ผู้ว่าฯ กทม.โชว์ลีลาลวกก๋วยเตี๋ยว ขณะตรวจเยี่ยมผู้ค้าย่านปทุมวัน หลังจัดโซนให้ขาย 4 จุด ฟุ้งที่บ้านเคยทำขายมาก่อน ย้ำผู้ค้าขายได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ขอเน้นสะอาด อร่อย ประหยัด
วันนี้ (14 ก.ย.) พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมจุดทำการค้า “แหล่งอาหารชุมชน กทม. สะอาด อร่อย และประหยัด” 4 จุด ประกอบด้วย จุดที่ 1 บริเวณพื้นที่ด้านข้างห้างสรรพสินค้าโลตัสใกล้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จุดที่ 2 ลานจอดรถข้างสวนลุมพินี เขตปทุมวัน จุดที่ 3 บริเวณหน้าภัตตาคารกุ้งหลวงและ จุดที่ 4 บริเวณปากซอยโรงพยาบาลเจ้าพระยา เขตบางกอกน้อย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้บริโภคในการหาซื้ออาหารดี ราคาถูก และช่วยเหลือผู้ค้าที่เคยขายในพื้นที่จัดระเบียบทางเท้า โดยมีคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครพร้อมด้วยผู้อำนวยการเขตปทุมวันและผู้อำนวยการเขตบางกอกน้อย ร่วมลงพื้นที่
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยประชาชนที่ต้องรับในภาวะค่าครองชีพสูงของเมืองหลวง และเห็นใจลูกค้าที่เคยขายของในพื้นที่การจัดระเบียบทางเท้า จึงได้จัดพื้นที่รองรับลูกค้าที่จำหน่ายอาหารจำนวน 4 จุด คือ บริเวณข้างห้างสรรพสินค้าโลตัส ใกล้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และลานจอดรถข้างสวนลุมพินี ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลจุฬาฯ เขตปทุมวัน ซอยข้างโรงพยาบาลเจ้าพระยา และหน้าภัตตาคารกุ้งหลวง ถนนบรมราชชนนี เขตบางกอกน้อย โดยจัดเป็น “แหล่งอาหารชุมชน กทม. สะอาด อร่อย และ ประหยัด” เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวกในการซื้ออาหารราคาถูก อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ค้าที่ได้รับการจัดระเบียบ ได้มีพื้นที่ขายของอีกด้วย
“โดยกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการปรับผิวขีดสีตีเส้น และปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ดังกล่าวให้พร้อมสำหรับรองรับผู้ค้า แบ่งแผงค้า ขนาด 1.5 x 2 เมตร ให้ขายเฉพาะอาหารสำเร็จรูป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับบริเวณข้างโลตัส ใกล้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน มีพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร รองรับลูกค้าได้ 84 แผงค้า ลานจอดรถห้างสวนลุมพินี มีพื้นที่ 500 ตร.ม. รองรับผู้ค้าได้ 72 แผงค้า ส่วนบริเวณหน้าภัตตาคารกุ้งหลวงมีพื้นที่ 700 ตร.ม. รองรับผู้ค้าได้ 48 แผงค้า และซอยข้างโรงพยาบาลเจ้าพระยา มีพื้นที่ 20 ตร.ม. รองรับผู้ค้าได้ 20 แผงค้า ผู้ค้าที่สนใจทำการค้าสามารถประสานขอลงทะเบียนทำการค้าได้ที่ฝ่ายเทศกิจ เขตปทุมวัน และเขตบางกอกน้อย ทั้งนี้ กรณีมีผู้ค้าสนใจเกินจำนวนแผงค้า จะทำการจับสลากหมุนเวียนให้ค้าขาย” ผู้ว่าราชการกรุงเทพ กล่าว
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยประชาชนที่ต้องรับในภาวะค่าครองชีพสูงของเมืองหลวง และเห็นใจลูกค้าที่เคยขายของในพื้นที่การจัดระเบียบทางเท้า จึงได้จัดพื้นที่รองรับลูกค้าที่จำหน่ายอาหารจำนวน 4 จุด คือ บริเวณข้างห้างสรรพสินค้าโลตัส ใกล้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และลานจอดรถข้างสวนลุมพินี ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลจุฬาฯ เขตปทุมวัน ซอยข้างโรงพยาบาลเจ้าพระยา และหน้าภัตตาคารกุ้งหลวง ถนนบรมราชชนนี เขตบางกอกน้อย โดยจัดเป็น “แหล่งอาหารชุมชน กทม. สะอาด อร่อย และ ประหยัด” เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวกในการซื้ออาหารราคาถูก อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ค้าที่ได้รับการจัดระเบียบ ได้มีพื้นที่ขายของอีกด้วย
“โดยกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการปรับผิวขีดสีตีเส้น และปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ดังกล่าวให้พร้อมสำหรับรองรับผู้ค้า แบ่งแผงค้า ขนาด 1.5 x 2 เมตร ให้ขายเฉพาะอาหารสำเร็จรูป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับบริเวณข้างโลตัส ใกล้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน มีพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร รองรับลูกค้าได้ 84 แผงค้า ลานจอดรถห้างสวนลุมพินี มีพื้นที่ 500 ตร.ม. รองรับผู้ค้าได้ 72 แผงค้า ส่วนบริเวณหน้าภัตตาคารกุ้งหลวงมีพื้นที่ 700 ตร.ม. รองรับผู้ค้าได้ 48 แผงค้า และซอยข้างโรงพยาบาลเจ้าพระยา มีพื้นที่ 20 ตร.ม. รองรับผู้ค้าได้ 20 แผงค้า ผู้ค้าที่สนใจทำการค้าสามารถประสานขอลงทะเบียนทำการค้าได้ที่ฝ่ายเทศกิจ เขตปทุมวัน และเขตบางกอกน้อย ทั้งนี้ กรณีมีผู้ค้าสนใจเกินจำนวนแผงค้า จะทำการจับสลากหมุนเวียนให้ค้าขาย” ผู้ว่าราชการกรุงเทพ กล่าว
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง กล่าวเพิ่มว่า วันนี้กรุงเทพมหานครได้มาพยายามดูเกี่ยวกับเรื่องผู้ค้า ผู้ขาย เพื่อเราจะจัดที่ให้ ซึ่งเป็นที่เอกชนหรือที่กรุงเทพมหานครจัดให้ผู้ที่ประสงค์อยากจะค้า อยากจะขาย แต่เราก็มีกำหนดเวลา อย่างเช่น ตรงพระรามใต้สะพานตรงนั้น เราจะให้ขาย ตรงนั้นจัดได้ประมาณสัก 700-800 แผงค้า ตอนนี้เรากำลังปรับปรุงเรื่องไฟฟ้า น้ำ ความสะอาดต่างๆ ตรงนั้นมีที่เดียวที่ให้ขายทุกอย่าง เป็นเสื้อผ้าของใช้ต่างๆ แต่อย่างกรณีที่เรายืนอยู่ตรงบริเวณนี้ให้ขายเฉพาะอาหารเท่านั้น และก็มีสำนักอนามัยมาดูแลเรื่องคุณอาหาร ความสะอาด สำนักสิ่งแวดล้อมก็จะมาดู แล้วเมื่อสักครู่ได้รับการติดต่อประสานจากธนาคารออมสิน จะมาจัดโต๊ะ เก้าอี้ แล้วก็ผ้าปูโต๊ะให้ทั้งหมด 20 จุด และผ้ากันเปื้อนที่ กทม. แจกให้อยู่แล้ว เขาก็จะเข้ามาดูเรื่องทุกอย่างตรงนี้ และธนาคารอื่นๆ ที่เรามีการประสานเพิ่ม
“ซึ่งวันนี้เราจะเริ่มเปิด 4 จุด คือ 1. จุดนี้ จุดนี้จะมีอาหารขาย 3 รอบ เช้า กลางวัน เย็น ผู้ที่ทำงานอาคารต่างๆ จะได้ลงมาหาอาหารที่ราคาไม่แพงนัก และมีคุณภาพอาหาร เราจะความสะอาดกับคุณภาพอาหาร รวมถึงเรื่องราคาอาหาร จุดที่ 2 ลานจอดรถข้างสวนลุมพินี ซึ่งจะรับไม่เกิน 70 แผงค้า เพื่อรองรับผู้ที่เดินลงมาหาอาหารตอนกลางวัน ภาษาบ้านเรา ก็คือ “มนุษย์เงินเดือน” จะเข้าไปร้านอาหารใหญ่ๆ ทุกมื้อก็เป็นไปไม่ได้ มันแพง แต่ทั้งหลายทั้งปวง เราก็พยายามคุยกับผู้ค้าว่าเราเน้นเรื่องความสะอาคกับคุณภาพอาหาร และเรื่องราคา ซึ่งได้รับความร่วมมือผู้ค้าเป็นอย่างดี จุดที่ 3 หน้าภัตตาคารกุ้งหลวง เขตบางกอกน้อย แต่วันต่อๆ ไปค่อยทยอยเปิดที่อื่น ภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ อย่างน้อย 10 จุด” ผู้ว่าราชการกรุงเทพ กล่าว
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง กล่าวต่อว่า แต่ว่าทั้งหมดที่เราจัดให้จะต้องเป็นที่เอกชน ซึ่งไม่กีดขวางทางเดินของพี่น้องประชาชน พูดง่ายๆ ทางเท้ามันไม่ได้ และที่กรุงเทพมหานครมีเท่าไหร่ เราก็พยายามจัดหาให้ท่านค้า ท่านขาย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว และเฉพาะจุดนี้จุดเดียวที่สามารถค้าขายได้เช้า กลางวัน เย็น แต่จุดอื่นนั้นให้ขายได้ถึง 15.00 น. เก็บข้าวของ ทำความสะอาดให้เรียบร้อย สามารถขายได้ทุกวันอังคารถึงวันอาทิตย์ ส่วนวันจันทร์ก็ต้องหยุดเพื่อทำความสะอาด ยืนยันผ่านสื่อเลยว่า เราจะพยามยามจัดร้านค้าให้ดูดีและสวยงาม และท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายมาว่าให้มาช่วยกัน ช่วยส่งเสริมพวกรากหญ้าให้มีที่ทำมาหากิน พวกที่ทำงานในอาคารสูง พวกพนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการหรือพนักงานบริษัทจะได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพที่ดี และราคาย่อมเยา
สำหรับการจัดการพื้นที่ ผู้ค้าจะขายของเป็นเวลาที่แน่นอน และต้องเก็บแผงค้ารวมทั้งสิ่งของต่างๆ ออกให้หมดไม่มีการจัดวางสิ่งของทิ้งไว้ข้ามวัน ผู้ค้าทุกรายต้องมีบัตรประจำตัวแสดงตนแต่งกายถูกสุขลักษณะ จัดถังขยะบริการและมีเจ้าหน้าที่เทศกิจประจำกำกับดูแลให้คืนพื้นที่สะอาดหลังการขาย นอกจาก 4 จุดนี้ ยังมีพื้นที่อื่นที่มีความเหมาะสมจะทยอยจัดเปิดให้ทำการค้าขายอาหารเช่นสวนป่าวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง ด้านหน้าสำนักงานเขตบางนา ปัจจุบันมีผู้ค้าในพื้นที่ที่มีการจัดระเบียบทางเท้าไป จำนวน 8,007 ราย แบ่งเป็นผู้ค้าประเภทอาหาร 6,334 ราย เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย 681 ราย และของใช้ต่างๆ 992 ราย กทม. จะสำรวจพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ หาที่ที่มีความเหมาะสมเพิ่มเติมต่อไป