นักวิชาการ ติงผู้มีอำนาจรัฐจัดระบบวัฒนธรรมแยกส่วน ใช้งบมากแต่ขาดคุณภาพ แนะกำหนดนโยบายใหม่ให้บูรณาการวัฒนธรรมเชิงรุก
วันนี้ (27 ก.ย.) ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดบรรยายพิเศษ เรื่อง มุมมองวัฒนธรรมกับการพัฒนาประเทศ ในการประชุมสัมมนานโยบายและแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2560 ของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า นโยบายวัฒนธรรมของประเทศไทยแยกส่วนออกจากการพัฒนาด้านอื่น ๆ การพัฒนาวัฒนธรรมจึงเดินไปได้ช้า นอกจากนี้ การใช้งบประมาณ ของ วธ. ถูกใช้ไปมากแต่ขาดคุณภาพและประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า วธ. ชอบของถูกแต่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีการมองภาพรวมที่เคลื่อนองคาพยพ จัดลำดับความสำคัญไม่ได้ ขาดการเข้าใจองค์ความรู้มหภาค เพราะฉะนั้น ต้องหาแนวทางการวิจัยระดับมหภาคให้มากขึ้น และแทรกระดับจุลภาคไว้ในลักษณะชุดโครงการ
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า อดีตถึงปัจจุบัน วธ. ไม่ได้รับความสนใจจากผู้มีอำนาจรัฐ ถูกมองเป็นกระทรวงหลานเมียน้อย ผู้กำหนดนโยบายมองวัฒนธรรมเป็นทางเลือกให้ วธ.เป็นเพียงองค์ประกอบเล็ก ๆ ของการพัฒนาชาติ อยากให้เปลี่ยนเอามิติวัฒนธรรมเข้ามาบูรณาการแบบไม่แบ่งแยก พร้อมทำให้เห็นว่าเป็นมิติสำคัญ มีคุณค่ายิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้กำหนดนโยบายต้องกำหนดมุมมองใหม่ ให้สามารถนำวัฒนธรรมบูรณาการใหม่กับนโยบายด้านต่าง ๆ เป็นภาพใหญ่ในยุทธศาสตร์ชาติ ให้น้ำหนักกับนโยบายวัฒนธรรมเชิงรุกมากขึ้น และตั้งรับวัฒนธรรมต่างชาติอย่างมีสติ ด้วยการสร้างให้คนเข้าใจวัฒนธรรมโลก การส่งเสริมการส่งออกวัฒนธรรม ทั้งเชิงพาณิชย์ และการทูต ที่สำคัญคือ ต้องทำให้วัฒนธรรมจับต้องได้ วัดผลได้ นอกจากนี้ ควรสนับสนุนสร้างสรรค์วัฒนธรรมเชิงลึก เพื่อสร้างเอกภาพความหลากหลายวัฒนธรรมในชาติแบบสมดุล ไม่สุดโต่ง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่ประเทศไทย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (27 ก.ย.) ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดบรรยายพิเศษ เรื่อง มุมมองวัฒนธรรมกับการพัฒนาประเทศ ในการประชุมสัมมนานโยบายและแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานวัฒนธรรม ปีงบประมาณ 2560 ของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า นโยบายวัฒนธรรมของประเทศไทยแยกส่วนออกจากการพัฒนาด้านอื่น ๆ การพัฒนาวัฒนธรรมจึงเดินไปได้ช้า นอกจากนี้ การใช้งบประมาณ ของ วธ. ถูกใช้ไปมากแต่ขาดคุณภาพและประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า วธ. ชอบของถูกแต่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีการมองภาพรวมที่เคลื่อนองคาพยพ จัดลำดับความสำคัญไม่ได้ ขาดการเข้าใจองค์ความรู้มหภาค เพราะฉะนั้น ต้องหาแนวทางการวิจัยระดับมหภาคให้มากขึ้น และแทรกระดับจุลภาคไว้ในลักษณะชุดโครงการ
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า อดีตถึงปัจจุบัน วธ. ไม่ได้รับความสนใจจากผู้มีอำนาจรัฐ ถูกมองเป็นกระทรวงหลานเมียน้อย ผู้กำหนดนโยบายมองวัฒนธรรมเป็นทางเลือกให้ วธ.เป็นเพียงองค์ประกอบเล็ก ๆ ของการพัฒนาชาติ อยากให้เปลี่ยนเอามิติวัฒนธรรมเข้ามาบูรณาการแบบไม่แบ่งแยก พร้อมทำให้เห็นว่าเป็นมิติสำคัญ มีคุณค่ายิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้กำหนดนโยบายต้องกำหนดมุมมองใหม่ ให้สามารถนำวัฒนธรรมบูรณาการใหม่กับนโยบายด้านต่าง ๆ เป็นภาพใหญ่ในยุทธศาสตร์ชาติ ให้น้ำหนักกับนโยบายวัฒนธรรมเชิงรุกมากขึ้น และตั้งรับวัฒนธรรมต่างชาติอย่างมีสติ ด้วยการสร้างให้คนเข้าใจวัฒนธรรมโลก การส่งเสริมการส่งออกวัฒนธรรม ทั้งเชิงพาณิชย์ และการทูต ที่สำคัญคือ ต้องทำให้วัฒนธรรมจับต้องได้ วัดผลได้ นอกจากนี้ ควรสนับสนุนสร้างสรรค์วัฒนธรรมเชิงลึก เพื่อสร้างเอกภาพความหลากหลายวัฒนธรรมในชาติแบบสมดุล ไม่สุดโต่ง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่ประเทศไทย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่