xs
xsm
sm
md
lg

ไม่ใช่แค่แมลงกัด!! หมอจุฬาฯ ชี้ “สารเคมีเกษตร” ต้นเหตุผิวถูกทำลาย เสี่ยงติดเชื้อเนื้อเน่ายิ่งกว่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หมอจุฬาฯ ชี้ โรคเนื้อเน่าไม่ใช่แค่ถูกแมลงกัดแล้วติดเชื้อ ย้ำ “สารเคมี” ตัวร้ายทำให้ผิวหนังเสียหาย เสี่ยงติดเชื้อง่ายขึ้น เผย 4 ปี มีผู้ป่วยเกือบ 6.9 หมื่นราย มักพบซ้ำๆ ช่วง พ.ค.- ก.ค.ที่พ่นสารเคมีทางการเกษตร

วันนี้ (5 พ.ย.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโรคเนื้อเน่า หรือ เชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคน ว่า คนมักคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แบคทีเรียชนิดนี้เป็นอะไรที่ใกล้ตัว ที่สำคัญ ไม่ใช่แค่ถูกแมลงหรือยุงกัดแล้วไปติดเชื้อเท่านั้น แต่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นอีกสาเหตุสำคัญ โดยเฉพาะในเกษตรกรและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อน แม้จะไม่ใช่เกษตรกรก็ตาม เนื่องจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะพาราควอต ที่มีการใช้กันบ่อย และคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติแบนสารเคมีไปเมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพ ว่า พาราควอต เป็นตัวโน้มนำให้ผิวหนังเสียหาย ยิ่งหากผิวหนังมีบาดแผลอยู่แล้วก็ยิ่งทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม มีตุ่มน้ำใส ทำให้เชื้อโรครอบๆ ตัวเข้าไปได้ง่ายขึ้น และหากรุนแรงก็อาจต้องตัดเนื้อเน่าส่วนนั้นทิ้ง หลายรายตัดแขนตัดขาก็มี

“ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้รวบรวมข้อมูลสถานการณ์โรค Necrotizing fasciitis ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2558-2561 พบผู้ป่วยรวม 4 ปี จำนวน 68,668 ราย โดยพบมากในอายุเฉลี่ย 61 ปี ที่สำคัญ จะพบในพื้นที่ซ้ำๆ ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพ่นสารเคมีเป็นประจำทุกปี ดังนั้น จึงมักพบในเกษตรกร และที่หลายคนไม่รู้คือ พบในประชาชนในพื้นที่ด้วย เนื่องจากสารที่พ่นออกไปไปเจือปนในดิน ในสิ่งแวดล้อม เมื่อน้ำชะล้างก็ไหลออกไปยังถนนหนทาง หากเราเดินไม่ใส่รองเท้า ทำให้สัมผัสโรคได้ ดังนั้น จึงต้องระมัดระวัง และดูแลตัวเองให้ดี” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวและว่า ไม่ใช่แค่สารพาราควอตเท่านั้น แต่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอื่นๆ ก็มีผล แต่ที่ผ่านมา เราใช้พาราควอตมาก


กำลังโหลดความคิดเห็น