โดย…สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
สภาพความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาล เตียงผู้ป่วยที่ล้นออกมาจนถึงทางเดิน กลายเป็นภาพคุ้นชินที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับระบบบริการสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเขตเมืองที่มีทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในปริมาณมหาศาลให้ต้องดูแล ยังไม่รวมถึงพฤติกรรมที่เมื่อเวลาเจ็บป่วย แม้จะเป็นโรคพื้นฐาน ก็จะขอไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
การมีผู้ป่วยเข้ารับบริการจำนวนมาก ส่งผลให้แพทย์มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมน้อยลง สื่อสารกับผู้ป่วยน้อยลง เมื่อเกิดความไม่เข้าใจ ก็มีโอกาสเกิดการฟ้องร้องกันมากยิ่งขึ้น
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ป่วยเข้ารับบริการในโรงพยาบาลสังกัด สธ. เป็นจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ปี 2559 เพียง 6 เดือน มีผู้ป่วยเข้ารับบริการโรงพยาบาลทุกระดับรวมกว่า 400 ล้านครั้ง เป็นผู้ป่วยในถึง 1.75 ล้านคน ที่สำคัญ ความเป็นสังคมเมือง และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพก็จะพบมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเขตเมืองที่ต้องให้บริการครอบคลุม ตั้งแต่ปฐมภูมิไปจนถึงตติยภูมิ แต่ละแห่งมีผู้ป่วยนอกเฉลี่ยวันละประมาณ 2,000 - 3,000 คน
จากปัญหาดังกล่าวจึงเกิดแนวคิดการมี “แพทย์ประจำครอบครัว” และการจัดระบบดูแลกลุ่มบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care Cluster) เพื่อมาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และทีมสหสาขาวิชาชีพมาช่วยดูแล
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า การจัดระบบดูแลกลุ่มบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care Cluster : PCC) จะดำเนินการเฉพาะในเขตเมืองก่อน คือให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) จัดหน่วยบริการปฐมภูมิ ดูแลประชาชนเฉพาะพื้นที่เขตเมืองของตนในอัตราส่วน 30,000 คน ต่อ 3 ทีม ในแบบองค์รวม ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ ด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและทีมสหวิชาชีพ ให้บริการสุขภาพพื้นฐานปกติตั้งแต่ก่อนป่วย ป่วยเล็กน้อย เมื่อป่วยมากก็มีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล และเมื่อรักษาจนเป็นปกติแล้วก็ดูแลด้านการฟื้นฟูต่อ โดยมีการส่งทีมเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามดูแล โดยตั้งเป้าให้คนไทย 1 ล้านครอบครัวมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลภายในปี 2560 ส่วนในเขตชนบทนั้นจะมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่อยู่ใกล้กัน รวมกันเป็นกลุ่มดูแลประชาชน 30,000 คนต่อ 3 ทีมเช่นกัน
สำหรับจำนวนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวนั้น นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. กล่าวว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาลในเขตเมือง 48 แห่ง มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 292 คนในระบบ การเพิ่มเติมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้เพียงพอ คือ จะมีการผลิตเพิ่มเติม และดึงแพทย์เกษียณมาช่วยด้วย ซึ่งการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมาช่วยดูแล ถือเป็นการดำเนินงานเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กำหนดให้ทุกครอบครัวต้องมีหมอประจำครอบครัวดูแล ช่วยลดผู้ป่วยนอกไปรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เพิ่มการเข้าถึงบริการ ดูแลอย่างต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการ และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว
ทั้งนี้ จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินงาน PCC โดย นพ.วิธวินท์ ฝักเจริญผล นายแพทย์ชำนาญการประจำศูนย์แพทย์ชุมชน รพ.บุรีรัมย์ สาขา 1 กล่าวว่า เขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์มีประชากรประมาณ 30,000 คน การจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิของ รพ.บุรีรัมย์ เรียกว่า ศูนย์การแพทย์ชุมชน รพ.บุรีรัมย์ จึงมีทั้งสิ้น 3 ศูนย์ แต่จะมีการตั้งศูนย์เพิ่มเป็น 4 ศูนย์ในอนาคต มีบุคลากรครบตามเกณฑ์ คือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 1 : 10,000 คน ทันตแพทย์ 1:30,000 พยาบาล 1:2,500 การดำเนินงานดูแลแบบองค์รวมทุกเพศทุกกลุ่มวัย ทั้งการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพป้องกัน และฟื้นฟู รวมถึงมีการจัดบริการเยี่ยมบ้าน
นพ.วิธวินท์ กล่าวว่า งานรักษาพยาบาลจะมีการตรวจรักษาโรคทั่วไป โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง ในตอนเช้าที่ศูนย์แพทย์ฯ ทุกวัน ซึ่งคนไข้ก็จะได้เจอหหมอคนเดิม ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดสัมพันธภาพ ช่วยดึงให้คนไข้เปลี่ยนพฤติกรรมได้ เฉลี่ยประมาณวันละ 30 - 40 คน ส่วนงานส่งเสริมป้องกัน ก็มีการจัดบริการฉีดวัคซีนพื้นฐานให้แก่กลุ่มเด็ก การทำงานด้านเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ในวัยเรียนในกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียน ซึ่ง จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นจังหวัดต้น ๆ ของประเทศไทยในเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยเรียน รวมไปถึงการเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มวัยผู้ใหญ่ที่มักป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยมีการติดตามว่ามีการควบคุมโรคประจำตัวได้ดีหรือไม่ รืออย่างผู้สูงอายุที่หกล้มบ่อย ๆ ก็มีการไปดูสิ่งแวดล้อมที่บ้านเป็นอย่างไร ต้องมีการปรับแแก้ไขอย่างไร เป็นต้น
“สำหรับงานฟื้นฟู ก็จะมีการเยี่ยมบ้านเช่นกัน ในเคสคนไข้พิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต ให้กลับมาใกล้เคียงดังเดิม ช่วยเหลือตัวเองได้ หรือหากช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีการติดเตียง ก็ต้องป้องกันแผลกดทับ การสำลักอาหาร รวมไปถึงผู้ป่วยในระยะสุดท้ายให้ได้รับการดูแลอย่างสมศักดิ์ศรี เรียกได้ว่าเป็นโฮมวอร์ด โดยศูนย์ฯ จะมีอุปกรณ์ในการลงไปติดตั้งดูแลผู้ป่วยถึงที่บ้าน ซึ่งแผนการเยี่ยมบ้านนั้นในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีแผนการเยี่ยมบ้านเป็นการเฉพาะของตัวเอง การดำเนินงานทั้งหมดนี้ช่วยให้ลดความแออัดใน รพ.บุรีรัมย์ ลงได้” นพ.วิธวินท์ กล่าว
ด้าน นางเลียม เชิดรัมย์ อายุ 67 ปี ชาว ต.หนองปรือ กล่าวว่า ตนป่วยด้วยโรคเบาหวาน ไม่สามารถควบคุมระบน้ำตาลได้ บางวันขึ้นสูง บางวันก็ลดลงต่ำ ซึ่งตนไม่รู้ว่าวันไหนระดับน้ำตาลเป็นอย่างไร ทำให้ดูแลตัวเองไม่ถูก และเกิดความเครียดกังวลขึ้น ซึ่งหลังจากมีการดำเนินงานเยี่ยมบ้าน มีการสอนการฉีดอินซูลินด้วยตัวเองที่บ้าน การเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลด้วยตนเอง พร้อมสนับสนุนเครื่องมือ และให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเอง เมื่อสามารถเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลเองได้ ก็ช่วยให้รู้ว่าระดับน้ำตาลเป็นอย่างไร ควรควบคุมอาหารเป็นอย่างไร ก็ช่วยให้ตนควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
หากทุกพื้นที่ดำเนินงานบริการระดับปฐมภูมิอย่างเข้มแข็ง ก็จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น ช่วยลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลไปได้เปลาะหนึ่ง แต่อีกปัญหาที่มองข้ามไม่ได้คือ การเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลของคนกรุงเทพฯ ที่ท้าทายมากกว่ากันเยอะ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
สภาพความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาล เตียงผู้ป่วยที่ล้นออกมาจนถึงทางเดิน กลายเป็นภาพคุ้นชินที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับระบบบริการสาธารณสุขไทย โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเขตเมืองที่มีทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในปริมาณมหาศาลให้ต้องดูแล ยังไม่รวมถึงพฤติกรรมที่เมื่อเวลาเจ็บป่วย แม้จะเป็นโรคพื้นฐาน ก็จะขอไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
การมีผู้ป่วยเข้ารับบริการจำนวนมาก ส่งผลให้แพทย์มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมน้อยลง สื่อสารกับผู้ป่วยน้อยลง เมื่อเกิดความไม่เข้าใจ ก็มีโอกาสเกิดการฟ้องร้องกันมากยิ่งขึ้น
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ป่วยเข้ารับบริการในโรงพยาบาลสังกัด สธ. เป็นจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ปี 2559 เพียง 6 เดือน มีผู้ป่วยเข้ารับบริการโรงพยาบาลทุกระดับรวมกว่า 400 ล้านครั้ง เป็นผู้ป่วยในถึง 1.75 ล้านคน ที่สำคัญ ความเป็นสังคมเมือง และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพก็จะพบมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเขตเมืองที่ต้องให้บริการครอบคลุม ตั้งแต่ปฐมภูมิไปจนถึงตติยภูมิ แต่ละแห่งมีผู้ป่วยนอกเฉลี่ยวันละประมาณ 2,000 - 3,000 คน
จากปัญหาดังกล่าวจึงเกิดแนวคิดการมี “แพทย์ประจำครอบครัว” และการจัดระบบดูแลกลุ่มบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care Cluster) เพื่อมาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และทีมสหสาขาวิชาชีพมาช่วยดูแล
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า การจัดระบบดูแลกลุ่มบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Care Cluster : PCC) จะดำเนินการเฉพาะในเขตเมืองก่อน คือให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) จัดหน่วยบริการปฐมภูมิ ดูแลประชาชนเฉพาะพื้นที่เขตเมืองของตนในอัตราส่วน 30,000 คน ต่อ 3 ทีม ในแบบองค์รวม ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ ด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและทีมสหวิชาชีพ ให้บริการสุขภาพพื้นฐานปกติตั้งแต่ก่อนป่วย ป่วยเล็กน้อย เมื่อป่วยมากก็มีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล และเมื่อรักษาจนเป็นปกติแล้วก็ดูแลด้านการฟื้นฟูต่อ โดยมีการส่งทีมเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามดูแล โดยตั้งเป้าให้คนไทย 1 ล้านครอบครัวมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลภายในปี 2560 ส่วนในเขตชนบทนั้นจะมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่อยู่ใกล้กัน รวมกันเป็นกลุ่มดูแลประชาชน 30,000 คนต่อ 3 ทีมเช่นกัน
สำหรับจำนวนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวนั้น นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. กล่าวว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาลในเขตเมือง 48 แห่ง มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 292 คนในระบบ การเพิ่มเติมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้เพียงพอ คือ จะมีการผลิตเพิ่มเติม และดึงแพทย์เกษียณมาช่วยด้วย ซึ่งการมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมาช่วยดูแล ถือเป็นการดำเนินงานเป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กำหนดให้ทุกครอบครัวต้องมีหมอประจำครอบครัวดูแล ช่วยลดผู้ป่วยนอกไปรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เพิ่มการเข้าถึงบริการ ดูแลอย่างต่อเนื่อง พัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการ และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว
ทั้งนี้ จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินงาน PCC โดย นพ.วิธวินท์ ฝักเจริญผล นายแพทย์ชำนาญการประจำศูนย์แพทย์ชุมชน รพ.บุรีรัมย์ สาขา 1 กล่าวว่า เขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์มีประชากรประมาณ 30,000 คน การจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิของ รพ.บุรีรัมย์ เรียกว่า ศูนย์การแพทย์ชุมชน รพ.บุรีรัมย์ จึงมีทั้งสิ้น 3 ศูนย์ แต่จะมีการตั้งศูนย์เพิ่มเป็น 4 ศูนย์ในอนาคต มีบุคลากรครบตามเกณฑ์ คือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 1 : 10,000 คน ทันตแพทย์ 1:30,000 พยาบาล 1:2,500 การดำเนินงานดูแลแบบองค์รวมทุกเพศทุกกลุ่มวัย ทั้งการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพป้องกัน และฟื้นฟู รวมถึงมีการจัดบริการเยี่ยมบ้าน
นพ.วิธวินท์ กล่าวว่า งานรักษาพยาบาลจะมีการตรวจรักษาโรคทั่วไป โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง ในตอนเช้าที่ศูนย์แพทย์ฯ ทุกวัน ซึ่งคนไข้ก็จะได้เจอหหมอคนเดิม ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดสัมพันธภาพ ช่วยดึงให้คนไข้เปลี่ยนพฤติกรรมได้ เฉลี่ยประมาณวันละ 30 - 40 คน ส่วนงานส่งเสริมป้องกัน ก็มีการจัดบริการฉีดวัคซีนพื้นฐานให้แก่กลุ่มเด็ก การทำงานด้านเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ในวัยเรียนในกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียน ซึ่ง จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นจังหวัดต้น ๆ ของประเทศไทยในเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยเรียน รวมไปถึงการเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มวัยผู้ใหญ่ที่มักป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยมีการติดตามว่ามีการควบคุมโรคประจำตัวได้ดีหรือไม่ รืออย่างผู้สูงอายุที่หกล้มบ่อย ๆ ก็มีการไปดูสิ่งแวดล้อมที่บ้านเป็นอย่างไร ต้องมีการปรับแแก้ไขอย่างไร เป็นต้น
“สำหรับงานฟื้นฟู ก็จะมีการเยี่ยมบ้านเช่นกัน ในเคสคนไข้พิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต ให้กลับมาใกล้เคียงดังเดิม ช่วยเหลือตัวเองได้ หรือหากช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีการติดเตียง ก็ต้องป้องกันแผลกดทับ การสำลักอาหาร รวมไปถึงผู้ป่วยในระยะสุดท้ายให้ได้รับการดูแลอย่างสมศักดิ์ศรี เรียกได้ว่าเป็นโฮมวอร์ด โดยศูนย์ฯ จะมีอุปกรณ์ในการลงไปติดตั้งดูแลผู้ป่วยถึงที่บ้าน ซึ่งแผนการเยี่ยมบ้านนั้นในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีแผนการเยี่ยมบ้านเป็นการเฉพาะของตัวเอง การดำเนินงานทั้งหมดนี้ช่วยให้ลดความแออัดใน รพ.บุรีรัมย์ ลงได้” นพ.วิธวินท์ กล่าว
ด้าน นางเลียม เชิดรัมย์ อายุ 67 ปี ชาว ต.หนองปรือ กล่าวว่า ตนป่วยด้วยโรคเบาหวาน ไม่สามารถควบคุมระบน้ำตาลได้ บางวันขึ้นสูง บางวันก็ลดลงต่ำ ซึ่งตนไม่รู้ว่าวันไหนระดับน้ำตาลเป็นอย่างไร ทำให้ดูแลตัวเองไม่ถูก และเกิดความเครียดกังวลขึ้น ซึ่งหลังจากมีการดำเนินงานเยี่ยมบ้าน มีการสอนการฉีดอินซูลินด้วยตัวเองที่บ้าน การเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลด้วยตนเอง พร้อมสนับสนุนเครื่องมือ และให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเอง เมื่อสามารถเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลเองได้ ก็ช่วยให้รู้ว่าระดับน้ำตาลเป็นอย่างไร ควรควบคุมอาหารเป็นอย่างไร ก็ช่วยให้ตนควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
หากทุกพื้นที่ดำเนินงานบริการระดับปฐมภูมิอย่างเข้มแข็ง ก็จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น ช่วยลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลไปได้เปลาะหนึ่ง แต่อีกปัญหาที่มองข้ามไม่ได้คือ การเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลของคนกรุงเทพฯ ที่ท้าทายมากกว่ากันเยอะ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่