xs
xsm
sm
md
lg

สจล.พัฒนา “หุ่นยนต์ตรวจกู้ระเบิด-เสื้อเกราะกันกระสุน” ประสิทธิภาพสูง ราคาถูกกว่านำเข้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


สจล. พัฒนา “หุ่นยนต์ตรวจกู้ระเบิด - เสื้อเกราะกันกระสุน” เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของตำรวจ - ทหาร เผย ได้มาตรฐานแต่ราคาถูกกว่านำเข้า ช่วยประหยัดงบประมาณการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ เผยต้นทุนหุ่นยนต์ตรวจกู้ระเบิดแค่ 4 แสนบาท ราคาท้องตลาด 1.2 ล้านบาท

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบและสถานการณ์รุนแรงต่างๆ เช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือการลอบวางระเบิดในโรงพยาบาล สจล. ซึ่งเปิดสอนในสาขาวิศวกรรมป้องกันประเทศ ตั้งแต่ปี 2555 เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์และพัฒนาเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงสนับสนุนการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อภารกิจป้องกันเหตุด่วนเหตุร้าย โดยขณะนี้มี 2 ผลงานวิจัย ได้แก่ 1. หุ่นยนต์สำหรับการเก็บกู้วัตถุระเบิดและตรวจสอบหาระเบิดแบบไม่สัมผัส และ 2. เสื้อเกราะกันกระสุนที่พัฒนาให้เข้ากับรูปร่างของคนไทยเพื่อความคล่องตัว และสอดรับกับภารกิจเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้สวมใส่ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดและผลิตในเชิงพาณิชย์ ภายใต้ต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ ช่วยประหยัดงบประมาณ การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของประเทศได้

นายนิมิต หงส์ยิ้ม นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ผู้ออกแบบ “หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดและ ตรวจสอบหาระเบิดแบบไม่สัมผัส” (Robot for Bomb Disposal and Contactless Explosive Detector) กล่าวว่า เหตุการณ์ลอบวางระเบิด 3 จังหวัดชายแดนใต้แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ 1. ตรวจพบสิ่งของต้องสงสัยที่ยังไม่ทราบว่าเป็นสารระเบิด และ 2. การเก็บกู้และเคลื่อนย้ายระเบิด จึงร่วมกับ รศ.ดร.สมศักดิ์ มิตะถา อาจารย์สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สจล. และ นายสรยุทธ กลมกล่อม ออกแบบหุ่นยนต์ที่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทั้ง 2 เหตุการณ์ โดยจุดเด่นของหุ่นยนต์ตัวนี้ที่แตกต่างจากหุ่นยนต์ EOD ทั่วไป คือ การติดอุปกรณ์เพื่อส่งข้อมูลจากตัวตรวจจับต่างๆ กลับมายังชุดควบคุม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกู้ และตรวจหาระเบิดได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำไปประกอบเข้ากับอุปกรณ์รับรู้กลิ่น ผลงานของอาจารย์ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อตรวจหาสารระเบิดและอาวุธเคมี ซึ่งเป็นรูปแบบการก่อการร้ายรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบันได้อีกด้วย

นายนิมิต กล่าวว่า รูปแบบการทำงานของหุ่นยนต์แบ่งออกเป็น 5 ระบบ คือ 1. ระบบขับเคลื่อน โดยใช้ล้อสายพานแบบ Differential Track Drive สามารถทำมุมเลี้ยวรอบตั วโดยการที่ Track หมุนสลับทิศทางสามารถวิ่งบนพื้น ผิวนุ่มหรือแข็งได้หลายแบบ พร้อมมีระบบป้องกันการลื่นไหลขณะปีนป่าย และติดตั้งกล้องความละเอียดสูงร ะดับ HD เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ในเวลา กลางคืน ในระยะ 15 เมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ 10 กม./ชม. 2. ระบบรับส่ง - สัญญาณควบคุม ระหว่างสถานีควบคุมกับตัวหุ่นยน ต์แบบไร้สาย ผ่านระบบความถี่ 2.4 GHz พร้อมระบบเข้ารหัสป้องกันการรบกวนสัญญาณ และป้องกันการส่งข้อมูลผิดพลาด digital modulation ควบคู่กับการติดตั้งระบบรักษาระ ดับความเร็วในการหมุนมอนิเตอร์อย่างนุ่มนวล เพิ่มความสะดวกในการควบคุมระยะไกลด้วย Joystick

3. ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ขนาด 12 โวลต์ 16.8 แอมแปร์ พร้อมติดตั้งระบบบริหารจัดการแบ ตเตอรี่ (BMS) สามารถปฏิบัติงานต่อปกติได้ 2 ชม. ปฏิบัติงานหนักต่อเนื่อง 30 นาที 4. ระบบแขนกล ติดตั้งได้หลากหลายรูปแบบ โดยสามารถเปลี่ยนให้เหมาะสมกั บรูปแบบการปฏิบัติงานได้ทันที หรือทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์สำรวจ โดยไม่ต้องติดตั้งแขนกลก็ได้ และ 5. ระบบการส่งข้อมูลจากหุ่นยนต์ เป็นเครื่องมือที่สามารถควบคุ มหุ่นยนต์ได้ง่ายขึ้น โดยระบบทำหน้าที่เป็นตัวสื่อสาร แจ้งข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นให้ผู้ใช้ง่ายทราบในเวลานั้น เช่น GPS ปริมาณแบตเตอรี่ ท่าทางของแขนหุ่นยนต์จากภาพจากก ล้องของหุ่นยนต์ เป็นต้น โดยการแสดงข้อมูลต่างๆ นั้น จำเป็นต้องแสดงข้อมูลทั้งหมดให้ ใกล้เคียงกับเวลาจริงมาที่สุด โดยการส่งข้อมูลระยะไกลถือเป็นระบบที่สำคัญ ต้องทำการออกแบบให้เข้าใจและใช้งานง่าย

“นอกจากการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพการเก็บกู้ หรือเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดและตรวจสอบหาสารระเบิด โดยการเพิ่มฟังชั่นการส่งข้อมูลจากตัวหุ่นยนต์กลับมายังศูนย์คว บคุมแล้ว จุดเด่นของหุ่นยนต์ตัวนนี้ยังอยู่ที่ราคาในการผลิตที่ถือว่าถูกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศมาก โดยสามารถทำได้ในต้นทุนประมาณตัวละ 4 แสนบาท หรือต่ำกว่านี้หากนำไปผลิตจำนวนมาก ขณะที่ราคาตลาดทั่วไปอยู่ที่ตัวละประมาณ 1.2 ล้านบาท ส่วนแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในขั้นต่อไปนั้น ขณะนี้ทีมวิจัยกำลังพัฒนาระบบทำลายระเบิด ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เชื่อว่าหุ่นยนต์ตัวนี้จะช่วยยกประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชนได้ดียิ่งขึ้น” นายนิมิตร กล่าว

ผศ.พลศาสตร์ เลิศประเสริฐ อาจารย์หลักสูตรวิศวกรรมป้องกันประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. หัวหน้าโครงการพัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุนให้เข้ากับรูปร่างของคนไทย กล่าวว่า เสื้อเกราะกันกระสุนมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในภารกิจที่เสี่ยงอันตราย เพราะเป็นอุปกรณ์ช่วยป้องกันการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ปัจจุบันเสื้อเกราะจากต่างประเทศแม้จะเป็นที่ยอมรับว่ามีมาตรฐานการผลิตที่ดีและแข็งแรงคงทนทาน แต่เมื่อนำมาใช้กับเจ้าหน้าที่ไทยจะไม่คล่องตัวจึงส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติภารกิจ ทีมพัฒนาจึงผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนให้เหมาะกับรูปร่างและสัดส่ วนของคนไทย เบื้องต้นได้แบ่งการผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนออกเป็น 2 แบบ คือ 1. สำหรับเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ เน้นดีไซน์ให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติหน้าที่มากที่สุด โดยการลดพื้นที่ปกปิดเล็กน้อยในส่วนที่ไม่จำเป็น แต่เพิ่มความหนาเพื่อความปลอดภัยมากขึ้นในการรับแรงกระสุน และ 2. สำหรับผู้บริหารระดับสูง เน้นดีไซน์ในลักษณะปกปิดชนิดเกราะอ่อนหรือแบบเสื้อกั๊กเพื่อให้ สามารถใส่ทับด้านใน เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง

ผศ.พลศาสตร์ กล่าวว่า จากการทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันของเสื้อเกราะกันกระสุนทั้ง 2 แบบ พบว่าแม้ตัวเสื้อเกราะจะมีน้ำหนักเบากว่าปกติ จากการใช้เส้นใยสังเคราะห์อารามิดคุณภาพสูงนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในยุโรปและอิสราเอล แต่สามารถผ่านมาตรฐานตามข้อบังคับของ National Institute of Justice หรือ NIJ ในระดับ 3A สามารถป้องกันกระสุนขนาด 9 มม. พาราฯ แบบ FMJ ที่มีหัวกระสุนหนัก 124 เกรนและมีความเร็วไม่เกิน 1,400 ฟุต/วินาที และกระสุนในขนาด .44 แม็กนั่ม แบบ SJHP ที่มีหัวกระสุนหนัก 240 เกรน และมีความเร็วไม่เกิน 1,400 ฟุต/วินาที รวมไปถึงป้องกระสุนในระดับ 1, 2 และ 3 ในภาพรวมจึงถือว่ามีความคุ้มค่า มากกว่าการนำเข้าเสื้ อเกราะสำเร็จรูป เนื่องจากทีมพัฒนาสามารถทำได้ใน ต้นทุนที่ไม่สูง เฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 25,000 บาท ขณะที่ราคาเสื้อเกราะนำเข้ าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ตกอยู่ที่ตัวละไม่ต่ำกว่า 30,000 - 35,000 บาท ซึ่งผลิตในปริมาณมากก็จะยิ่งลดต้นทุนให้น้อยลงได้อีก
กำลังโหลดความคิดเห็น