ผอ.รพ.ศิริราช เผย สร้าง “ตึกนวมินทรบพิตร 84 พรรษา” โครงการสุดท้ายที่ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระราชทานแนวทางแก้ปัญหาแก่ศิริราช พร้อมสร้างสกายวอล์กเชื่อมโยงรอบ รพ. ลดความแออัด เพิ่มความปลอดภัย คาดทั้งหมดเสร็จสิ้นในอีก 2 ปี ระบุตั้ง คกก. รวบรวมข้อมูล “พ่อหลวง” กับศิริราชจ่อสร้างพิพิธภัณฑ์
จากกรณีโรงพยาบาลศิริราชเตรียมขออนุญาตสำนักพระราชวัง จัดทำ “ห้องประทับ” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิลพอดุลยเดช ใน รพ.ศิริราช เป็นพิพิธภัณฑ์ และขออนุญาตในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์

ผศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า การจัดทำพิพิธภัณฑ์และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กำลังอยู่ระหว่างการขออนุญาตจากสำนักพระราชวัง และจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลในเรื่องนี้ โดยหนึ่งในคณะกรรมการจะมีคณะกรรมการชุดหนึ่งที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลหลักฐานทั้งหลายเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับ รพ.ศิริราช เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถสะสางเองได้ เพราะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นในศิริราชไว้ในหอจดหมายเหตุศิริราชอยู่แล้ว เพียงแต่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสะสางหลักฐานข้อมูลเหล่านี้ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
“สิ่งที่แสดงความใกล้ชิดระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับ รพ.ศิริราช คือ การพระราชทานแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งต่างๆ ให้แก่ รพ.ศิริราชทุกครั้งที่เสด็จฯมา นับตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จประทับเพื่อรักษาพระอาการประชวร และพระองค์ที่เสด็จฯมาประทับหลายครั้ง เช่น พระราชทานแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมใน รพ.ศิริราช การพระราชทานแก้ไขปัญหารถติดรอบโรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น” ผอ.รพ.ศิริราช กล่าว
ผศ.นพ.วิศิษฎ์ กล่าวว่า อย่างการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดรอบโรงพยาบาลศิริราชก็มีหลายโครงการที่พระราชทานเป็นแนวทางไว้ เช่น การทำถนนบริเวณศาลาน้ำร้อน รพ.ศิริราช ริมคลองบางกอกน้อย การทำถนนลอยฟ้าผ่านหน้า รพ.ศิริราช คือ จะมีการขยายสะพานอรุณอมรินทร์ โดยช่วงหนึ่งจะลงหน้า รพ.ศิริราช และอีกช่วงหนึ่งข้ามไปลงบริเวณหน้ากองทัพเรือ และอีกโครงการหนึ่งคือ ทำถนนจากบรมราชชนนี มาบริเวณข้างสะพานอรุณอมรินทร์ เลี้ยวขวาไปทางศาลาน้ำเย็น เลี้ยวซ้ายไปพรานนก และเลี้ยวขวาข้ามไปแยกไฟฉายเลย เนื่องจากบริเวณถนนบรมราชชนนีรถแน่นมาก คนอยู่ทางพุทธมณฑลก็ลำบาก ทางนี้ก็จะตัดเป็นบายพาส ถือเป็น 2 - 3 โครงการที่ต่อเนื่องกันจากพระราชดำริ เพื่อแก้ปัญหาคนที่เดินทางมายังบริเวณ รพ.ศิริราช ซึ่งแต่ละวันมีคนเดินทางมายัง รพ.ศิริราชกว่า 5 หมื่นคน มีการใช้รถกว่า 1 หมื่นคัน แต่ต้องวิ่งอยู่บนถนนเดียวกัน สำหรับคนที่ไม่ได้จะมา รพ.ศิริราช พระองค์จึงมีพระราชดำริว่าทำถนนข้ามไปเลย

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการสร้างทางยกระดับ (สกายวอล์ก) ภายใน รพ.ศิริราช ผศ.นพ.วิศิษฎ์ กล่าวว่า จะมีการปิดการจราจรภายใน รพ.ศิริราช เป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเริ่มปิดแล้วตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละประมาณ 2 เดือน เพื่อลดความแออัดใน รพ.ศิริราช โดยสกายวอล์กจะเชื่อมบริเวณตึกอุบัติเหตุ นิติเวช ด้านข้างลานพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อาคารสยามินทร์ รวมไปถึงอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ซึ่งเป็นอาคารสุดท้ายที่พระองค์พระราชทานเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้แก่ รพ.ศิริราช โดยสกายวอล์กจะช่วยแก้ปัญหาจราจรใน รพ.ศิริราช ได้ในระดับหนึ่ง เพิ่มความปลอดภัยในการขนย้ายผู้ป่วย ไม่ต้องเคลื่อนย้ายตามถนนด้านล่าง และใช้เป็นทางฉุกเฉินด้วย เช่น หาก รพ.ศิริราช เจอปัญหาน้ำท่วมก็สามารถเคลื่อนย้ายได้ อีกเรื่องหนึ่งคือ จะมีการทำท่อสำหรับร้อยสายไฟ ท่อคอมพิวเตอร์ และระบบแก๊ส ถือเป็นกระดูกงูของ รพ.ศิริราช
“โครงการสกายวอล์กคิดกันมานาน และหาจังหวะที่ดีในการดำเนินการ เบื้องต้นสกายวอล์กจะใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท โดยเป็นงบจากภาครัฐ 20% และจากศิริราช 80% คือ มาจากเงินบริจาคสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา เพราะสกายวอล์กจะเชื่อมโยงกับอาคารนี้ด้วย เพื่อให้อาคารมีความสมบูรณ์มากขึ้น เพราะเป็นอาคารรวมผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มีศูนย์ความเป็นเลิศ 14 ศูนย์ ห้องไอ.ซี.ยู. 62 ห้อง แต่เมื่อเวลาผ่าตัดยังคงต้องเคลื่อนผู้ป่วยมายังอาคารสยามินทร์ ซึ่งสกายวอล์กก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ต้องเข็นบนถนน ซึ่งต่อไปจะให้รถวิ่งเพียงอย่างเดียว คาดว่า จะเสร็จสิ้นภายใน 2 ปี พร้อมอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา” ผอ.รพ.ศิริราช กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการกราบบังคมทูลในเรื่องการสร้างสกายวอล์กด้วยหรือไม่ ผศ.นพ.วิศิษฎ์ กล่าวว่า ทุกโครงการในศิริราชส่วนใหญ่พระองค์ทรงริเริ่ม ซึ่งโครงการอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา และสกายวอล์ก พระองค์ก็ทรงสนับสนุน เพียงแต่รับสั่งว่าจะทำอะไรขออย่าทำให้ประชาชนเดือดร้อน
อนึ่ง อาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 5,000 ล้านบาท ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ 2,000 ล้านบาท โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณารับเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดหาทุนก่อสร้าง โดยอาคารนี้มีความสูง 25 ชั้น มีจำนวนเตียงผู้ป่วย 355 เตียง โดยไม่มีห้องพิเศษเลย ที่ผ่านมา ศิริราชมีกิจกรรมเพื่อหารายได้ในการจัดสร้างอาคารนี้มาโดยตลอด ทั้งการทำเสื้อและของที่ระลึก รวมไปถึงโครงการ “ทำดีได้ด้วยปลายนิ้ว” ร่วมกับบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5 เครือข่าย เซตระบบ USSD *984*100# โทร.ออกครั้งละ 100 บาท เพื่อร่วมสมทบทุนในการสร้างอาคาร สำหรับผู้ที่สนใจร่วมสมทบทุนสร้างอาคารแห่งนี้ สามารถบริจาคได้ทุกวันที่ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 รพ.ศิริราช หรือบริจาคทางธนาคาร บัญชี ศิริราชมูลนิธิ (กองทุนอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาศิริราช เลขที่ 016-4-37544-4, ธนาคารกสิกรไทย สาขาศิริราช เลขที่ 016-4-37544-4, ธนาคารกสิกรไทย สาขาศิริราช เลขที่ 638-2-00888-8, ธนาคารกรุงเทพ สาขา รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ เลขที่ 901-7-02699-9 เป็นต้น
จากกรณีโรงพยาบาลศิริราชเตรียมขออนุญาตสำนักพระราชวัง จัดทำ “ห้องประทับ” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิลพอดุลยเดช ใน รพ.ศิริราช เป็นพิพิธภัณฑ์ และขออนุญาตในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์
ผศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า การจัดทำพิพิธภัณฑ์และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กำลังอยู่ระหว่างการขออนุญาตจากสำนักพระราชวัง และจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลในเรื่องนี้ โดยหนึ่งในคณะกรรมการจะมีคณะกรรมการชุดหนึ่งที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลหลักฐานทั้งหลายเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับ รพ.ศิริราช เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งในส่วนนี้เราสามารถสะสางเองได้ เพราะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นในศิริราชไว้ในหอจดหมายเหตุศิริราชอยู่แล้ว เพียงแต่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสะสางหลักฐานข้อมูลเหล่านี้ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
“สิ่งที่แสดงความใกล้ชิดระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับ รพ.ศิริราช คือ การพระราชทานแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งต่างๆ ให้แก่ รพ.ศิริราชทุกครั้งที่เสด็จฯมา นับตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จประทับเพื่อรักษาพระอาการประชวร และพระองค์ที่เสด็จฯมาประทับหลายครั้ง เช่น พระราชทานแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมใน รพ.ศิริราช การพระราชทานแก้ไขปัญหารถติดรอบโรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น” ผอ.รพ.ศิริราช กล่าว
ผศ.นพ.วิศิษฎ์ กล่าวว่า อย่างการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดรอบโรงพยาบาลศิริราชก็มีหลายโครงการที่พระราชทานเป็นแนวทางไว้ เช่น การทำถนนบริเวณศาลาน้ำร้อน รพ.ศิริราช ริมคลองบางกอกน้อย การทำถนนลอยฟ้าผ่านหน้า รพ.ศิริราช คือ จะมีการขยายสะพานอรุณอมรินทร์ โดยช่วงหนึ่งจะลงหน้า รพ.ศิริราช และอีกช่วงหนึ่งข้ามไปลงบริเวณหน้ากองทัพเรือ และอีกโครงการหนึ่งคือ ทำถนนจากบรมราชชนนี มาบริเวณข้างสะพานอรุณอมรินทร์ เลี้ยวขวาไปทางศาลาน้ำเย็น เลี้ยวซ้ายไปพรานนก และเลี้ยวขวาข้ามไปแยกไฟฉายเลย เนื่องจากบริเวณถนนบรมราชชนนีรถแน่นมาก คนอยู่ทางพุทธมณฑลก็ลำบาก ทางนี้ก็จะตัดเป็นบายพาส ถือเป็น 2 - 3 โครงการที่ต่อเนื่องกันจากพระราชดำริ เพื่อแก้ปัญหาคนที่เดินทางมายังบริเวณ รพ.ศิริราช ซึ่งแต่ละวันมีคนเดินทางมายัง รพ.ศิริราชกว่า 5 หมื่นคน มีการใช้รถกว่า 1 หมื่นคัน แต่ต้องวิ่งอยู่บนถนนเดียวกัน สำหรับคนที่ไม่ได้จะมา รพ.ศิริราช พระองค์จึงมีพระราชดำริว่าทำถนนข้ามไปเลย
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการสร้างทางยกระดับ (สกายวอล์ก) ภายใน รพ.ศิริราช ผศ.นพ.วิศิษฎ์ กล่าวว่า จะมีการปิดการจราจรภายใน รพ.ศิริราช เป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเริ่มปิดแล้วตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละประมาณ 2 เดือน เพื่อลดความแออัดใน รพ.ศิริราช โดยสกายวอล์กจะเชื่อมบริเวณตึกอุบัติเหตุ นิติเวช ด้านข้างลานพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อาคารสยามินทร์ รวมไปถึงอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ซึ่งเป็นอาคารสุดท้ายที่พระองค์พระราชทานเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้แก่ รพ.ศิริราช โดยสกายวอล์กจะช่วยแก้ปัญหาจราจรใน รพ.ศิริราช ได้ในระดับหนึ่ง เพิ่มความปลอดภัยในการขนย้ายผู้ป่วย ไม่ต้องเคลื่อนย้ายตามถนนด้านล่าง และใช้เป็นทางฉุกเฉินด้วย เช่น หาก รพ.ศิริราช เจอปัญหาน้ำท่วมก็สามารถเคลื่อนย้ายได้ อีกเรื่องหนึ่งคือ จะมีการทำท่อสำหรับร้อยสายไฟ ท่อคอมพิวเตอร์ และระบบแก๊ส ถือเป็นกระดูกงูของ รพ.ศิริราช
“โครงการสกายวอล์กคิดกันมานาน และหาจังหวะที่ดีในการดำเนินการ เบื้องต้นสกายวอล์กจะใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท โดยเป็นงบจากภาครัฐ 20% และจากศิริราช 80% คือ มาจากเงินบริจาคสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา เพราะสกายวอล์กจะเชื่อมโยงกับอาคารนี้ด้วย เพื่อให้อาคารมีความสมบูรณ์มากขึ้น เพราะเป็นอาคารรวมผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มีศูนย์ความเป็นเลิศ 14 ศูนย์ ห้องไอ.ซี.ยู. 62 ห้อง แต่เมื่อเวลาผ่าตัดยังคงต้องเคลื่อนผู้ป่วยมายังอาคารสยามินทร์ ซึ่งสกายวอล์กก็จะช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ต้องเข็นบนถนน ซึ่งต่อไปจะให้รถวิ่งเพียงอย่างเดียว คาดว่า จะเสร็จสิ้นภายใน 2 ปี พร้อมอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา” ผอ.รพ.ศิริราช กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการกราบบังคมทูลในเรื่องการสร้างสกายวอล์กด้วยหรือไม่ ผศ.นพ.วิศิษฎ์ กล่าวว่า ทุกโครงการในศิริราชส่วนใหญ่พระองค์ทรงริเริ่ม ซึ่งโครงการอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา และสกายวอล์ก พระองค์ก็ทรงสนับสนุน เพียงแต่รับสั่งว่าจะทำอะไรขออย่าทำให้ประชาชนเดือดร้อน
อนึ่ง อาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 5,000 ล้านบาท ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ 2,000 ล้านบาท โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณารับเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดหาทุนก่อสร้าง โดยอาคารนี้มีความสูง 25 ชั้น มีจำนวนเตียงผู้ป่วย 355 เตียง โดยไม่มีห้องพิเศษเลย ที่ผ่านมา ศิริราชมีกิจกรรมเพื่อหารายได้ในการจัดสร้างอาคารนี้มาโดยตลอด ทั้งการทำเสื้อและของที่ระลึก รวมไปถึงโครงการ “ทำดีได้ด้วยปลายนิ้ว” ร่วมกับบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5 เครือข่าย เซตระบบ USSD *984*100# โทร.ออกครั้งละ 100 บาท เพื่อร่วมสมทบทุนในการสร้างอาคาร สำหรับผู้ที่สนใจร่วมสมทบทุนสร้างอาคารแห่งนี้ สามารถบริจาคได้ทุกวันที่ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 รพ.ศิริราช หรือบริจาคทางธนาคาร บัญชี ศิริราชมูลนิธิ (กองทุนอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา) ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาศิริราช เลขที่ 016-4-37544-4, ธนาคารกสิกรไทย สาขาศิริราช เลขที่ 016-4-37544-4, ธนาคารกสิกรไทย สาขาศิริราช เลขที่ 638-2-00888-8, ธนาคารกรุงเทพ สาขา รพ.ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ เลขที่ 901-7-02699-9 เป็นต้น