xs
xsm
sm
md
lg

เริ่มแล้ว!! นายจ้าง-ผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบประกันสังคมเกิน ทำเรื่องรับเงินคืนได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ะเบียบรับเงินสมทบคืนบังคับใช้แล้ว นายจ้าง - ผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบเกินที่ชำระไว้ ขอรับเงินคืนได้ เผยช่วงน้ำท่วมใต้ ลดหย่อนจ่ายสมทบ มียอดเงินต้องจ่าย 700 - 800 ล้านบาท

นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วยการขอรับเงินสมทบที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืน พ.ศ. 2560 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีผลใช้บังคับ 29 มิ.ย. 2560 มีสาระสำคัญคือ ให้นายจ้าง และผู้ประกันตน ที่นำส่งเงินสมทบให้แก่ สปส. เกินจำนวนที่ต้องชำระ สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินคืนเป็นหนังสือต่อ สปส. ได้ทุกแห่งที่สะดวกในการติดต่อ

นพ.สุรเดช กล่าวว่า การยื่นคำร้องขอรับเงินคืนต้องมีรายการสำคัญและหลักฐานประกอบยื่น โดยกรณีนายจ้างเป็นผู้ยื่นคำร้องขอคืนเงินสมทบ ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขที่บัญชีทะเบียนนายจ้าง เหตุผลในการขอรับเงินคืนและหลักฐานประกอบ (ถ้ามี) กรณีมีกิจการหลายสาขา ให้ระบุสาขาที่ขอรับเงินคืน ทั้งนี้ ให้ลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำร้องและวันที่ยื่นคำร้องกำกับในแบบคำร้อง

กรณีผู้ประกันตน เป็นผู้ยื่นคำร้องขอคืนเงินสมทบ ผู้ประกันตนต้องระบุชื่อ ที่อยู่ และ เลขประจำตัวประชาชน (กรณีคนต่างด้าว ให้ใช้เลขบัตรประกันสังคม) ทั้งนี้ ให้ลงลายมือชื่อ ผู้ยื่นคำร้อง วันที่ยื่นคำร้องกำกับในแบบคำร้อง

สำหรับการขอรับเงินคืนของผู้ประกันตน สปส. ได้จัดทำหนังสือส่งถึงผู้ประกันตน และแจ้งให้ทราบจำนวนเงินสมทบที่ชำระไว้เกิน โดยผู้ประกันตนที่ต้องการรับเงินส่วนเกินคืน สามารถกรอกข้อความ และลงนามในคำขอรับเงินคืนพร้อมแนบหลักฐาน รายละเอียดเงินสมทบส่วนที่เกิน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ และนำส่งทางไปรษณีย์ถึง สปส. ภายในเวลาที่ระบุไว้ในคำขอรับเงินคืนตามที่อยู่ซึ่งแจ้งในหนังสือ และให้วงเล็บมุมซองว่า “ขอคืนเงินสมทบ”

ทั้งนี้ ในการคืนเงินสมทบให้แก่นายจ้าง หรือผู้ประกันตน สปส. จะคืนเงินโดยวิธีผ่านธนาคารที่ สปส. กำหนด ที่สำคัญในการขอรับเงินสมทบส่วนที่เกินคืนต้องยื่นขอรับเงินคืนภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่นำส่งเงินสมทบ

“ในช่วงที่เกิดเหตุน้ำท่วมภาคใต้นั้น ทางประกันสังคมได้ทำเรื่องลดหย่อนการส่งเงินสมทบให้กับนายจ้าง และผู้ประกันตนเอาไว้ แต่ต้องรอให้ออกเป็นกฎหมายก่อน ซึ่งเมื่อ ครม. อนุมัติแล้ว และประกาศเป็นกฎหมายแล้วตอนนี้ก็เลยทำเรื่องคืนตรงส่วนนี้ให้ ซึ่งยอดเท่าที่คำนวณตอนนี้ที่ต้องจ่ายคืนให้นายจ้างและผู้ประกันตนใน 12 จังหวัดภาคใต้ประมาณ 700 - 800 ล้านบาท ส่วนของทั่วประเทศที่อาจจะมีการคิดเกินมาจากความสับสนว่าเงินนี้เป็นค่าจ้างหรือไม่เป็นค่าจ้าง หรือกรณีที่ลูกจ้างทำงานหลายๆ อย่างรวมๆ กันเป็นเงิน 1.5 หมื่นบาท เป็นต้น แต่ส่วนนี้ไม่มาก รวมๆ กันแล้วทั่วประเทศไม่ถึง 10 ล้านบาท” นพ.สุรเดช กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น