สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนาโกยา รพ.ราชวิถี และ ศิริราช อบรมเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารขั้นสูงค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก
วันนี้ (1 ธ.ค.) ที่โรงแรมวีโฮเทล กรุงเทพฯ นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารขั้นสูง ครั้งที่ 2 ว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และทั่วโลก พบว่า จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นรวมถึงอายุเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งระบบทางเดินอาหารที่พบสถิติผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุของมะเร็งระบบทางเดินอาหาร แบ่งได้เป็นสองปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม ส่วนปัจจัยภายนอก คือ สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม การบริโภค เช่น อาหารที่มีไขมันสูง กากใยน้อย สารเคมีปนเปื้อนในอาหาร มะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดได้ตั้งแต่บริเวณช่องปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปถึงกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ทั้งนี้ยังมีอวัยวะอื่นๆ ในช่องท้องที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร เช่น ตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี ซึ่งหากร่างกายมีความผิดปกติเรื้อรัง เช่น มีแผล หรือกรดไหลย้อนเรื้อรังในหลอดอาหาร แล้วไม่ได้รักษา เมื่อเกิดการอักเสบเรื้อรัง จะมีผลให้เนื้อเยื่อปกติเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ทำให้เซลล์ผิดปกติไปจนกลายเป็นมะเร็ง
กรมการแพทย์โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารขั้นสูงขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายด้านโรคมะเร็งในประเทศ และกลุ่มประชาคมอาเซียน เข้าอบรมกว่า 100 คน ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหาร แพทย์และพยาบาล ซึ่งจะทำให้มีความรู้ความเข้าใจเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารขั้นสูงเพื่อการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งระยะเริ่มแรก ส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้จัดตั้งศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารเป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีใหม่ในการค้นหามะเร็งในภูมิภาคอาเซียน และได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งในการตรวจ วินิจฉัยวิจัยหาสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งระบบทางเดินอาหารทั้งหมดได้แก่มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับและตับอ่อน โดยนำเทคโนโลยี เครื่องมือขั้นสูงมาใช้ในการปฏิบัติงานด้วยวิธีการส่องกล้องในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งหากพบความผิดปกติของเซลล์เนื้อเยื่อแพทย์จะทำการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งโดยทั่วไปมักทำการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้ร่างกายผู้ป่วยได้รับความบอบช้ำ แต่วิธีการชนิดนี้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อการรักษาได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญ สามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก
วันนี้ (1 ธ.ค.) ที่โรงแรมวีโฮเทล กรุงเทพฯ นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารขั้นสูง ครั้งที่ 2 ว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และทั่วโลก พบว่า จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นรวมถึงอายุเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งระบบทางเดินอาหารที่พบสถิติผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุของมะเร็งระบบทางเดินอาหาร แบ่งได้เป็นสองปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม ส่วนปัจจัยภายนอก คือ สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม การบริโภค เช่น อาหารที่มีไขมันสูง กากใยน้อย สารเคมีปนเปื้อนในอาหาร มะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดได้ตั้งแต่บริเวณช่องปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปถึงกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ทั้งนี้ยังมีอวัยวะอื่นๆ ในช่องท้องที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร เช่น ตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี ซึ่งหากร่างกายมีความผิดปกติเรื้อรัง เช่น มีแผล หรือกรดไหลย้อนเรื้อรังในหลอดอาหาร แล้วไม่ได้รักษา เมื่อเกิดการอักเสบเรื้อรัง จะมีผลให้เนื้อเยื่อปกติเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ทำให้เซลล์ผิดปกติไปจนกลายเป็นมะเร็ง
กรมการแพทย์โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารขั้นสูงขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายด้านโรคมะเร็งในประเทศ และกลุ่มประชาคมอาเซียน เข้าอบรมกว่า 100 คน ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหาร แพทย์และพยาบาล ซึ่งจะทำให้มีความรู้ความเข้าใจเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารขั้นสูงเพื่อการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งระยะเริ่มแรก ส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้จัดตั้งศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารเป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีใหม่ในการค้นหามะเร็งในภูมิภาคอาเซียน และได้ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งในการตรวจ วินิจฉัยวิจัยหาสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งระบบทางเดินอาหารทั้งหมดได้แก่มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับและตับอ่อน โดยนำเทคโนโลยี เครื่องมือขั้นสูงมาใช้ในการปฏิบัติงานด้วยวิธีการส่องกล้องในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งหากพบความผิดปกติของเซลล์เนื้อเยื่อแพทย์จะทำการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งโดยทั่วไปมักทำการผ่าตัดแบบเปิด ทำให้ร่างกายผู้ป่วยได้รับความบอบช้ำ แต่วิธีการชนิดนี้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อการรักษาได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญ สามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก