วไปมีมากกว่า 100 คน ได้ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช” และจัดทำแผนการสอนรายสัปดาห์ใหม่ให้อัพเดททั้งเนื้อหา วิธีการ สื่อการสอน กิจกรรม และการประเมินผลการเรียน ตามแนวทาง Authentic Learning คือ การเตรียมพร้อมก่อนสอนจริง และมีการบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอน การถอดบทเรียนกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา Gen.Ed. และนำมาผลิตเป็นสื่อดิจิทัล เผยแพร่ทางช่อง www.wisdomflix.com (สื่อหลักของมหาวิทยาลัยรังสิต) เพื่อให้นักศึกษา และอาจารย์ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Authentic Learning ก่อให้เกิดประโยชน์นำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
ส่วนความรู้และทักษะที่นักศึกษาได้รับจากการเข้าร่วมโครงการตามคุณลักษณะบัณฑิตพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 นั่นคือ 1) ทักษะด้านภาษา : นักศึกษามีความสามารถในการสื่อสาร ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ในการสื่อสารทั่วไป และในสถานการณ์สำคัญ โดยเฉพาะทักษะในการนำเสนอผลงานทั้งการเขียนสรุปความ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ และการเขียนเพื่อผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ การเขียนโครงการ และการเขียนเชิงวิเคราะห์ รวมถึงการพูดในที่สาธารณะอย่างมืออาชีพ 2) ทักษะด้านไอที (IT) : นักศึกษามีความสามารถในการผลิตสื่อวิดิทัศน์ด้วยอุปกรณ์สมาร์ทโฟนหรือแท๊ปเลต รวมถึงมีความสามารถในการจัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ และการผลิตสื่อออนไลน์ เป็นต้น 3) ทักษะชีวิต : นักศึกษามีความรู้ในเรื่องรู้เท่าทันสื่อ รู้หลักของสังคมธรรมาธิปไตย การมีจิตอาสา จิตสาธารณะ รู้จักการให้ การแบ่งปัน การทำงานร่วมกับผู้อื่น และรู้จักความรัก รู้จักการแก้ปัญหาในชีวิต 4) ทักษะอาชีพ : นักศึกษารู้จักตัวเอง รู้จักเลือกพัฒนาความชอบและความถนัด มาเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักได้ หรือรู้จักต่อยอดผลงานสร้างสรรค์งาน เพื่อประโยชน์ในการหาเลี้ยงชีพอย่างสุจริตได้ และ 5) ความมีจิตอาสา : เป็นเกณฑ์การวัดผลสำคัญในรายวิชาต่างๆ โดยกำหนดให้นักศึกษาต้องทำงานกลุ่ม และมีโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ทำให้นักศึกษาเรียนรู้การช่วยเหลือเกื้อกูล ทำเพื่อผู้อื่น

ผลที่มากไปกว่าความรู้ และทักษะที่นักศึกษาได้รับ คือ การสร้างการตระหนักรู้ และคุณค่าทางสังคม แต่เป็นการแสดงให้เห็นการดึงศักยภาพของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาให้ค้นพบความสามารถของตนเองที่แท้จริง นำมาสร้างสรรค์ชีวิต และสังคมที่ดีมีความสุขร่วมกันได้














กำลังโหลดความคิดเห็น