โพลสำรวจนโยบายและผลงานรัฐบาล “บัตรทอง” ครองใจประชาชน เหตุได้รับประโยชน์ เห็นผลเป็นรูปธรรม ช่วยเข้าถึงการรักษาครอบคลุม ทั่วถึง ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน
นายธนพลธ์ ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วย 17 เครือข่าย (Healthy Forum) กล่าวว่า นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ถือเป็นความสำเร็จของการดำเนินนโยบายของประเทศ ไม่เพียงแต่ได้รับการชื่นชมจากต่างประเทศที่ยกย่องให้ประเทศไทยเป็นต้นแบบของการจัดบริการสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง แต่ยังเป็นนโยบายที่ได้รับความความพึงพอใจจากประชาชนอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 14 ปีที่ผ่านมา ภายหลังจากการจัดตั้ง “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เมื่อปี 2545 และล่าสุด จากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะและการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ พ.ศ. 2559 จัดทำโดยสถาบันพระปกเกล้า โดยในส่วนของนโยบายภายใต้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ประชาชนทราบและมีความพึงพอใจ 5 อันดับแรก ปรากฏว่า โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ยังคงเป็นนโยบายที่ประชาชนมีความพึงพอใจเป็นอันดับที่ 3 โดยมีคะแนนอยู่ที่ร้อยละ 95.3
นายธนพลธ์ กล่าวว่า ไม่เพียงแต่ผลสำรวจดังกล่าวที่ชี้ถึงความสำเร็จของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยก่อนหน้านี้ จากการสำรวจความพึงพอใจในนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาที่ได้เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักโพลต่าง ๆ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังคงเป็นนโยบายที่ติดอันดับความนิยมของประชาชนในอันดับต้น ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ต่อผลการดำเนินงาน 16 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี 2555 จัดทำโดยศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนมีความพึงพอใจสูงเป็นอันดับ 1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 โดยมีคะแนนสูงกว่านโยบายการแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด และนโยบายมหัศจรรย์ไทยแลนด์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศ
ขณะที่การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “ผลงานรัฐบาลแต่ละกระทรวงที่ประชาชนชื่นชอบ” ของสวนดุสิตโพลในปี 2558 ที่ผ่านมา โดยเป็นการสำรวจความเห็นหลังจากที่รัฐบาลได้มอบหมายให้แต่ละกระทรวงดำเนินงานตามนโยบายเพื่อเป็นการขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าต่อไป โดยในส่วนของผลงานกระทรวงสาธารณสุขที่นำมาเป็นอันดับ 1 คือ 30 บาทรักษาทุกโรค (โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) มีคะแนนร้อยละ 78.63 ขณะที่อันดับ 2 คือ ผลงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ คะแนนร้อยละ 13.68 และอันดับ 3 ป้องกันโรคระบาด/อีโบลา คะแนนร้อยละ 7.69
นายธนพลธ์ กล่าวว่า นอกจากตัวอย่างผลโพลสำรวจต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าข้างต้นแล้ว ในการแถลงนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังคงเป็นนโยบายสุขภาพอันดับต้น ๆ ที่เป็นผลงานโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นยุคของ นายวิทยา บุรณศิริ อดีต รมว.สาธารณสุข รวมถึง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อดีต รมว.สาธารณสุข ที่ต่อยอดภายใต้นโยบายรักษาฟรี 48 ล้านคน ใช้บัตรประชาชนใบเดียว เป็นต้น ขณะเดียวกัน จากการสำรวจความเห็นประชาชนต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ภายใต้การดำเนินการโดยสำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งได้รับคะแนนความพึงพอใจมากทุกครั้งที่มีการสำรวจ
“จากข้อมูลข้างต้นชี้ให้เห็นถึงความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งความพึงพอใจที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากนโยบายนี้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม ไม่เพียงแต่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาอย่างครอบคลุมและทั่วถึง แม้แต่กลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่าง โรคเอดส์ ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง และหัวใจ เป็นต้น แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ภาวะล้มละลายของครัวเรือนจากค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ถือเป็นนโยบายที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ทุกรัฐบาลต่างสนับสนุนนโยบายนี้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาระบบไปสู่ความยั่งยืนเพื่อเป็นหลักประกันชีวิตให้กับประชาชน” ประธานกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วย 17 เครือข่าย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายธนพลธ์ ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วย 17 เครือข่าย (Healthy Forum) กล่าวว่า นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ถือเป็นความสำเร็จของการดำเนินนโยบายของประเทศ ไม่เพียงแต่ได้รับการชื่นชมจากต่างประเทศที่ยกย่องให้ประเทศไทยเป็นต้นแบบของการจัดบริการสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง แต่ยังเป็นนโยบายที่ได้รับความความพึงพอใจจากประชาชนอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 14 ปีที่ผ่านมา ภายหลังจากการจัดตั้ง “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เมื่อปี 2545 และล่าสุด จากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการบริการสาธารณะและการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ พ.ศ. 2559 จัดทำโดยสถาบันพระปกเกล้า โดยในส่วนของนโยบายภายใต้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ประชาชนทราบและมีความพึงพอใจ 5 อันดับแรก ปรากฏว่า โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ยังคงเป็นนโยบายที่ประชาชนมีความพึงพอใจเป็นอันดับที่ 3 โดยมีคะแนนอยู่ที่ร้อยละ 95.3
นายธนพลธ์ กล่าวว่า ไม่เพียงแต่ผลสำรวจดังกล่าวที่ชี้ถึงความสำเร็จของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยก่อนหน้านี้ จากการสำรวจความพึงพอใจในนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาที่ได้เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักโพลต่าง ๆ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังคงเป็นนโยบายที่ติดอันดับความนิยมของประชาชนในอันดับต้น ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ต่อผลการดำเนินงาน 16 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี 2555 จัดทำโดยศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชาชนมีความพึงพอใจสูงเป็นอันดับ 1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 โดยมีคะแนนสูงกว่านโยบายการแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด และนโยบายมหัศจรรย์ไทยแลนด์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศ
ขณะที่การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศต่อกรณี “ผลงานรัฐบาลแต่ละกระทรวงที่ประชาชนชื่นชอบ” ของสวนดุสิตโพลในปี 2558 ที่ผ่านมา โดยเป็นการสำรวจความเห็นหลังจากที่รัฐบาลได้มอบหมายให้แต่ละกระทรวงดำเนินงานตามนโยบายเพื่อเป็นการขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าต่อไป โดยในส่วนของผลงานกระทรวงสาธารณสุขที่นำมาเป็นอันดับ 1 คือ 30 บาทรักษาทุกโรค (โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) มีคะแนนร้อยละ 78.63 ขณะที่อันดับ 2 คือ ผลงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ คะแนนร้อยละ 13.68 และอันดับ 3 ป้องกันโรคระบาด/อีโบลา คะแนนร้อยละ 7.69
นายธนพลธ์ กล่าวว่า นอกจากตัวอย่างผลโพลสำรวจต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าข้างต้นแล้ว ในการแถลงนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังคงเป็นนโยบายสุขภาพอันดับต้น ๆ ที่เป็นผลงานโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นยุคของ นายวิทยา บุรณศิริ อดีต รมว.สาธารณสุข รวมถึง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อดีต รมว.สาธารณสุข ที่ต่อยอดภายใต้นโยบายรักษาฟรี 48 ล้านคน ใช้บัตรประชาชนใบเดียว เป็นต้น ขณะเดียวกัน จากการสำรวจความเห็นประชาชนต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ภายใต้การดำเนินการโดยสำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งได้รับคะแนนความพึงพอใจมากทุกครั้งที่มีการสำรวจ
“จากข้อมูลข้างต้นชี้ให้เห็นถึงความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งความพึงพอใจที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากนโยบายนี้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม ไม่เพียงแต่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาอย่างครอบคลุมและทั่วถึง แม้แต่กลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่าง โรคเอดส์ ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง และหัวใจ เป็นต้น แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ภาวะล้มละลายของครัวเรือนจากค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ถือเป็นนโยบายที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ทุกรัฐบาลต่างสนับสนุนนโยบายนี้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาระบบไปสู่ความยั่งยืนเพื่อเป็นหลักประกันชีวิตให้กับประชาชน” ประธานกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วย 17 เครือข่าย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่