ศมส. เดินหน้าสร้างเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา แลกเปลี่ยนความรู้มานุษวิทยาในประเทศไทย
นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (ศมส.) (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2561 ศมส. มีแผนงานที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีอาจารย์ หรือผู้สอนมานุษยวิทยา ซึ่งตนมีแนวทางที่จะจัดสัมมนาผู้สอน หรืออาจารย์ มานุษยวิทยาขึ้น เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาพปัญหามานุษยวิทยาในประเทศไทย เช่น ชาติพันธ์ พฤติกรรมคนในสังคม เรื่องเพศ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วิถีชีวิต เป็นต้น ที่สำคัญ จะเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานให้ครอบคลุมกลุ่มมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะแนะนำให้สถาบันการศึกษาของประเทศได้รับรู้และรับทราบว่า ศมส. มีฐานข้อมูลด้านมานุษยวิทยาที่สามารถให้บริการแก่นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา รวมถึงประชาชนที่สนใจด้วย ทั้งนี้ตนจะหารือกับคณะทำงานในการกำหนดวันและเวลาในการจัดการสัมมนาดังกล่าวอีกครั้ง
ทั้งนี้ ได้หารือกับหน่วยงานในสังกัด วธ. ถึงการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ส่วนงานใดที่มีความซ้ำซ้อน ก็จะไม่ดำเนินกิจกรรม หรือโครงการทับซ้อนกัน แต่อาจจะเป็นความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนที่ส่งผลต่ออัตรากำลังของแต่ละหน่วยงานที่มีอย่างจำกัดด้วย ในขณะเดียวกัน ศมส. ยังได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยสหวิทยาการ เฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานดำเนินการวิจัยด้านมานุษยวิทยาร่วมกันอีกด้วย
ผอ.ศมส. กล่าวว่า เดือนกันยายน ผมเตรียมหารือการบูรณาการทำงาน ร่วมกับ น.ส.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) เนื่องจาก ศมส. มีฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอยู่เป็นจำนวนมาก ว่า จะมีแนวทางการทำงานร่วมกันอย่างไร โดยทางเราจะเป็นฐานข้อมูลทางวิชาการให้ทาง สศร. ต่อยอดให้ศิลปินร่วมสมัยรุ่นใหม่ได้มาศึกษา และใช้ฐานข้อมูลที่มีอยู่พัฒนาผลงานสู่สังคม และทำให้สังคมได้เข้าใจศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การสร้างเครือข่ายทางวิชาการทั้งในองค์กร และนอกองค์กร เป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญมาก หากเรามีเครือข่ายที่เข้มแข็ง จะทำให้งานมานุษยวิทยาเกิดผลต่อสังคมและประเทศชาติได้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงงานเชิงนามธรรมเท่านั้น
นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (ศมส.) (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2561 ศมส. มีแผนงานที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีอาจารย์ หรือผู้สอนมานุษยวิทยา ซึ่งตนมีแนวทางที่จะจัดสัมมนาผู้สอน หรืออาจารย์ มานุษยวิทยาขึ้น เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาพปัญหามานุษยวิทยาในประเทศไทย เช่น ชาติพันธ์ พฤติกรรมคนในสังคม เรื่องเพศ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วิถีชีวิต เป็นต้น ที่สำคัญ จะเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานให้ครอบคลุมกลุ่มมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะแนะนำให้สถาบันการศึกษาของประเทศได้รับรู้และรับทราบว่า ศมส. มีฐานข้อมูลด้านมานุษยวิทยาที่สามารถให้บริการแก่นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา รวมถึงประชาชนที่สนใจด้วย ทั้งนี้ตนจะหารือกับคณะทำงานในการกำหนดวันและเวลาในการจัดการสัมมนาดังกล่าวอีกครั้ง
ทั้งนี้ ได้หารือกับหน่วยงานในสังกัด วธ. ถึงการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ส่วนงานใดที่มีความซ้ำซ้อน ก็จะไม่ดำเนินกิจกรรม หรือโครงการทับซ้อนกัน แต่อาจจะเป็นความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนที่ส่งผลต่ออัตรากำลังของแต่ละหน่วยงานที่มีอย่างจำกัดด้วย ในขณะเดียวกัน ศมส. ยังได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยสหวิทยาการ เฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานดำเนินการวิจัยด้านมานุษยวิทยาร่วมกันอีกด้วย
ผอ.ศมส. กล่าวว่า เดือนกันยายน ผมเตรียมหารือการบูรณาการทำงาน ร่วมกับ น.ส.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) เนื่องจาก ศมส. มีฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอยู่เป็นจำนวนมาก ว่า จะมีแนวทางการทำงานร่วมกันอย่างไร โดยทางเราจะเป็นฐานข้อมูลทางวิชาการให้ทาง สศร. ต่อยอดให้ศิลปินร่วมสมัยรุ่นใหม่ได้มาศึกษา และใช้ฐานข้อมูลที่มีอยู่พัฒนาผลงานสู่สังคม และทำให้สังคมได้เข้าใจศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การสร้างเครือข่ายทางวิชาการทั้งในองค์กร และนอกองค์กร เป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญมาก หากเรามีเครือข่ายที่เข้มแข็ง จะทำให้งานมานุษยวิทยาเกิดผลต่อสังคมและประเทศชาติได้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงงานเชิงนามธรรมเท่านั้น