ผศ.นพ.อัคคพงศ์ นิติสิงห์
อ.นพ.หลักชัย พลวิจิตร
ภาควิชาศัยศาสตร์
ทุกคนน่าจะเคยมีอาการปวดคอ หรือปวดหลัง มาบ้างในชีวิต บางคนอาจเคยมีอาการเพียงครั้งเดียวหรือไม่กี่ครั้ง โดยมีอาการปวดมากบ้างปวดน้อยบ้าง เพียง 1 - 2 วัน ก็หายไป แต่บางคนก็อาจมีอาการปวดเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ เป็นเดือนเป็นปี หรือยิ่งกว่านั้น บางคนอาจมีอาการชา อ่อนแรง ตั้งแต่อาการน้อย ๆ หรือบางครั้งอาจถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้น มือชา หยิบจับไม่ถนัด หรือเดินไม่ได้ทีเดียว
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวกำหนดอาการปวด รวมถึงการรักษาก็น่าจะเป็น “สาเหตุ” ที่ทำให้เกิดอาการปวด ซึ่งอาการปวดคอ ปวดหลังนั้น มีสาเหตุจากโรคหรือภาวะต่าง ๆ มากมาย
โดยปกติแล้ว เมื่อคนเรามีอาการปวดคอ หรือปวดหลัง ขึ้นมา ถ้าหากมีอาการปวดไม่รุนแรงนัก ไม่ได้มีอาการอื่น เช่น ปวดร้าวลงแขน หรือขา อาการชาหรืออ่อนแรง โดยเฉพาะถ้าอาการปวดเกิดขึ้นหลังจากกิจกรรม กีฬา หรืออุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงนัก เช่น ยกของหนัก หรือเล่นกีฬาหนัก ๆ ซึ่งพอที่จะสันนิษฐานได้ว่าเป็นสาเหตุของอาการปวดที่เกิดขึ้น เราก็มักจะทานยาแก้ปวด และพักร่างกายพักผ่อน แล้วอาการปวดดีขึ้น ก็พอจะคาดคะเนได้ว่า อาการปวดที่เกิดขึ้นมาจากการเคล็ดขัดยอก เมื่อยล้าของกล้ามเนื้อคอ หรือหลัง ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ และการรักษาดังกล่าวก็เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการปวดดังกล่าวไม่ดีขึ้นหลังจาก 1 สัปดาห์ผ่านไป หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีอาการปวดร้าวจากคอลงไปที่แขน มือ ปวดหลังร้าวลงขา ชาแขน และ/หรือขาอ่อนแรง เดินลำบาก อุจจาระปัสสาวะผิดปกติ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เป็นต้น หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน ก็ควรมาพบแพทย์ เพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
สาเหตุของอาการปวดคอปวดหลังนั้นเกิดได้จากหลายโรค ตั้งแต่อาการปวดจากเคล็ดขัดยอก เมื่อยล้า อุบัติเหตุ กระดูกสันหลังเสื่อม หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทและ/หรือไขสันหลัง เนื้องอกของไขสันหลัง เส้นประสาท หรือกระดูกสันหลัง ทั้งชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง มะเร็งจากอวัยวะอื่นแพร่กระจายมาที่กระดูกสันหลัง มะเร็งของกระดูกสันหลัง หรือไขสันหลังเอง การอักเสบติดเชื้อของกระดูกสันหลัง หรือภายในช่องโพรงไขสันหลัง
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีสาเหตุจากอวัยวะหรือระบบอื่น ๆ เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน
จะเห็นได้ว่า อาการปวดคอ หรือปวดหลัง นั้น อาจมีสาเหตุมาจากโรค หรือภาวะที่ไม่รุนแรง ซึ่งคนไข้สามารถรักษาตัวเองได้ จนถึงสาเหตุที่อาจทำให้เกิดความพิการ หรือเสียชีวิต ดังนั้น เมื่อเกิดอาการขึ้นก็ควรจะสังเกตความรุนแรงระยะเวลา และโดยเฉพาะอาการอื่นที่เกิดขึ้นร่วมด้วย หากพบว่ามีอาการปวดรุนแรงอาการปวดไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการร่วมที่ได้บรรยายไว้ข้างต้นก็ควรมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
*********
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
#จัดกิจกรรมวันอัลไซเมอร์โลก “สูงวัยวิถีไทย ห่างไกลอัลไซเมอร์” ให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ ประเมินสุขภาพร่างกายและสมรรถภาพสมอง ระหว่างวันที่ 1 - 2 กันยายน 2559 เวลา 09.00 - 17.00 น. ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 1 (ฟรี) สอบถาม โทร. 0 2419 7287, 09 3836 0191
#24 กันยายน “วันมหิดล” เชิญร่วมสร้างกุศล ช่วยผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช บริจาคพร้อมรับธงวันมหิดลเป็นที่ระลึกจากศิลปิน ดารา และนักศึกษาที่ออกรับบริจาคที่ตลาดวังหลังในวันที่ 6 กันยายน นี้ ช่วงเวลา 12.00 น. หรือบริจาคได้ที่ ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 สอบถาม โทร. 0 2419 7658 - 60, 0 2419 7688
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
อ.นพ.หลักชัย พลวิจิตร
ภาควิชาศัยศาสตร์
ทุกคนน่าจะเคยมีอาการปวดคอ หรือปวดหลัง มาบ้างในชีวิต บางคนอาจเคยมีอาการเพียงครั้งเดียวหรือไม่กี่ครั้ง โดยมีอาการปวดมากบ้างปวดน้อยบ้าง เพียง 1 - 2 วัน ก็หายไป แต่บางคนก็อาจมีอาการปวดเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ เป็นเดือนเป็นปี หรือยิ่งกว่านั้น บางคนอาจมีอาการชา อ่อนแรง ตั้งแต่อาการน้อย ๆ หรือบางครั้งอาจถึงขั้นยกแขนไม่ขึ้น มือชา หยิบจับไม่ถนัด หรือเดินไม่ได้ทีเดียว
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวกำหนดอาการปวด รวมถึงการรักษาก็น่าจะเป็น “สาเหตุ” ที่ทำให้เกิดอาการปวด ซึ่งอาการปวดคอ ปวดหลังนั้น มีสาเหตุจากโรคหรือภาวะต่าง ๆ มากมาย
โดยปกติแล้ว เมื่อคนเรามีอาการปวดคอ หรือปวดหลัง ขึ้นมา ถ้าหากมีอาการปวดไม่รุนแรงนัก ไม่ได้มีอาการอื่น เช่น ปวดร้าวลงแขน หรือขา อาการชาหรืออ่อนแรง โดยเฉพาะถ้าอาการปวดเกิดขึ้นหลังจากกิจกรรม กีฬา หรืออุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงนัก เช่น ยกของหนัก หรือเล่นกีฬาหนัก ๆ ซึ่งพอที่จะสันนิษฐานได้ว่าเป็นสาเหตุของอาการปวดที่เกิดขึ้น เราก็มักจะทานยาแก้ปวด และพักร่างกายพักผ่อน แล้วอาการปวดดีขึ้น ก็พอจะคาดคะเนได้ว่า อาการปวดที่เกิดขึ้นมาจากการเคล็ดขัดยอก เมื่อยล้าของกล้ามเนื้อคอ หรือหลัง ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ และการรักษาดังกล่าวก็เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการปวดดังกล่าวไม่ดีขึ้นหลังจาก 1 สัปดาห์ผ่านไป หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีอาการปวดร้าวจากคอลงไปที่แขน มือ ปวดหลังร้าวลงขา ชาแขน และ/หรือขาอ่อนแรง เดินลำบาก อุจจาระปัสสาวะผิดปกติ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เป็นต้น หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน ก็ควรมาพบแพทย์ เพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
สาเหตุของอาการปวดคอปวดหลังนั้นเกิดได้จากหลายโรค ตั้งแต่อาการปวดจากเคล็ดขัดยอก เมื่อยล้า อุบัติเหตุ กระดูกสันหลังเสื่อม หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทและ/หรือไขสันหลัง เนื้องอกของไขสันหลัง เส้นประสาท หรือกระดูกสันหลัง ทั้งชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง มะเร็งจากอวัยวะอื่นแพร่กระจายมาที่กระดูกสันหลัง มะเร็งของกระดูกสันหลัง หรือไขสันหลังเอง การอักเสบติดเชื้อของกระดูกสันหลัง หรือภายในช่องโพรงไขสันหลัง
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีสาเหตุจากอวัยวะหรือระบบอื่น ๆ เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือความผิดปกติของหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน
จะเห็นได้ว่า อาการปวดคอ หรือปวดหลัง นั้น อาจมีสาเหตุมาจากโรค หรือภาวะที่ไม่รุนแรง ซึ่งคนไข้สามารถรักษาตัวเองได้ จนถึงสาเหตุที่อาจทำให้เกิดความพิการ หรือเสียชีวิต ดังนั้น เมื่อเกิดอาการขึ้นก็ควรจะสังเกตความรุนแรงระยะเวลา และโดยเฉพาะอาการอื่นที่เกิดขึ้นร่วมด้วย หากพบว่ามีอาการปวดรุนแรงอาการปวดไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการร่วมที่ได้บรรยายไว้ข้างต้นก็ควรมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
*********
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
#จัดกิจกรรมวันอัลไซเมอร์โลก “สูงวัยวิถีไทย ห่างไกลอัลไซเมอร์” ให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ ประเมินสุขภาพร่างกายและสมรรถภาพสมอง ระหว่างวันที่ 1 - 2 กันยายน 2559 เวลา 09.00 - 17.00 น. ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 1 (ฟรี) สอบถาม โทร. 0 2419 7287, 09 3836 0191
#24 กันยายน “วันมหิดล” เชิญร่วมสร้างกุศล ช่วยผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช บริจาคพร้อมรับธงวันมหิดลเป็นที่ระลึกจากศิลปิน ดารา และนักศึกษาที่ออกรับบริจาคที่ตลาดวังหลังในวันที่ 6 กันยายน นี้ ช่วงเวลา 12.00 น. หรือบริจาคได้ที่ ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 สอบถาม โทร. 0 2419 7658 - 60, 0 2419 7688
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่