สบศ. ไหว้ครูซ้อม “วงบัวลอย” ประโคมดนตรีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙ ยึดแบบแผนโบราณราชประเพณีต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.) จัดพิธีไหว้ครูนาฏดุริยางค์ เพื่อดำเนินการฝึกซ้อมดนตรีประโคมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดย นายสุรัตน์ จงดา ผู้ช่วยอธิการบดี สบศ. กล่าวว่า ดนตรีประโคมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงครั้งนี้มีหลายหน่วยงานที่ร่วมบรรเลง ได้แก่ วงปี่ไฉน กลองชนะของสำนักพระราชวัง และ วงดุริยางค์ของ 4 เหล่าทัพ และวงปี่พาทย์นางหงส์ 2 วง ได้แก่ วงของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และวงปี่พาทย์ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ส่วนวงปี่พาทย์มอญ ประกอบด้วย วงพาทยโกศล และ สบศ. ขณะที่วงปี่กลอง ที่มีความสำคัญใช้ในการประโคมรับ-ส่งกันบรรเลงทั้งบริเวณ 4 มุมของพระเมรุมาศ ประกอบด้วย วงปี่กลองของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และวงของ สบศ. ในชื่อ “วงบัวลอย” ร่วมกันบรรเลงในช่วง 3 เวลาของพระราชพิธี ประกอบด้วย ช่วงอัญเชิญพระบรมโกศเวียนรอบอุตราวัฎก่อนประดิษฐานบนพระจิตกาธานพระเมรุมาศ จากนั้น ช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิง ระหว่างเวลา 16.00 - 18.00 น. และช่วงเวลาถวายพระเพลิงจริงตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะมีการสรุปช่วงเวลาในการบรรเลงบทเพลงอีกครั้ง ก่อนที่จะการประโคมดนตรีจนรุ่งเช้าของ 4 เหล่าทัพ สำหรับการฝึกซ้อมครั้งนี้ถือเป็นการดำเนินการในส่วนของวงบัวลอยของ สบศ. เป็นหลัก จากนั้นจะประสานงานกับวงของสำนักการสังคีตเพื่อเข้ามาฝึกซ้อมร่วมกันตามลำดับ
ด้าน นายบุญช่วย โสวัตร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กล่าวว่า วงบัวลอย จะตั้งอยู่บริเวณฐานพระเมรุมาศทั้ง 4 มุม แบ่งเป็น 4 วง ได้แก่ จาก สำนักการสังคีต 3 วง และ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 1 วง โดยใช้นักดนตรีวงละ 4 คน บรรเลงเครื่องดนตรี 4 ชิ้น ได้แก่ กลอง 1 คู่ ปีชวา 1 เหล่า ฆ้องเหม่ง 1 ลูก โดยใช้บรรเลงประโคมในช่วงถวายพระเพลิงพระบรมศพ แบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก ทั้งนี้ จะมีการบรรเลงบทเพลงร้อยเรียงกันไป เริ่มจาก เพลงรัว 3 ลา เป็นเพลงแรก ต่อด้วย บัวลอย และเข้าสู่ หนึ่งหน่าย รัวลาเดียว ไฟชุม และย้อนกลับมาเพลงรัวลาเดียว ก่อนจะปิดท้ายด้วย เพลงนางหงส์ทางวัดสระเกศ โดยจะมีการเตรียมพร้อมเวลาบรรเลง ตั้งแต่ 15 นาที ไปจนถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งในการบรรเลง จะมีกระบวนเทคนิคร้อยเรียงเพลงให้วนกลับได้ตามความเหมาะสมของเวลาในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
“วงบัวลอยนั้น จะใช้สำหรับบรรเลงสำหรับพิธี และพระราชพิธีอวมงคล มีบทเพลงบรรเลงตามแบบแผนตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นการส่งเสด็จพระมหากษัตริย์ สู่สวรรคาลัย” นายบุญช่วย กล่าว
เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบศ.) จัดพิธีไหว้ครูนาฏดุริยางค์ เพื่อดำเนินการฝึกซ้อมดนตรีประโคมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดย นายสุรัตน์ จงดา ผู้ช่วยอธิการบดี สบศ. กล่าวว่า ดนตรีประโคมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงครั้งนี้มีหลายหน่วยงานที่ร่วมบรรเลง ได้แก่ วงปี่ไฉน กลองชนะของสำนักพระราชวัง และ วงดุริยางค์ของ 4 เหล่าทัพ และวงปี่พาทย์นางหงส์ 2 วง ได้แก่ วงของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และวงปี่พาทย์ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ส่วนวงปี่พาทย์มอญ ประกอบด้วย วงพาทยโกศล และ สบศ. ขณะที่วงปี่กลอง ที่มีความสำคัญใช้ในการประโคมรับ-ส่งกันบรรเลงทั้งบริเวณ 4 มุมของพระเมรุมาศ ประกอบด้วย วงปี่กลองของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และวงของ สบศ. ในชื่อ “วงบัวลอย” ร่วมกันบรรเลงในช่วง 3 เวลาของพระราชพิธี ประกอบด้วย ช่วงอัญเชิญพระบรมโกศเวียนรอบอุตราวัฎก่อนประดิษฐานบนพระจิตกาธานพระเมรุมาศ จากนั้น ช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิง ระหว่างเวลา 16.00 - 18.00 น. และช่วงเวลาถวายพระเพลิงจริงตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะมีการสรุปช่วงเวลาในการบรรเลงบทเพลงอีกครั้ง ก่อนที่จะการประโคมดนตรีจนรุ่งเช้าของ 4 เหล่าทัพ สำหรับการฝึกซ้อมครั้งนี้ถือเป็นการดำเนินการในส่วนของวงบัวลอยของ สบศ. เป็นหลัก จากนั้นจะประสานงานกับวงของสำนักการสังคีตเพื่อเข้ามาฝึกซ้อมร่วมกันตามลำดับ
ด้าน นายบุญช่วย โสวัตร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กล่าวว่า วงบัวลอย จะตั้งอยู่บริเวณฐานพระเมรุมาศทั้ง 4 มุม แบ่งเป็น 4 วง ได้แก่ จาก สำนักการสังคีต 3 วง และ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 1 วง โดยใช้นักดนตรีวงละ 4 คน บรรเลงเครื่องดนตรี 4 ชิ้น ได้แก่ กลอง 1 คู่ ปีชวา 1 เหล่า ฆ้องเหม่ง 1 ลูก โดยใช้บรรเลงประโคมในช่วงถวายพระเพลิงพระบรมศพ แบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก ทั้งนี้ จะมีการบรรเลงบทเพลงร้อยเรียงกันไป เริ่มจาก เพลงรัว 3 ลา เป็นเพลงแรก ต่อด้วย บัวลอย และเข้าสู่ หนึ่งหน่าย รัวลาเดียว ไฟชุม และย้อนกลับมาเพลงรัวลาเดียว ก่อนจะปิดท้ายด้วย เพลงนางหงส์ทางวัดสระเกศ โดยจะมีการเตรียมพร้อมเวลาบรรเลง ตั้งแต่ 15 นาที ไปจนถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งในการบรรเลง จะมีกระบวนเทคนิคร้อยเรียงเพลงให้วนกลับได้ตามความเหมาะสมของเวลาในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
“วงบัวลอยนั้น จะใช้สำหรับบรรเลงสำหรับพิธี และพระราชพิธีอวมงคล มีบทเพลงบรรเลงตามแบบแผนตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นการส่งเสด็จพระมหากษัตริย์ สู่สวรรคาลัย” นายบุญช่วย กล่าว