สปสช. แจงแนวทางบริหารจัดการสิทธิประโยชน์รักษาตาต้อกระจก ปี 60 เดินตามนโยบายบอร์ด สปสช. ให้ความสำคัญสูงสุดแก้ปัญหาตาบอด สายตาเลือนลาง ส่งเสริมตรวจคัดกรอง ส่วนโปรแกรม VISION2020 ตามแนวทาง Service Plan ของ สธ. นั้น สปสช. ไม่ได้ประกาศยกเลิก อยู่ระหว่างเชื่อมโยงข้อมูลและแก้ปัญหาเชิงเทคนิคเพื่อให้ใช้ประโยชน์จากโปรแกรมได้สูงสุด ไม่เพิ่มภาระหน่วยบริการ
นพ.จักรกริช โง้วศิริ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2560 ในส่วนของการให้บริการรักษาผ่าตัดตากระจกพร้อมเลนส์แก้วตาเทียมนั้น สปสช. ดำเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ที่ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการแก้ปัญหาตาบอดและปัญหาสายตาเลือนลาง มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วย (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง) ต้อกระจกชนิดบอด และชนิดสายตาเลือนลางระดับรุนแรง ส่งเสริมและสนับสนุนการตรวจคัดกรองและลงทะเบียนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัด เพื่อค้นหาผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาโดยเร็ว และให้มีการติดตามประเมินผลการให้บริการทุกไตรมาส นำเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป
ในปี 2560 ได้กำหนดเป้าหมายผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วย 112,200 ดวงตา ซึ่งกำหนดเป้าหมายรายเขตจากหลักเกณฑ์อ้างอิงตามอัตราความชุก ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองและขึ้นทะเบียนในโปรแกรม VISION2020Thailand ตามแนวทางของคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาจักษุวิทยา กระทรวงสาธารณสุข และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ในปี 2559 สปสช. สนับสนุนการคัดกรองผู้ป่วยตามโปรแกรม VISION2020Thailand ตามนโยบาย Service Plan กระทรวงสาธารณสุข ที่มีวีซาผ่าตัดให้กับผู้ป่วยที่ผ่านการคัดกรอง และเข้าเกณฑ์ต้องได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว ซึ่งหน่วยบริการที่ให้การผ่าตัดตาต้อกระจกจะบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมนี้ ในปี 2559 มี รพ. บันทึกข้อมูลในโปรแกรมนี้ 145 แห่ง จากจำนวน รพ. ทุกสังกัดที่ให้บริการผ่าตัดต้อกระจก 360 แห่ง ซึ่งยังพบปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูล และข้อจำกัดเชิงเทคนิค รวมทั้งความครอบคลุมของการดำเนินงานในหน่วยบริการสังกัดอื่น ดังนั้น ในการดำเนินการปี 2560 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. จึงได้ประสานงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้สามารถใช้ประโยชน์จากโปรแกรมได้สูงสุด และไม่เพิ่มภาระให้หน่วยบริการ ไม่ได้ประกาศยกเลิกแต่อย่างใด
นพ.จักรกริช กล่าววว่า สปสช. ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสุขภาพ ได้ทำงานร่วมกับหน่วยบริการในทุกสังกัด ในส่วนของการบริการผู้ป่วยตาต้อกระจกนั้น มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดว่า สถานพยาบาลที่จะสามารถดำเนินการผ่าต้อกระจกได้นั้น ให้เป็นหน่วยบริการรับส่งต่อที่มีคุณสมบัติและศักยภาพตามแนวทางในประกาศแนวทางปฏิบัติการให้บริการผ่าตัดต้อกระจกของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2560 ซึ่งเป็นการกำหนดตามมาตรฐานสถานพยาบาล การประกอบวิชาชีพเวชกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ และแนวทางเวชปฏิบัติทั้งในภาครัฐและเอกชน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.จักรกริช โง้วศิริ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2560 ในส่วนของการให้บริการรักษาผ่าตัดตากระจกพร้อมเลนส์แก้วตาเทียมนั้น สปสช. ดำเนินการตามนโยบายของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ที่ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการแก้ปัญหาตาบอดและปัญหาสายตาเลือนลาง มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วย (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง) ต้อกระจกชนิดบอด และชนิดสายตาเลือนลางระดับรุนแรง ส่งเสริมและสนับสนุนการตรวจคัดกรองและลงทะเบียนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการผ่าตัด เพื่อค้นหาผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาโดยเร็ว และให้มีการติดตามประเมินผลการให้บริการทุกไตรมาส นำเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป
ในปี 2560 ได้กำหนดเป้าหมายผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วย 112,200 ดวงตา ซึ่งกำหนดเป้าหมายรายเขตจากหลักเกณฑ์อ้างอิงตามอัตราความชุก ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองและขึ้นทะเบียนในโปรแกรม VISION2020Thailand ตามแนวทางของคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาจักษุวิทยา กระทรวงสาธารณสุข และผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ในปี 2559 สปสช. สนับสนุนการคัดกรองผู้ป่วยตามโปรแกรม VISION2020Thailand ตามนโยบาย Service Plan กระทรวงสาธารณสุข ที่มีวีซาผ่าตัดให้กับผู้ป่วยที่ผ่านการคัดกรอง และเข้าเกณฑ์ต้องได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว ซึ่งหน่วยบริการที่ให้การผ่าตัดตาต้อกระจกจะบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมนี้ ในปี 2559 มี รพ. บันทึกข้อมูลในโปรแกรมนี้ 145 แห่ง จากจำนวน รพ. ทุกสังกัดที่ให้บริการผ่าตัดต้อกระจก 360 แห่ง ซึ่งยังพบปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูล และข้อจำกัดเชิงเทคนิค รวมทั้งความครอบคลุมของการดำเนินงานในหน่วยบริการสังกัดอื่น ดังนั้น ในการดำเนินการปี 2560 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. จึงได้ประสานงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้สามารถใช้ประโยชน์จากโปรแกรมได้สูงสุด และไม่เพิ่มภาระให้หน่วยบริการ ไม่ได้ประกาศยกเลิกแต่อย่างใด
นพ.จักรกริช กล่าววว่า สปสช. ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสุขภาพ ได้ทำงานร่วมกับหน่วยบริการในทุกสังกัด ในส่วนของการบริการผู้ป่วยตาต้อกระจกนั้น มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดว่า สถานพยาบาลที่จะสามารถดำเนินการผ่าต้อกระจกได้นั้น ให้เป็นหน่วยบริการรับส่งต่อที่มีคุณสมบัติและศักยภาพตามแนวทางในประกาศแนวทางปฏิบัติการให้บริการผ่าตัดต้อกระจกของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2560 ซึ่งเป็นการกำหนดตามมาตรฐานสถานพยาบาล การประกอบวิชาชีพเวชกรรมของบุคลากรทางการแพทย์ และแนวทางเวชปฏิบัติทั้งในภาครัฐและเอกชน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่