โดย...ทีมข่าววัฒนธรรม
เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับนิทรรศการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร หรือนิทรรศการพระเมรุมาศ ตั้งแต่วันที่ 2 - 30 พ.ย. 2560 ถือเป็นโอกาสอันดีที่ลูกๆ ของ “พ่อ” จะได้มาร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ผ่านพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยิ่งใหญ่สมพระเกียรติของพระเมรุมาศ และขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณีอันล้ำค่าของไทย
**พระเมรุมาศ สะท้อนพระบารมีปกเกล้า**
พระเมรุมาศ ถือเป็นจุดหลักในการเข้าชมนิทรรศการ เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมชั่วคราวที่สร้างขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงทศพิธราชธรรม มีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชน ทรงได้รับการเทิดทูนเสมอด้วย “สมมติเทพ” ตามคติพราหมณ์ เมื่อเสด็จพระราชสมภพ ถือเป็นเทพอวตาร คือ เทวดาจุติลงมาอุบัติบนโลกมนุษย์ เมื่อเสด็จสวรรคต จึงถือเป็นการเสด็จกลับสู่สวรรค์ การประดิษฐานพระบรมศพบนพระเมรุมาศ ซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ จึงเป็นการส่งดวงพระวิญญาณกลับสู่สรวงสวรรค์อันเป็นที่สถิตของเทพยดา
การเข้ามาชมพระเมรุมาศ จึงเปรียบเสมือนการมารำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อประเทศชาติและประชาชน โดย นายธีรภัทร์ จิตประไพกุลศาล ผู้จัดการฝ่ายนำชมนิทรรศการพระเมรุมาศ กล่าวว่า การจัดสร้างพระเมรุมาศถือเป็นการรวมงานศิลปะชั้นสูงของไทย มีความยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติ รับเป็นการสะท้อนพระบารมีปกเกล้าของพระองค์ ว่าพระองค์ทรงทำเพื่อประเทศชาติและคนไทยมากจริงๆ เมื่อเสด็จสวรรคต จึงมีการจัดพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติเช่นนี้ และแสดงถึงความร่ำรวยวัฒนธรรมของประเทศไทย ที่สำคัญแม้พระองค์จะเสด็จกลับไปแล้ว ก็ยังทรงสอนพวกเราผ่านงานที่เห็นทั้งหมด
**2 นิทรรศการใหญ่ น้อมถวายพระราชาผู้ทรงธรรม**
สำหรับนิทรรศการพระเมรุมาศมี 2 โซน คือ “พระเมรุมาศพิมานนฤมิต สรรพศาสตร์ศิลป์พร้อม น้อมถวายพระราชาผู้ทรงธรรม” เป็นนิทรรศการการจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบ และงานบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ซึ่งจะเล่าเรื่องราวเบื้องหลังและขั้นตอนการทำงาน อยู่ภายในศาลาลูกขุน 6 หลัง และทับเกษตร 1 หลัง คือ
1. สมมติเทวพิมาน จะเล่าเรื่องแนวคิด คติความเชื่อเกี่ยวกับการก่อสร้างพระเมรุมาศที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และพัฒนาการในเชิงรูปแบบสถาปัตยกรรม พร้อมมีหุ่นจำลองของผังบริเวณมณฑลพิธีและเส้นทางริ้วขบวน หุ่นจำลองพระเมรุมาศและพระจิตกาธาน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
2. ณ วิธานสถาปกศาลา จะเล่าเรื่องขั้นตอนการออกแบบการก่อสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ โดยจำลองบรรยากาศวิธานสถาปกศาลา หรือโรงขยายแบบเท่าจริง ซึ่งเป้นขั้นตอนสำคัญของงานสถาปัตยกรรมไทย พร้อมจัดแสดงชิ้นส่วนวัสดุ อุปกรณ์ องค์ประกอบและงานตกแต่ง วิดีทัศน์ลำดับการก่อสร้างในพื้นที่สนามหลวง
3. ประติมาสร้างสรรค์ จะแสดงลำดับขั้นตอนการจัดสร้างงานประติมากรรมประดับพระเมรุมาศ
4. สวรรค์บรรจงวาด จะจำลองภาพจิตรกรรมฉากบังเพลิงทั้งสี่ด้านของพระเมรุมาศมาติดตั้งเพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมรายละเอียดอย่างใกล้ชิด และจิตรกรรมเรื่องโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
5. ยาตรากฤษฎาธาร จะจัดแสดงเรื่องราวการทำงานในส่วนของการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและราชยานในพระราชพิธี ราชรถและราชยานที่จัดสร้างขึ้นใหม่ รวมถึงการฝึกซ้อมของพลฉุดชักต่างๆ
6. ตระการวิจิตรศิลปกรรม จัดแสดงงานประณีตศิลป์ในพระราชพิธี เช่น ขั้นตอนการจัสร้างพระโกศจันทร์ ฟืนไม้จันทน์ ช่อไม้จันทน์ รวมถึงพระโกศทรงพระบรมอัฐิทองคำลงยา ทั้ง 6 องค์ การจัดแสดงแบบเครื่องสังเค็ดและตัวอย่างงานเครื่องสด
7. นำสัมผัสพระสุเมรุ นิทรรศการนี้จัดอยู่ที่ทับเกษตร เพื่อให้ผู้พิการทางสายตา ได้มีโอกาสสัมผัสงานของจริงแทนมองด้วยตา โดยจะมีผังบริเวณมณฑลพิธีแบบนูนต่ำ พระเมรุมาศจำลองขนาดย่อส่วน องค์ประกอบและวัสดุอาคารขนาดเท่าจริง รวมทั้งงานประติมากรรมเทวดา และสัตว์หิมพานต์ประดับพระเมรุมาศให้ได้ลองสัมผัส โดยมีอักษรเบรลล์และเสียงบรรยายเพื่อเสริมความเข้าใจด้วย
นายต่อพงศ์ เสลานนท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังเข้าชมนิทรรศการพระเมรุมาศ ว่า ตั้งแต่ช่วงที่มีการสร้างพระเมรุมาศ มีการพูดถึงความสูงของพระเมรุมาศว่า สูง 50 กว่าเมตร มีพระที่นั่งล้อมรอบพระเมรุมาศและมีสัตว์หิมพานต์ ก็จินตนาการมาตลอด เพราะในความเป็นจริงไม่มีโอกาสจะเห็นได้ว่า พระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ สัตว์หิมพานต์ มีลักษณะเป็นอย่างไร การได้มาชมนิทรรศการพระเมรุมาศที่จัดแสดงเพื่อผู้พิการทางสายตาโดยเฉพาะ ซึ่งมีทั้งพระเมรุมาศจำลอง ลวดลายที่ประดับพระเมรุมาศและพระที่นั่งต่างๆ สัตว์หิมพานต์จำลอง โดยสามารถลูบคลำรายละเอียดของชิ้นงานได้ ทำให้รู้สึกตื่นเต้นมาก ทำให้ได้สัมผัสว่า ศิลปกรรมไทยเป็นของงดงาม ทรงคุณค่า ที่สำคัญยังมีอักษรเบรลล์กำกับไว้ด้วย ซึ่งทำได้ชัดเจนมาก อ่านง่าย ช่วยให้จินตนาการของคนตาบอดที่ได้ฟังมาตลอดปี กลายเป็นรูปธรรมที่สัมผัสได้ ทำให้ผู้พิการทางสายตามีโอกาสได้มาร่วมรำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
นิทรรศการอีกโซนหนึ่งคือ “พระผู้ทรงเป็นนิรันดร์” นิทรรศการในพระที่นั่งทรงธรรม ประกอบด้วย 5 เรื่องราว คือ 1. เมื่อเสด็จอวตาร แสดงพระราชประวัติ พระราชจริยาวัตรของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องด้วยวังสระปทุม ตั้งแต่พระชนมพรรษา 1 พรรษา
2. รัชกาลที่ร่มเย็น นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการทรงงานด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ทรงรับทราบถึงปัญหาด้านต่างๆ จึงทรงริเริ่มออกแบบและทดลองโครงการด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน นำเสนอผ่านอุปกรณ์ทรงงานหลากหลายชนิด
3. เพ็ญพระราชธรรม แสดงถึงทศพิธราชธรรม จากหนังสือพระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทยทรงครองราชย์ครบหมื่นวัน
4. นำพระราชไมตรี นำเสนอการทรงงานด้านการต่างประเทศของในหลวงรัชกาลที่ ๙ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นับตั้งแต่ทรงครองสิริราชสมบัติ นำมาซึ่งสัมพันธไมตรีที่ดีกับมิตรประเทศต่างๆ ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและความร่วมมืออีกมากมายตราบจนปัจจุบัน
5. พระจักรีนิวัตฟ้า เป็นการประมวลภาพหลังจากการประกาศของสำนักพระราชวัง โดยประชาชชุดดำนับหมื่นแสนหลั่งไหลเพื่อให้ได้เฝ้าส่งเสด็จขบวนพระบรมศพ ภาพประชาชนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมากราบถวายบังคมพระบรมศพ ตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค. 2559 ถึง 5 ตุลาคม 2560
นอกจากนิทรรศการแล้วยังมีจิตรกรรมฝาผนังอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริของพระองค์ด้วย นิทรรศการทั้งหมดจึงช่วยให้ประชาชนได้เข้ามาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ พระราชาผู้ทรงธรรมและพระผู้ทรงเป็นนิรันดร์
**ชมแค่ตา มืออย่าสัมผัส รำลึกถึง “พ่อ” ด้วยกิริยาที่เหมาะสม**
จากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ในวันทดสอบการเข้าชมนิทรรศการ ส่งผลให้คณะกรรมการจัดนิทรรศการ มีมติไม่อนุญาตให้ขึ้นชมพระเมรุมาศบนชั้น 1 และ 2 ของพระเมรุมาศ ซึ่งอนุมานได้ว่าเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์พระเมรุมาศ ซึ่งประชาชนที่จะเข้าชมพระเมรุมาศ สิ่งหนึ่งที่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอ คือ รับชมแค่สายตา แต่อย่าสัมผัสด้วยมือ ซึ่งนอกจากเป็นการกระทำที่ไม่สมควรแล้ว ยังอาจเกิดความเสียหายต่อสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมต่างๆ ได้
นายธีรภัทร์ จิตประไพกุลศาล ผู้จัดการฝ่ายนำชมนิทรรศการพระเมรุมาศ ยังแนะนำว่า การมาเข้าชมพระเมรุมาศและนิทรรศการต่างๆ ก็เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ จึงควรระมัดระวังเรื่องกิริยา ว่า ต้องแสดงความเคารพและรู้จักกาลเทศะ ซึ่งการชมพระเมรุมาศและนิทรรศการนั้นสามารถรับชมได้ทุกจุดที่เปิด ยกเว้นองค์พระเมรุมาศที่ไม่สามารถขึ้นชมได้แล้ว การถ่ายรูปสามารถทำได้ตามปกติ แต่ขอให้งดการเซลฟีหรือการไลฟ์สด และการแสดงท่าทางการถ่ายรูปที่ไม่เหมาะสม
“นอกจากนี้ ขอให้ระมัดระวังเรื่องสิ่งของจัดแสดงด้วย คือ ไม่ควรสัมผัสสิ่งของที่นำมาจัดแสดง เพราะประติมากรรม สิ่งของบางอย่างที่นำมาจัดแสดง บางส่วนยืมของต้นแบบมาจัดแสดง เช่น โต๊ะทรงงาน เป็นต้น ยกเว้นโซนนิทรรศการเพื่อผู้พิการทางสายตา ที่สามารถให้ผู้พิการทางสายตาได้สัมผัสสิ่งของที่จำลองขึ้นมาได้ ก็ขอให้ระมัดระวังในจุดนี้” นายธีรภัทร์ กล่าว
สำหรับการเข้าชมนิทรรศการ นายธีรภัทร์ ระบุว่า ประชาชนสามารถเข้าชมได้โดยอิสระ ไม่จำเป็นต้องเข้าชมตามลำดับเรื่องราว เพราะนิทรรศการแต่ละเรื่องจบโดยสมบูรณ์ในตัวเอง สามารถเข้าชมส่วนไหนก่อนก็ได้
**ขั้นตอนเข้าชมนิทรรศการพระเมรุมาศ**
อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเข้าชมนิทรรศการ คือขั้นตอนในการเข้าชมและการรักษาเวลาในการเข้าชม ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้าพระเมรุมาศและนิทรรศการได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 22.00 น. ของทุกวัน โดยเจ้าหน้าที่จะเปิดจุดคัดกรองทั้ง 5 จุด ประกอบด้วย บริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ บริเวณท่าช้าง บริเวณหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (รด.) บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และบริเวณด้านหลังกระทรวงกลาโหม ในเวลา 06.00 น. ส่วนผู้พิการมีจุดคัดกรองพิเศษหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพระภิกษุสงฆ์ จุดคัดกรองพิเศษหน้าศาลฎีกา
เมื่อประชาชนผ่านจุดคัดกรองแล้ว จะมีเต็นท์พักคอยประมาณ 10 เต็นท์ รองรับประชาชนได้กว่า 10,000 คน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ปรับรูปแบบการเข้าชมจากเดิมรอบละ 5,500 คน เป็นรอบละ 1,800 คน โดยแบ่งเป็นชุด ชุดละ 300 คน ใช้เวลาเข้าชม 45-60 นาที โดยให้ถ่ายภาที่ระลึกบริเวณถนนเส้นกลางเข้าพระเมรุมาศ ซึ่งจะเห็นภาพแปลงนาเลขเก้าไทย และภาพภูมิทัศน์ส่วนต่างๆ ของพระเมรุมาศในมุมกว้างเป็นเวลา 15 นาที จากนั้นจึงเปิดทางให้เข้าชมพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ และนิทรรศการที่อยู่ภายในเป็นเวลา 45 นาที ซึ่งประชาชนสามารถเดินชมได้อย่างอิสระ โดยก่อนหมดเวลา 5 นาที จะมีเสียงออดสัญญาณ 1 ครั้ง และเมื่อครบ 45 นาทีจะมีเสียงออดดัง 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้เข้าชมในรอบนั้นออกจากพื้นที่นิทรรศการ ซึ่งเพื่อให้เป็นไปด้วยคามเรียบร้อย ประชาชนที่เข้าชมต้องมีวินัยและรักษาเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย
**อลังการมหรสพไทย**
นอกจากการเข้าชมนิทรรศการแล้ว ประชาชนยังสามารถเข้าชมการแสดงมหรสพต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. การแสดงโขนหน้าพระที่นั่งทรงธรรม เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งจะเปิดการแสดงทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 19.00 - 19.30 น. เริ่มวันที่ 4 พ.ย. เป็นต้นไป 2. วงประโคมดนตรีรอบพระเมรุมาศ วันละ 10 วง รอบบริเวณศาลาลูกขุน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. และ 3. การแสดงเวทีกลางแจ้งที่สนามหลวงฝั่งทิศเหนือ แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเวลา 18.00 - 19.30 น. และ เวลา 20.00 - 22.00 น. โดยเป็นการแสดงชุดต่างๆ เช่น การแสดงพื้นเมืองแต่ละภาค การแสดงละครใน อาทิ อิเหนา พระมหาชนก พระสุธนมโนราห์ ลิเก ดนตรีสากล ฯลฯ
**พ่อไม่ได้จากลูกไปไหน**
สมจิตร ทิมเชียงราก อายุ 51 ปี ชาวจังหวัดปทุมธานี เล่าว่า ตั้งใจว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้เข้ามากราบพระเมรุมาศในหลวง รัชกาลที่ ๙ เพราะนิทรรศการนี้เปิดให้ประชาชนเข้าชมเพียงเดือนเดียว จากนั้นคงจะรื้อถอนออก และทันทีที่เข้ามาเห็นพระเมรุมาศตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า สัตว์หิมพานต์ ครุฑ ฉากบังเพลิง และอื่นๆ งดงามมาก สะท้อนถึงความจงรักภักดีที่ช่าง จิตอาสา ทุกคนซึ่งเป็นตัวแทนของคนไทยทั้งประเทศทำถวายพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย
“รู้สึกน้ำตาไหลเมื่อเดินขึ้นมาในพระที่นั่งทรงธรรม ดูนิทรรศการพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ โครงการพระราชดำริ โต๊ะทรงงาน อุปกรณ์ทรงงาน นิทรรศการเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าตลอด 70 ปี ที่พระองค์ทรงครองราชย์ พระองค์เหน็ดเหนื่อย เพื่อดูแลลูกทั้งประเทศ” สมจิตร กล่าว
พิกุล ไชยพัฒน์ อายุ 77 ปี จ.นนทบุรี กล่าวว่า รู้สึกปลื้มใจ ถือว่าเป็นบุญที่ได้มาเห็นพระเมรุมาศด้วยตาตนเอง และได้เดินรอบพระเมรุมาศ ซึ่งมีสระอโนดาต ตกแต่งด้วยสัตว์หิมพานต์นานาชนิดไม่ซ้ำกัน ลวดลายไทยตกแต่งรอบพระเมรุมาศ โดยก่อนหน้านี้ เคยเห็นความประณีตงดงามผ่านโทรทัศน์ พร้อมกันนี้ได้มีโอกาสยืนดูวีดิทัศน์ซึ่งลำดับเหตุการณ์ก่อสร้างพระเมรุมาศตั้งแต่เริ่มวางฐานรากจนถึงการประกอบติดตั้งแล้วเสร็จ อีกทั้งยังได้ชมพระเมรุมาศจำลอง ตนอยากขอบคุณทีมช่างและจิตอาสาทุกคน ที่เป็นตัวแทนคนไทยทั้งประเทศสร้างพระเมรุมาศตามโบราณราชประเพณี ได้งดงามสมพระเกียรติ
ขณะที่ วันชัย รุ่งแสง จ.สมุทรปราการ เล่าว่า ตลอดงานพระราชพิธีฯ วันที่ 25 - 29 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้ชมการถ่ายทอดสด ไม่มีโอกาสเดินทางมาท้องสนามหลวง เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ ทำได้เพียงวางดอกไม้จันทน์ที่ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อน้อมส่งเสด็จในหลวง รัชกาลที่ ๙ อย่างไรก็ตาม ตนกับเพื่อนบ้าน 2 คน นั่งแท็กซี่มากราบพระสรีรางคาร ที่วัดบวรนิเวศ ต่อจากนั้น มาสนามหลวง ดูแปลงนาข้าว กังหันน้ำชัยพัฒนา กราบพระเมรุมาศและดูศิลปะไทยที่ช่างได้สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นปัจจุบัน นับว่าเป็นมรดก เอกลักษณ์ของชาติ นอกจากนี้ ได้ดูนิทรรศการภายในอาคารต่างๆ โดยมีเจ้าหน้าที่บรรยาย เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้มาชมด้วย
“รู้สึกดีใจที่ได้มากราบพ่อที่วัดบวรนิเวศ กราบพระเมรุมาศ อย่างที่ตั้งใจไว้ และเชื่อว่า พ่อไม่ได้จากคนไทยไปไหน พระองค์มองและคอยปกป้องลูกอยู่บนฟ้า” วันชัย กล่าว
เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับนิทรรศการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร หรือนิทรรศการพระเมรุมาศ ตั้งแต่วันที่ 2 - 30 พ.ย. 2560 ถือเป็นโอกาสอันดีที่ลูกๆ ของ “พ่อ” จะได้มาร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ผ่านพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยิ่งใหญ่สมพระเกียรติของพระเมรุมาศ และขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณีอันล้ำค่าของไทย
**พระเมรุมาศ สะท้อนพระบารมีปกเกล้า**
พระเมรุมาศ ถือเป็นจุดหลักในการเข้าชมนิทรรศการ เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมชั่วคราวที่สร้างขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงทศพิธราชธรรม มีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชน ทรงได้รับการเทิดทูนเสมอด้วย “สมมติเทพ” ตามคติพราหมณ์ เมื่อเสด็จพระราชสมภพ ถือเป็นเทพอวตาร คือ เทวดาจุติลงมาอุบัติบนโลกมนุษย์ เมื่อเสด็จสวรรคต จึงถือเป็นการเสด็จกลับสู่สวรรค์ การประดิษฐานพระบรมศพบนพระเมรุมาศ ซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ จึงเป็นการส่งดวงพระวิญญาณกลับสู่สรวงสวรรค์อันเป็นที่สถิตของเทพยดา
การเข้ามาชมพระเมรุมาศ จึงเปรียบเสมือนการมารำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อประเทศชาติและประชาชน โดย นายธีรภัทร์ จิตประไพกุลศาล ผู้จัดการฝ่ายนำชมนิทรรศการพระเมรุมาศ กล่าวว่า การจัดสร้างพระเมรุมาศถือเป็นการรวมงานศิลปะชั้นสูงของไทย มีความยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติ รับเป็นการสะท้อนพระบารมีปกเกล้าของพระองค์ ว่าพระองค์ทรงทำเพื่อประเทศชาติและคนไทยมากจริงๆ เมื่อเสด็จสวรรคต จึงมีการจัดพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติเช่นนี้ และแสดงถึงความร่ำรวยวัฒนธรรมของประเทศไทย ที่สำคัญแม้พระองค์จะเสด็จกลับไปแล้ว ก็ยังทรงสอนพวกเราผ่านงานที่เห็นทั้งหมด
**2 นิทรรศการใหญ่ น้อมถวายพระราชาผู้ทรงธรรม**
สำหรับนิทรรศการพระเมรุมาศมี 2 โซน คือ “พระเมรุมาศพิมานนฤมิต สรรพศาสตร์ศิลป์พร้อม น้อมถวายพระราชาผู้ทรงธรรม” เป็นนิทรรศการการจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบ และงานบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ ซึ่งจะเล่าเรื่องราวเบื้องหลังและขั้นตอนการทำงาน อยู่ภายในศาลาลูกขุน 6 หลัง และทับเกษตร 1 หลัง คือ
1. สมมติเทวพิมาน จะเล่าเรื่องแนวคิด คติความเชื่อเกี่ยวกับการก่อสร้างพระเมรุมาศที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และพัฒนาการในเชิงรูปแบบสถาปัตยกรรม พร้อมมีหุ่นจำลองของผังบริเวณมณฑลพิธีและเส้นทางริ้วขบวน หุ่นจำลองพระเมรุมาศและพระจิตกาธาน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
2. ณ วิธานสถาปกศาลา จะเล่าเรื่องขั้นตอนการออกแบบการก่อสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ โดยจำลองบรรยากาศวิธานสถาปกศาลา หรือโรงขยายแบบเท่าจริง ซึ่งเป้นขั้นตอนสำคัญของงานสถาปัตยกรรมไทย พร้อมจัดแสดงชิ้นส่วนวัสดุ อุปกรณ์ องค์ประกอบและงานตกแต่ง วิดีทัศน์ลำดับการก่อสร้างในพื้นที่สนามหลวง
3. ประติมาสร้างสรรค์ จะแสดงลำดับขั้นตอนการจัดสร้างงานประติมากรรมประดับพระเมรุมาศ
4. สวรรค์บรรจงวาด จะจำลองภาพจิตรกรรมฉากบังเพลิงทั้งสี่ด้านของพระเมรุมาศมาติดตั้งเพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมรายละเอียดอย่างใกล้ชิด และจิตรกรรมเรื่องโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
5. ยาตรากฤษฎาธาร จะจัดแสดงเรื่องราวการทำงานในส่วนของการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและราชยานในพระราชพิธี ราชรถและราชยานที่จัดสร้างขึ้นใหม่ รวมถึงการฝึกซ้อมของพลฉุดชักต่างๆ
6. ตระการวิจิตรศิลปกรรม จัดแสดงงานประณีตศิลป์ในพระราชพิธี เช่น ขั้นตอนการจัสร้างพระโกศจันทร์ ฟืนไม้จันทน์ ช่อไม้จันทน์ รวมถึงพระโกศทรงพระบรมอัฐิทองคำลงยา ทั้ง 6 องค์ การจัดแสดงแบบเครื่องสังเค็ดและตัวอย่างงานเครื่องสด
7. นำสัมผัสพระสุเมรุ นิทรรศการนี้จัดอยู่ที่ทับเกษตร เพื่อให้ผู้พิการทางสายตา ได้มีโอกาสสัมผัสงานของจริงแทนมองด้วยตา โดยจะมีผังบริเวณมณฑลพิธีแบบนูนต่ำ พระเมรุมาศจำลองขนาดย่อส่วน องค์ประกอบและวัสดุอาคารขนาดเท่าจริง รวมทั้งงานประติมากรรมเทวดา และสัตว์หิมพานต์ประดับพระเมรุมาศให้ได้ลองสัมผัส โดยมีอักษรเบรลล์และเสียงบรรยายเพื่อเสริมความเข้าใจด้วย
นายต่อพงศ์ เสลานนท์ นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังเข้าชมนิทรรศการพระเมรุมาศ ว่า ตั้งแต่ช่วงที่มีการสร้างพระเมรุมาศ มีการพูดถึงความสูงของพระเมรุมาศว่า สูง 50 กว่าเมตร มีพระที่นั่งล้อมรอบพระเมรุมาศและมีสัตว์หิมพานต์ ก็จินตนาการมาตลอด เพราะในความเป็นจริงไม่มีโอกาสจะเห็นได้ว่า พระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ สัตว์หิมพานต์ มีลักษณะเป็นอย่างไร การได้มาชมนิทรรศการพระเมรุมาศที่จัดแสดงเพื่อผู้พิการทางสายตาโดยเฉพาะ ซึ่งมีทั้งพระเมรุมาศจำลอง ลวดลายที่ประดับพระเมรุมาศและพระที่นั่งต่างๆ สัตว์หิมพานต์จำลอง โดยสามารถลูบคลำรายละเอียดของชิ้นงานได้ ทำให้รู้สึกตื่นเต้นมาก ทำให้ได้สัมผัสว่า ศิลปกรรมไทยเป็นของงดงาม ทรงคุณค่า ที่สำคัญยังมีอักษรเบรลล์กำกับไว้ด้วย ซึ่งทำได้ชัดเจนมาก อ่านง่าย ช่วยให้จินตนาการของคนตาบอดที่ได้ฟังมาตลอดปี กลายเป็นรูปธรรมที่สัมผัสได้ ทำให้ผู้พิการทางสายตามีโอกาสได้มาร่วมรำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
นิทรรศการอีกโซนหนึ่งคือ “พระผู้ทรงเป็นนิรันดร์” นิทรรศการในพระที่นั่งทรงธรรม ประกอบด้วย 5 เรื่องราว คือ 1. เมื่อเสด็จอวตาร แสดงพระราชประวัติ พระราชจริยาวัตรของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องด้วยวังสระปทุม ตั้งแต่พระชนมพรรษา 1 พรรษา
2. รัชกาลที่ร่มเย็น นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการทรงงานด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร ทำให้ทรงรับทราบถึงปัญหาด้านต่างๆ จึงทรงริเริ่มออกแบบและทดลองโครงการด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน นำเสนอผ่านอุปกรณ์ทรงงานหลากหลายชนิด
3. เพ็ญพระราชธรรม แสดงถึงทศพิธราชธรรม จากหนังสือพระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทยทรงครองราชย์ครบหมื่นวัน
4. นำพระราชไมตรี นำเสนอการทรงงานด้านการต่างประเทศของในหลวงรัชกาลที่ ๙ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นับตั้งแต่ทรงครองสิริราชสมบัติ นำมาซึ่งสัมพันธไมตรีที่ดีกับมิตรประเทศต่างๆ ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและความร่วมมืออีกมากมายตราบจนปัจจุบัน
5. พระจักรีนิวัตฟ้า เป็นการประมวลภาพหลังจากการประกาศของสำนักพระราชวัง โดยประชาชชุดดำนับหมื่นแสนหลั่งไหลเพื่อให้ได้เฝ้าส่งเสด็จขบวนพระบรมศพ ภาพประชาชนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมากราบถวายบังคมพระบรมศพ ตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค. 2559 ถึง 5 ตุลาคม 2560
นอกจากนิทรรศการแล้วยังมีจิตรกรรมฝาผนังอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริของพระองค์ด้วย นิทรรศการทั้งหมดจึงช่วยให้ประชาชนได้เข้ามาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ พระราชาผู้ทรงธรรมและพระผู้ทรงเป็นนิรันดร์
**ชมแค่ตา มืออย่าสัมผัส รำลึกถึง “พ่อ” ด้วยกิริยาที่เหมาะสม**
จากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ในวันทดสอบการเข้าชมนิทรรศการ ส่งผลให้คณะกรรมการจัดนิทรรศการ มีมติไม่อนุญาตให้ขึ้นชมพระเมรุมาศบนชั้น 1 และ 2 ของพระเมรุมาศ ซึ่งอนุมานได้ว่าเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์พระเมรุมาศ ซึ่งประชาชนที่จะเข้าชมพระเมรุมาศ สิ่งหนึ่งที่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอ คือ รับชมแค่สายตา แต่อย่าสัมผัสด้วยมือ ซึ่งนอกจากเป็นการกระทำที่ไม่สมควรแล้ว ยังอาจเกิดความเสียหายต่อสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมต่างๆ ได้
นายธีรภัทร์ จิตประไพกุลศาล ผู้จัดการฝ่ายนำชมนิทรรศการพระเมรุมาศ ยังแนะนำว่า การมาเข้าชมพระเมรุมาศและนิทรรศการต่างๆ ก็เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ จึงควรระมัดระวังเรื่องกิริยา ว่า ต้องแสดงความเคารพและรู้จักกาลเทศะ ซึ่งการชมพระเมรุมาศและนิทรรศการนั้นสามารถรับชมได้ทุกจุดที่เปิด ยกเว้นองค์พระเมรุมาศที่ไม่สามารถขึ้นชมได้แล้ว การถ่ายรูปสามารถทำได้ตามปกติ แต่ขอให้งดการเซลฟีหรือการไลฟ์สด และการแสดงท่าทางการถ่ายรูปที่ไม่เหมาะสม
“นอกจากนี้ ขอให้ระมัดระวังเรื่องสิ่งของจัดแสดงด้วย คือ ไม่ควรสัมผัสสิ่งของที่นำมาจัดแสดง เพราะประติมากรรม สิ่งของบางอย่างที่นำมาจัดแสดง บางส่วนยืมของต้นแบบมาจัดแสดง เช่น โต๊ะทรงงาน เป็นต้น ยกเว้นโซนนิทรรศการเพื่อผู้พิการทางสายตา ที่สามารถให้ผู้พิการทางสายตาได้สัมผัสสิ่งของที่จำลองขึ้นมาได้ ก็ขอให้ระมัดระวังในจุดนี้” นายธีรภัทร์ กล่าว
สำหรับการเข้าชมนิทรรศการ นายธีรภัทร์ ระบุว่า ประชาชนสามารถเข้าชมได้โดยอิสระ ไม่จำเป็นต้องเข้าชมตามลำดับเรื่องราว เพราะนิทรรศการแต่ละเรื่องจบโดยสมบูรณ์ในตัวเอง สามารถเข้าชมส่วนไหนก่อนก็ได้
**ขั้นตอนเข้าชมนิทรรศการพระเมรุมาศ**
อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจก่อนเข้าชมนิทรรศการ คือขั้นตอนในการเข้าชมและการรักษาเวลาในการเข้าชม ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้าพระเมรุมาศและนิทรรศการได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 22.00 น. ของทุกวัน โดยเจ้าหน้าที่จะเปิดจุดคัดกรองทั้ง 5 จุด ประกอบด้วย บริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ บริเวณท่าช้าง บริเวณหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (รด.) บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และบริเวณด้านหลังกระทรวงกลาโหม ในเวลา 06.00 น. ส่วนผู้พิการมีจุดคัดกรองพิเศษหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพระภิกษุสงฆ์ จุดคัดกรองพิเศษหน้าศาลฎีกา
เมื่อประชาชนผ่านจุดคัดกรองแล้ว จะมีเต็นท์พักคอยประมาณ 10 เต็นท์ รองรับประชาชนได้กว่า 10,000 คน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ปรับรูปแบบการเข้าชมจากเดิมรอบละ 5,500 คน เป็นรอบละ 1,800 คน โดยแบ่งเป็นชุด ชุดละ 300 คน ใช้เวลาเข้าชม 45-60 นาที โดยให้ถ่ายภาที่ระลึกบริเวณถนนเส้นกลางเข้าพระเมรุมาศ ซึ่งจะเห็นภาพแปลงนาเลขเก้าไทย และภาพภูมิทัศน์ส่วนต่างๆ ของพระเมรุมาศในมุมกว้างเป็นเวลา 15 นาที จากนั้นจึงเปิดทางให้เข้าชมพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ และนิทรรศการที่อยู่ภายในเป็นเวลา 45 นาที ซึ่งประชาชนสามารถเดินชมได้อย่างอิสระ โดยก่อนหมดเวลา 5 นาที จะมีเสียงออดสัญญาณ 1 ครั้ง และเมื่อครบ 45 นาทีจะมีเสียงออดดัง 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้เข้าชมในรอบนั้นออกจากพื้นที่นิทรรศการ ซึ่งเพื่อให้เป็นไปด้วยคามเรียบร้อย ประชาชนที่เข้าชมต้องมีวินัยและรักษาเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย
**อลังการมหรสพไทย**
นอกจากการเข้าชมนิทรรศการแล้ว ประชาชนยังสามารถเข้าชมการแสดงมหรสพต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. การแสดงโขนหน้าพระที่นั่งทรงธรรม เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งจะเปิดการแสดงทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 19.00 - 19.30 น. เริ่มวันที่ 4 พ.ย. เป็นต้นไป 2. วงประโคมดนตรีรอบพระเมรุมาศ วันละ 10 วง รอบบริเวณศาลาลูกขุน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. และ 3. การแสดงเวทีกลางแจ้งที่สนามหลวงฝั่งทิศเหนือ แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเวลา 18.00 - 19.30 น. และ เวลา 20.00 - 22.00 น. โดยเป็นการแสดงชุดต่างๆ เช่น การแสดงพื้นเมืองแต่ละภาค การแสดงละครใน อาทิ อิเหนา พระมหาชนก พระสุธนมโนราห์ ลิเก ดนตรีสากล ฯลฯ
**พ่อไม่ได้จากลูกไปไหน**
สมจิตร ทิมเชียงราก อายุ 51 ปี ชาวจังหวัดปทุมธานี เล่าว่า ตั้งใจว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้เข้ามากราบพระเมรุมาศในหลวง รัชกาลที่ ๙ เพราะนิทรรศการนี้เปิดให้ประชาชนเข้าชมเพียงเดือนเดียว จากนั้นคงจะรื้อถอนออก และทันทีที่เข้ามาเห็นพระเมรุมาศตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า สัตว์หิมพานต์ ครุฑ ฉากบังเพลิง และอื่นๆ งดงามมาก สะท้อนถึงความจงรักภักดีที่ช่าง จิตอาสา ทุกคนซึ่งเป็นตัวแทนของคนไทยทั้งประเทศทำถวายพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย
“รู้สึกน้ำตาไหลเมื่อเดินขึ้นมาในพระที่นั่งทรงธรรม ดูนิทรรศการพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ โครงการพระราชดำริ โต๊ะทรงงาน อุปกรณ์ทรงงาน นิทรรศการเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าตลอด 70 ปี ที่พระองค์ทรงครองราชย์ พระองค์เหน็ดเหนื่อย เพื่อดูแลลูกทั้งประเทศ” สมจิตร กล่าว
พิกุล ไชยพัฒน์ อายุ 77 ปี จ.นนทบุรี กล่าวว่า รู้สึกปลื้มใจ ถือว่าเป็นบุญที่ได้มาเห็นพระเมรุมาศด้วยตาตนเอง และได้เดินรอบพระเมรุมาศ ซึ่งมีสระอโนดาต ตกแต่งด้วยสัตว์หิมพานต์นานาชนิดไม่ซ้ำกัน ลวดลายไทยตกแต่งรอบพระเมรุมาศ โดยก่อนหน้านี้ เคยเห็นความประณีตงดงามผ่านโทรทัศน์ พร้อมกันนี้ได้มีโอกาสยืนดูวีดิทัศน์ซึ่งลำดับเหตุการณ์ก่อสร้างพระเมรุมาศตั้งแต่เริ่มวางฐานรากจนถึงการประกอบติดตั้งแล้วเสร็จ อีกทั้งยังได้ชมพระเมรุมาศจำลอง ตนอยากขอบคุณทีมช่างและจิตอาสาทุกคน ที่เป็นตัวแทนคนไทยทั้งประเทศสร้างพระเมรุมาศตามโบราณราชประเพณี ได้งดงามสมพระเกียรติ
ขณะที่ วันชัย รุ่งแสง จ.สมุทรปราการ เล่าว่า ตลอดงานพระราชพิธีฯ วันที่ 25 - 29 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้ชมการถ่ายทอดสด ไม่มีโอกาสเดินทางมาท้องสนามหลวง เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ ทำได้เพียงวางดอกไม้จันทน์ที่ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อน้อมส่งเสด็จในหลวง รัชกาลที่ ๙ อย่างไรก็ตาม ตนกับเพื่อนบ้าน 2 คน นั่งแท็กซี่มากราบพระสรีรางคาร ที่วัดบวรนิเวศ ต่อจากนั้น มาสนามหลวง ดูแปลงนาข้าว กังหันน้ำชัยพัฒนา กราบพระเมรุมาศและดูศิลปะไทยที่ช่างได้สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นปัจจุบัน นับว่าเป็นมรดก เอกลักษณ์ของชาติ นอกจากนี้ ได้ดูนิทรรศการภายในอาคารต่างๆ โดยมีเจ้าหน้าที่บรรยาย เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้มาชมด้วย
“รู้สึกดีใจที่ได้มากราบพ่อที่วัดบวรนิเวศ กราบพระเมรุมาศ อย่างที่ตั้งใจไว้ และเชื่อว่า พ่อไม่ได้จากคนไทยไปไหน พระองค์มองและคอยปกป้องลูกอยู่บนฟ้า” วันชัย กล่าว