สพฐ. ตั้งศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังและติดตามข่าวสาร เช็กข่าวสารที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ทำให้ผู้รับข่าวสารเกิดการเข้าใจผิด พร้อมชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) และโฆษก สพฐ. เปิดเผยว่า สื่อหรือช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร นอกจากจะมีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง และสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่เราคุ้นเคยแล้ว ปัจจุบันยังมีสื่อทางอินเตอร์เน็ตที่สามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เข้าถึงผู้รับได้จำนวนมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว จนน่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ยูทิวบ์ ทวิตเตอร์ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ด้วยความที่เป็นสื่อเสรีสามารถเข้าถึงบุคคลทุกเพศทุกวัยได้โดยง่าย จึงเกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น ข้อมูลที่นำเสนอคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ส่งผลให้เกิดการเข้าใจผิด เกิดการลอกเลียนแบบจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็กและเยาวชน และเกิดผลกระทบวงกว้างต่อในสังคมจำนวนมาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตระหนักในปัญหาดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริหาร หน่วยงาน สถานศึกษา ครู นักเรียน และภาพลักษณ์ของ สพฐ. จึงจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังและติดตามข่าวสาร สพฐ. : OBEC News Vigilance Center ขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ และประมวลข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ หากพบข่าวสารที่มีความคลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้องก็พร้อมดำเนินการชี้แจงและนำเสนอข้อเท็จจริงให้รับทราบและเข้าใจตรงกัน
โดยศูนย์ดังกล่าวจะประกอบด้วย คณะกรรมการเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศดำเนินการเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อพบข่าวสารที่ไม่เป็นความจริง ประสบเหตุ หรือเผชิญสถานการณ์ที่สร้างความเสียหาย หรือเกิดผลกระทบในวงกว้าง ก็จะรายงานต่อคณะกรรมการวิเคราะห์ข่าวสารและสร้างความเข้าใจในข้อเท็จจริง เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องให้สาธารณชนทราบและแก้ไขสถานการณ์ให้เกิดความเข้าใจตรงกันต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) และโฆษก สพฐ. เปิดเผยว่า สื่อหรือช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร นอกจากจะมีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง และสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่เราคุ้นเคยแล้ว ปัจจุบันยังมีสื่อทางอินเตอร์เน็ตที่สามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้เข้าถึงผู้รับได้จำนวนมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว จนน่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ยูทิวบ์ ทวิตเตอร์ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ด้วยความที่เป็นสื่อเสรีสามารถเข้าถึงบุคคลทุกเพศทุกวัยได้โดยง่าย จึงเกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น ข้อมูลที่นำเสนอคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ส่งผลให้เกิดการเข้าใจผิด เกิดการลอกเลียนแบบจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็กและเยาวชน และเกิดผลกระทบวงกว้างต่อในสังคมจำนวนมาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตระหนักในปัญหาดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริหาร หน่วยงาน สถานศึกษา ครู นักเรียน และภาพลักษณ์ของ สพฐ. จึงจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังและติดตามข่าวสาร สพฐ. : OBEC News Vigilance Center ขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ และประมวลข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ หากพบข่าวสารที่มีความคลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้องก็พร้อมดำเนินการชี้แจงและนำเสนอข้อเท็จจริงให้รับทราบและเข้าใจตรงกัน
โดยศูนย์ดังกล่าวจะประกอบด้วย คณะกรรมการเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศดำเนินการเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อพบข่าวสารที่ไม่เป็นความจริง ประสบเหตุ หรือเผชิญสถานการณ์ที่สร้างความเสียหาย หรือเกิดผลกระทบในวงกว้าง ก็จะรายงานต่อคณะกรรมการวิเคราะห์ข่าวสารและสร้างความเข้าใจในข้อเท็จจริง เพื่อนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องให้สาธารณชนทราบและแก้ไขสถานการณ์ให้เกิดความเข้าใจตรงกันต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่